สวัสดี

Quarterly Situation

ประมาณการแนวโน้มการส่งออกกุ้งของไทยไปยังสหภาพยุโรปปี 2549: หลังไทยได้คืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

ประมาณการยอดส่งออกกุ้งของไทยไปยังสหภาพยุโรปหลัง จากได้รับสิทธิ GSP: สถาบันอาหารคาดว่าหลังจากสหภาพ ยุโรปคืนสิทธิ GSP กุ้งไทยจะทําให้ปริมาณส่งออกไตรมาส 4 ขยายตัวรอยละ 70.6 มูลค่าขยายตัวร้อยละ 51.1 ส่งผลให้ ปริมาณส่งออกกุ้งรวมทั้งปีไปยังสหภาพยุโรปมีปริมาณ 10,245 ตัน มูลค่า 2,718 ล้านบาท ขยายตัวสูงกว่าปีก่อน ร้อยละ 31.6 และ 22.9 ตามลําดับ  

 

 

ประมาณการยอดส่งออกกุ้งของไทยไปยังสหภาพยุโรปหลัง จากได้รับสิทธิ GSP: สถาบันอาหารคาดว่าหลังจากสหภาพ ยุโรปคืนสิทธิ GSP กุ้งไทยจะทําให้ปริมาณส่งออกไตรมาส 4 ขยายตัวรอยละ 70.6 มูลค่าขยายตัวร้อยละ 51.1 ส่งผลให้ ปริมาณส่งออกกุ้งรวมทั้งปีไปยังสหภาพยุโรปมีปริมาณ 10,245 ตัน มูลค่า 2,718 ล้านบาท ขยายตัวสูงกว่าปีก่อน ร้อยละ 31.6 และ 22.9 ตามลําดับ

ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of  Trade Preferences) หรือ GSP เป็น มาตรการทางการค้าอีกรูปแบบหนึ่งที่สหภาพยุโรปใช้เป็นเครื่อง มือในการให้ความช่วยเหลือประเทศกําลังพัฒนาโดยการยกเว้น หรือลดภาษีนําเข้าสําหรับสินค้าที่มีแหล่งกําเนิดจากประเทศ กําลังพัฒนานั้นๆภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด สําหรับหลักเกณฑ์การ ตัดสิทธิ GSP จะพิจารณาจากส่วนแบ่งการตลาด (Market share) ภายใต้สิทธิ GSP ในสหภาพยุโรปเกินร้อยละ 15      ของมูลค่าการนําเข้ารวมจากประเทศผู้รับสิทธิ GSP ทั่วโลก    การทบทวนการตัดสิทธิจะกระทําทุกๆ 3 ปี โดยคํานวณจากสถิติ การนําเข้าของสหภาพยุโรปในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่ง GSP     รอบใหม่มีอายุโครงการ 10 ปี (พ.ศ. 2549-2558) โดยพิจารณา ทบทวนทุกๆ 3 ปี ช่วง 3 ปีแรกจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2548 ถึง วันที่ 31 ธ.ค. 2551 แต่ในทางปฏิบัติมีสินค้าหลายกลุ่มได้รับ การคืนสิทธิ GSP ก่อนหน้านี้บ้างแล้ว 

ปรัชญาสําคัญประการหนึ่งในการก่อตั้งสหภาพยุโรป (European Union: EU) คือการจัดตั้ง “ตลาดร่วม” ที่มีจุดมุ่ง หมายเพื่อขจัดอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายสินค้าและประสานกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการทําการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ตลอดจนเป็นการจัดระเบียบการค้าและให้ความช่วยเหลือแก่ ประเทศกําลังพัฒนาที่อยู่นอกกลุ่มผ่านมาตรการทางการค้า  

สินค้ากุ้งของไทยก็เป็นหนึ่งในสินค้าหลายรายการใน กลุ่มสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรป ประกอบกับไทยมี ศักยภาพในการผลิตและการทําตลาดกุ้งทําให้ไทยซึ่งเป็น ประเทศนอกสหภาพแต่มีส่วนแบ่งตลาดในลําดับสําคัญเรื่อยมา แม้ในช่วงก่อนที่กุ้งของไทยจะถูกตัด GSP ในปี 2542 ส่วนแบ่ง ตลาดกุ้งของไทยในตลาดนี้จะมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 15      ตามเงื่อนไขก็ตาม (ดูภาพที่ 3) แต่การที่กุ้งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม สินค้าประมง เมื่อคํานวณสัดส่วนก็ต้องคํานวณทั้งกลุ่มทําให้ส่วน แบ่งตลาดของไทยไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด ด้วยเหตุนี้เอง ผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยจึงถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิ GSP ตั้งแต่ บัดนั้นเป็นต้นมา 
ก่อนที่กุ้งส่งออกของไทยจะถูกสหภาพยุโรปตัด GSP ไทยกับเอกวาดอร์คือคู่แข่งที่ช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ใน ตลาดนี้มาโดยตลอด ในปีหนึ่งๆไทยสามารถส่งออกกุ้งไปยัง   สหภาพยุโรปเฉลี่ย 3 หมื่นตัน ด้วยมูลค่ามากกว่า 200 ล้านยูโร คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดอยู่ระหว่างร้อยละ 7-10 หลังจากถูกระงับ GSP ตั้งแต่ปี 2542 ประกอบกับความเข้มงวดในการนําเข้ากุ้ง จากเอเชียหลังจากทีมีการตรวจพบสารเคมีตกค้างในช่วงปลายปี 2544 ถึงต้นปี 2545 ทําให้ยอดส่งออกกุ้งของไทยเหลือเพียง   5 – 8 พันตันต่อปี มูลค่าลดลงต่ํากว่า 50 ล้านยูโรต่อปี และส่วน แบ่งตลาดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยเหลือเพียงร้อยละ 2 ส่วน   คู่แข่งมีการส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งสิ้นโดยเฉพาะประเทศแถบอเมริกา ใต้ ได้แก่ อาร์เจนติน่า บราซิล เอกวาดอร์ ซึ่งปัจจุบันประเทศ เหล่านี้กลายเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ไปยังสหภาพยุโรป 

