สวัสดี

Monthly Situation

รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทย ประจำเดือนมีนาคม 2554

มีนาคม 2554

รายละเอียด :

รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน

สรุปการค้าอาหาร เดือนมกราคม 2554

บทสรุป

ภาวะการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหาร ช่วงเดือน มกราคม 2554 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมจำนวนทั้งสิ้น 9 โครงการ เงินลงทุนรวม 1,458 ล้านบาทและมีการจ้างงานรวม 2,165 คนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวนโครงการขยายตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 200.00 ปริมาณการจ้างงานปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.23 และมีมูลค่าเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.35

จำนวนผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตและเริ่มกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีจำนวน 16 โรงงาน ใช้เงินลงทุนมูลค่า 682 ล้านบาท และมีการจ้างงานเพิ่ม 585 คน ส่วนผู้ประกอบธุรกิจขอเลิกกิจการมีจำนวน 4 โรงงาน เงินลงทุนที่ใช้ไปมีมูลค่า 4 ล้านบาท และเลิกจ้างงานจำนวน 27 คน โดยร้อยละ 4.74 เลิกจ้างงานในเขตจังหวัดสุโขทัย

ภาวะการผลิตโดยรวมของอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2554 ปรับตัวลดลง จากภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ผลิตสินค้าเพื่อการบริโภค ทำให้มีราคาสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีการส่งสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณสินค้าคงคลังที่ปรับลดลง

รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน

สรุปการค้าอาหาร เดือนมกราคม 2554

บทสรุป

ภาวะการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหาร ช่วงเดือน มกราคม 2554 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมจำนวนทั้งสิ้น 9 โครงการ เงินลงทุนรวม 1,458 ล้านบาทและมีการจ้างงานรวม 2,165 คนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวนโครงการขยายตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 200.00 ปริมาณการจ้างงานปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.23 และมีมูลค่าเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.35

จำนวนผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตและเริ่มกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีจำนวน 16 โรงงาน ใช้เงินลงทุนมูลค่า 682 ล้านบาท และมีการจ้างงานเพิ่ม 585 คน ส่วนผู้ประกอบธุรกิจขอเลิกกิจการมีจำนวน 4 โรงงาน เงินลงทุนที่ใช้ไปมีมูลค่า 4 ล้านบาท และเลิกจ้างงานจำนวน 27 คน โดยร้อยละ 4.74 เลิกจ้างงานในเขตจังหวัดสุโขทัย

ภาวะการผลิตโดยรวมของอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2554 ปรับตัวลดลง จากภัยธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ผลิตสินค้าเพื่อการบริโภค ทำให้มีราคาสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีการส่งสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณสินค้าคงคลังที่ปรับลดลง

 

มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารในช่วงเดือนมกราคม 2554 มีมูลค่ารวม 26,624 ล้านบาท ปริมาณนำเข้ารวม 1.12 ล้านตัน ทั้งมูลค่าและปริมาณปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 38.29 และ 38.05 ทั้งนี้วัตถุดิบนำเข้าที่สำคัญ ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเพื่อแปรรูปตามความต้องการของตลาด ได้แก่ ถั่วเหลือง, น้ำมันปาล์มดิบ, ปลาแมคเคอเรล และกลุ่มปลาทูน่า

        มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารในช่วงเดือน มกราคม 2554 มีมูลค่ารวม 64,377 ล้านบาท ปริมาณส่งออกรวม 2.34 ล้านบาท ทั้งมูลค่าและปริมาณปรับลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.61 และ 0.59 จากคำสั่งซื้อที่มีเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อมูลค่าส่งออกในกลุ่มสินค้าที่สำคัญปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบ, ข้าวเจ้าขาวอื่น 5% และข้าวเจ้าขาวอื่น 100% ชั้น 2

        จากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น และปริมาณฝนที่ตกหนักติดต่อกันในหลายประเทศ ส่วนใหญ่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรกรรมที่สำคัญ ต่อปริมาณวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตอาหารเพื่อการบริโภคของคนทั้งโภคจากปัญหาดังกล่าวทำให้ทุกประเทศ ต่างหาหนทางทั้งโลกจากปัญหาดังกล่าวทำให้ทุกประเทศ และตระหนักถึงการสร้างความยั่งยืนจากทรัพยากรที่ตนเอนมีอยู่ให้มากยิ่งขึ้น

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527