สวัสดี

Monthly Situation

รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนพฤษภาคม 2550

พฤษภาคม 2550

รายละเอียด :

ภาวะการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารของไทยในเดือนมีนาคม 50 โดยภาพรวมปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากทั้งดัชนีการส่งสินค้าและมูลค่าส่งออกขยายตัวดีชึ้น แต่ไทยยังต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าเกษตรวัตถุดิบและแปรรูปขั้นต้นในปริมาณมาก ขณะที่สินค้าอาหารสำเร็จรูปมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากภาวะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

ภาวะการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรและอาหารของไทยในเดือนมีนาคม 50 โดยภาพรวมปรับตัวดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากทั้งดัชนีการส่งสินค้าและมูลค่าส่งออกขยายตัวดีชึ้น แต่ไทยยังต้องพึ่งพาการส่งออกสินค้าเกษตรวัตถุดิบและแปรรูปขั้นต้นในปริมาณมาก ขณะที่สินค้าอาหารสำเร็จรูปมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากภาวะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

ปัญหาภัยธรรมชาติในภูมิภาคอื่นๆของโลกส่งผลดีต่อไทยในปีนี้ ทำให้สามารถส่งออกได้มากขึ้น แต่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ผู้ส่งออกประสบปัญหาในการตกลงราคาเพื่อรับออเดอร์ระยะยาว จึงเป็นการขายแบบระยะสั้น เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องค่าเงินบาทความอึมครึมของปัญหาการเมืองและราคาน้ำมันส่งผลต่อดัชนีราคา ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคในประเทศขาดความเชื่อมั่น ลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ทำให้การนำเข้าอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มจากต่างประเทศลดลง

• รัสเซียกำหนดให้ตั้งแต่ 1 พ.ค. นี้ การส่งออกข้าวไปรัสเซียต้องมีใบรับรองจาก มกอช. หรือกรมวิชาการเกษตร เพื่อยืนยันการไม่มีสารอันตรายปนเปื้อนในสินค้าข้าว ซึ่งเพิ่มความยุ่งยากและต้นทุนการส่งออกของไทย
• 2 ใน 4 ยักษ์ใหญ่ซูเปอร์มาร์เก็ตของสหราชอาณาจักรลดการจำหน่ายไข่จากไก่กรงแถว (battery cages) เพื่อเป็นการให้สวัสดิภาพสัตว์และเพื่อจริยธรรม โดย Morison,Sainbury’s ได้ประกาศว่าจะจำหน่ายไข่ที่มาจากไก่ไม่ขังกรง(cage-free) ทั้งหมดในปี 2553 และ 2555 ตามลำดับสำหรับ Tesco และ ASDA ซึ่งไม่มีการประกาศนโยบายเรื่องนี้ได้รับการเรียกร้องจาก Compassion in World Farming ให้ทบทวนนโยบายเรื่องนี้
• สถาบัน IMD ในสวิสฯ เปิดเผยรายงานขีดความสามารถในการแข่งขันจาการสำรวจ 50 ประเทศ สหรัฐอเมริกายังครองอันดับ 1 แต่กำลังถูกยักษ์ใหญ่อย่างจีนและอินเดียไล่จี้ ส่วนรัสเซียแม้จะอยู่อันดับที่ 43 แต่ขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5% เทียบเท่าสหรัฐฯ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้จะทำให้บรรดาชาติอุตสาหกรรมอย่างสหรัฐฯ และยุโรปจะนำรูปแบบการกีดกันทางการค้าที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นมาใช้เพิ่มมากขึ้น เช่น การปกป้องสิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา
• ญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงค่ามาตรฐานสาร 2 ตัว ได้แก่Cyazofamid และ Enrofloxacin โดย Cyazofamid เป็นค่าMRL ที่ปรากฏในกลุ่มพืชผัก ผลไม้ และค่า Enrofloxacinเป็นค่า MRL ที่ปรากฏในสินค้ากลุ่มปศุสัตว์รวมสัตว์ปีก รายละเอียด ตามตารางที่แนบ โดยจะมีผลบังคับใช้ สำหรับCyazofamid ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2550 และ Enrofloxacinตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค. 2550
• 24 เม.ย. 50 EU ประกาศแก้ไขกฎระเบียบรายชื่อยาที่อนุญาตให้ใช้เป็นสารประกอบที่อนุญาตให้ใช้ในพืช โดยขยายช่วงระยะเวลาการอนุญาต จำนวน 6 รายการ ดังนี้Dimethoate, Dimethomorph, Glufosinate, Metribuzin, Phosmet ,Propamocarb ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่1 ต.ค. 2550 จนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2560 ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้สมาชิก 27 ประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2550 เป็นต้นไป
• ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2550 เป็นต้นไป โฆษกของกรมการเกษตรและบริการผู้บริโภคของรัฐ North Carolina สหรัฐฯแถลงว่ารัฐจะเริ่มตรวจ fluroquinolone ในสินค้าประมงนำเข้าโดยจะใช้นโยบาย zero tolerance คือห้ามตรวจพบ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527