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งอยู่ประมาณ 25,000 ราย พื้นที่การเลี้ยงมากกว่า 500,000 ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย ประมาณปีละ 350,000 ตัน ผลผลิตมากกว่า 2 ใน 3 แปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ส่งออกสร้างรายได้ให้กับประเทศซึ่งในบางปีมีมูลค่า มากกว่า 100,000 ล้านบาท ด้วยโครงสร้างของอุตสาหกรรมที่ ใหญ่ประกอบด้วยเกษตรกร แรงงาน ผู้ประกอบการ และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจํานวนมาก หากเกิดปัญหาชะงักงันในการส่งออกย่อม ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ   อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  
สําหรับอุปสรรคที่เกิดจากโครงสร้างการผลิตสามารถ ดําเนินการแก้ไขให้จบลงได้ภายในประเทศ ส่วนอุปสรรคภายนอก ประเทศโดยทั่วไปมักมีสาเหตุมาจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิ ใช่ภาษีศุลกากร (Non-Tariff Barriers: NTBs) ที่เริ่มมีบทบาท และมีรูปแบบใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น มาตรการที่สําคัญได้แก่ มาตรการ ด้านสุขอนามัย (Sanitary and Phytosanitary Measures: SPS) มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Barriers to Trade: Env) ส่วนมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping: AD) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty: CVD) และ มาตรการปกป้องการนําเข้า (Safeguard) ถือเป็นมาตรการปกป้อง ทางการค้า (Trade Defense) ที่ WTO อนุญาตให้ประเทศสมาชิก ใช้เป็นเครื่องมือทางการค้าเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมของตนอันเกิด จากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม  

          มาตรการทางการค้าดังกล่าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้ ต้นทุนการผลิตเพิ่มขี้น ราคาสินค้าก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคา  ซึ่งบางมาตรการแม้เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากเพราะเป็นเรื่อง ที่ต้องมีการเจรจาต่อรองในระดับประเทศ แต่โดยส่วนใหญ่ แล้วสามารถบรรเทาผลกระทบได้ด้วยการปรับปรุงคุณภาพ ผลผลิตและยกระดับมาตรฐานสินค้า ตลอดจนติดตาม     ข่าวสารความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับมาตรการการค้า ระหว่างประเทศ ซึ่งมีความจําเป็นอย่างยิ่งหากต้องการ พัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งของไทยให้เป็นหลักในการสร้างความ กินดีอยู่ดีให้กับประชาชนในชาติ  
          การคาดการณ์แนวโน้มการส่งออกในระยะสั้นจะเป็น อีกแนวทางหนึ่งที่ชี้ให้เห็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกุ้งส่งออกของไทยในกรณีศึกษาการส่งออกไป ยังตลาดสหภาพยุโรปภายใต้เงื่อนไขการได้รับการปรับลด ภาษีนําเข้าเพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูตลาดที่สูญเสียไป กลับคืน และกําหนดมาตรการในการป้องกันไม่ให้ปัญหาเดิม เกิดขึ้นซ้ําอีกในอนาคต พร้อมๆกับการดําเนินนโยบายเชิงรุก เพื่อผลักดันการส่งออกให้มีเสถียรภาพในระยะยาวต่อไป  
สําหรับแนวโน้มการส่งออกกุ้งของไทยไปยังสหภาพ     ยุโรปในรายงานฉบับนี้ประมาณการด้วยวิธีการทางเศรษฐศาสตร์ โดยการสร้างแบบจําลองเศรษฐมิติ (Econometric model) เพื่อ พยากรณ์การส่งออก ซึ่งผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบ มากที่สุดต่อการส่งออกกุ้งของไทยไปยังสหภาพยุโรป ได้แก่ อัตราภาษี GSP (ความยืดหยุ่นมีค่าเท่ากับ –0.64) แสดงให้เห็นว่า กําแพงภาษีเป็นสาเหตุสําคัญทําให้ต้นทุนราคาส่งออกของไทยสูง กว่าคู่แข่ง ส่งผลต่อการลดลงของยอดส่งออกกุ้งของไทยอย่างมี นัยสําคัญ  

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527