สวัสดี

Monthly Situation

รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนเมษายน 2550

เมษายน 2550

รายละเอียด :

          ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2550 มูลค่าส่งออกสินค้าอาหารของไทยเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการส่งออกไปยังตลาดรองและตลาดใหม่ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบเกษตรอาหารสำคัญของไทย ในขณะที่การส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปไปยังตลาดดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามนโยบายการกระจายความเสี่ยงของผู้ส่งออกไทย ส่วนการส่งออกไปยังตลาดหลักได้แก่สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นค่อนข้างทรงตัว โดยมีสาเหตุจากสินค้าอาหารแปรรูปหลายรายการในกลุ่มสินค้าประมง เช่น ทูน่า ปลาหมึก ปู ประสบภาวะขาดแคลนวัตถุดิบและราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น

          ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2550 มูลค่าส่งออกสินค้าอาหารของไทยเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการส่งออกไปยังตลาดรองและตลาดใหม่ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบเกษตรอาหารสำคัญของไทย ในขณะที่การส่งออกสินค้าอาหารแปรรูปไปยังตลาดดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามนโยบายการกระจายความเสี่ยงของผู้ส่งออกไทย ส่วนการส่งออกไปยังตลาดหลักได้แก่สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นค่อนข้างทรงตัว โดยมีสาเหตุจากสินค้าอาหารแปรรูปหลายรายการในกลุ่มสินค้าประมง เช่น ทูน่า ปลาหมึก ปู ประสบภาวะขาดแคลนวัตถุดิบและราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น

สำหรับการนำเข้าช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกับการส่งออก มาตรการของรัฐบาลที่อนุมัติเปิดตลาดนำเข้าสินค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์และเมล็ดพืชน้ำมันในปี 2550 ตามข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าในกลุ่มดังกล่าว เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มสูงขึ้นมากภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยเดือนมีนาคม 2550 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากในช่วงนี้มีผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะอ้อยเข้าสู่โรงงานค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนส่วนภาวะตลาดภายในประเทศพบว่า ราคาสินค้าในกลุ่มปศุสัตว์ปรับตัวลดลงเนื่องจากผลผลิตทั้งสุกรและเนื้อไก่ออกสู่ตลาดมาก ปริมาณนำเข้าถั่วเหลืองและผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นกดดันทำให้ราคาสินค้าดังกล่าว
ปรับตัวลดลง ตรงข้ามกับสัตว์น้ำที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นจากผลผลิตที่ลดลง

• นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์ไข้หวัดนก อนุมัติร่างแผนยุทธศาสตร์แก้ไข และเตรียมความพร้อมการระบาดใหญ่ ฉบับที่ 2 (2551-2553) 9,094.7 ล้านบาท 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ 1. จัดระบบการผลิตและเลี้ยงสัตว์ปีก 2. เฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคทั้งในคนและสัตว์ 3.การเตรียมความพร้อมรับการระบาดไข้หวัดใหญ่ 4.ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ประชาชน และนานาประเทศ และที่ประชุมยังเห็นชอบให้จัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ภายในประเทศ ขั้นต่อไปคือนำเสนอ ครม.พิจารณาภายในเดือน พ.ค. นี้ เพื่อทันตั้งงบประมาณ ปี 2551
• จากกรณีที่คณะกรรมาธิการยุโรปเปิดไต่สวนการทุ่มตลาดข้าวโพดหวานจากไทยตั้งแต่เดือน มี.ค. 2549 และประกาศผลการพิจารณาเบื้องต้นเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2549 ที่จะเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี)ชั่วคราวเป็นเวลา 6เดือนก่อนประกาศผลการไต่สวนขั้นสุดท้าย ล่าสุดเมื่อวันที่19 เม.ย. สรุปผลการไต่สวนขั้นสุดท้ายเรียกเก็บภาษีเอดีข้าวโพดหวานจากไทยในอัตรา 3.1-12.9%
•อย. เตรียมจัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยHACCP เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหาร โดยจะเริ่มบังคับใช้อับอุตสาหกรรมอาหารแช่เยือกแข็งก่อนเป็นลำดับแรก
• UAE เลื่อนตรวจสอบรับรองโรงานอาหารฮาลาลของไทยจาก เม.ย. เป็น มิ.ย. เป็นผลมาจาก จุฬาฯ ตรวจพบปริมาณไขมันของสุกรในผลิตภัณฑ์ฮ่อยจ๊อของบริษัทแห่งหนึ่งที่ได้รับรองเครื่งอหมายฮาลาล
• นายกรัฐมนตรี ลงนามความตกลงข้อตกลงร่วมหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ครอบคลุม 9 สาขา คือ 1)เกษตร ป่าไม้และประมง 2) การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3) การสร้างเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
4) บริการการเงิน 5) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร6) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม 7)วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 8) การท่องเที่ยว และ 9)การส่งเสริมการค้าและการลงทุน เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 50

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527