สวัสดี

Monthly Situation

รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทย ประจำเดือนกันยายน 2557

มกราคม 2557

รายละเอียด :

รายงานสถานการณ์อตุสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน

           กันยายน  2557

 

ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารและ เครื่องดื่ม

          ดัชนีอัตราการใช้กําลังการผลิตของ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เดือนกรกฎาคม 2557 มีอัตราหดตัวจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.05  แนวโน้มการผลิตในปีนี้ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปี เพราะสินค้าที่มีความสําคัญในการส่งออก ยังมีการผลิตลดลงจากปีก่อนในเกือบทุกหมวด ผนวก กับสินค้าที่ผลิตเพื่อตลาดในประเทศก็ชะลอตัว ทําให้ สถานการณ์ผลิตของอุตสาหกรรมอาหารยังไม่ค่อย แจ่มใสนัก อย่างไรก็ตาม ดัชนีการส่งสินค้าอาหาร และเครื่องดื่มในภาพรวมเดือน ก.ค. มีแนวโน้มเป็นบวก มีอัตราเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนเดียวกันปีที่แล้วเล็กน้อย โดยสินค้าทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง หมึกแช่แข็ง น้ําผลไม้ สับปะรดกระป๋อง แป้งมันสําปะหลัง น้ําตาล ทรายดิบ มีดัชนีการส่งสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ทว่าในหลายสินค้าดัชนีสินค้า สําเร็จรูปคงคลังก็ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา เช่น ข้าวโพดผักอ่อนกระป๋อง น้ํามันถั่วเหลืองดิบ เวเฟอร์ น้ําตาลทรายดิบ น้ําตาลทรายขาว น้ําปลา อาหารสัตว์ต่างๆ 

รายงานสถานการณ์อตุสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน

           กันยายน  2557

 

ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารและ เครื่องดื่ม

          ดัชนีอัตราการใช้กําลังการผลิตของ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เดือนกรกฎาคม 2557 มีอัตราหดตัวจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.05  แนวโน้มการผลิตในปีนี้ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปี เพราะสินค้าที่มีความสําคัญในการส่งออก ยังมีการผลิตลดลงจากปีก่อนในเกือบทุกหมวด ผนวก กับสินค้าที่ผลิตเพื่อตลาดในประเทศก็ชะลอตัว ทําให้ สถานการณ์ผลิตของอุตสาหกรรมอาหารยังไม่ค่อย แจ่มใสนัก อย่างไรก็ตาม ดัชนีการส่งสินค้าอาหาร และเครื่องดื่มในภาพรวมเดือน ก.ค. มีแนวโน้มเป็นบวก มีอัตราเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนเดียวกันปีที่แล้วเล็กน้อย โดยสินค้าทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง หมึกแช่แข็ง น้ําผลไม้ สับปะรดกระป๋อง แป้งมันสําปะหลัง น้ําตาล ทรายดิบ มีดัชนีการส่งสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ทว่าในหลายสินค้าดัชนีสินค้า สําเร็จรูปคงคลังก็ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา เช่น ข้าวโพดผักอ่อนกระป๋อง น้ํามันถั่วเหลืองดิบ เวเฟอร์ น้ําตาลทรายดิบ น้ําตาลทรายขาว น้ําปลา อาหารสัตว์ต่างๆ 

กราฟแสดงอัตราเปลี่ยนแปลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (ถ่วงน้ําหนักมูลค่าเพิ่ม)เดือน ก.ค. 2557/56

ผลผลิตของสินค้าที่เน้น ตลาดส่งออกหลักส่วนใหญ่ ในเดือน ก.ค. ยังอยู่ในภาวะ ชะลอตัว ยกเว้นข้าวโพดฝัก อ่อนกระป๋อง เนื่องจากเป็น ช่วงที่วัตถุดิบออกสู่ตลาด จํานวนมาก ทําให้มี อัตราขยายตัวของผลผลิตสูง ส่วนหมึกแช่แข็ง ปริมาณ หมึกกล้วยมีมากกว่าปีที่ผ่าน ม า โ ด ย เ ฉ พ า ะ จ า ก อาร์เจนตินา ซึ่งราคาลด ต่ําลง ไทยจึงสามารถซื้อวัตถุดิบในปริมาณมากขึ้น ทําให้ช่วงนี้อุตสาหกรรมแปรรูปหมึกของไทยมีการผลิต จํานวนมากขึ้น ส่วนมันสําปะหลังเป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง รวมถึงมีฝนตกอย่าง ต่อเนื่องในพื้นที่ปลูกมันสําปะหลัง ส่งผลให้คุณภาพมันสําปะหลังลดต่ําลง ทั้งที่ผู้ประกอบการยังมีความ ต้องการมันสําปะหลังอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับสับปะรดกระป๋องเนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูกาล มีผลผลิต สับปะรดออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับเป็นช่วงที่โรงงานแปรรูปสับปะรดเริ่มหยุดทําการผลิตเพื่อทําการดูแล รักษาอุปกรณ์การผลิต

การนําเข้า – ส่งออก

          การนําเข้า  มูลค่านําเข้าวัตถุดิบและอาหารของไทย 8 เดือนแรกปี 2557 มีมูลค่ารวม  322,104.39 ล้านบาท  มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วง เดียวกันของปี 2556 ร้อยละ 27.12  ปริมาณ นําเข้า 11.01 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี ที่แล้ว ร้อยละ 29.60  เฉพาะเดือนสิงหาคม มูลค่านําเข้า 45,140.24 ล้านบาท ขยายตัว เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 50.83 เมื่อพิจารณาชนิดสินค้าที่นําเข้าในระดับภาพรวม พบว่าส่วนใหญ่เป็นการนําเข้าวัตถุดิบเพื่อแปรรูป โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์สัตว์น้ํามีมูลค่ามากที่สุดถึง 73,105.73 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.70 ของมูลค่านําเข้าทั้งหมด โดยที่นําเข้ามากที่สุด ได้แก่ สกิปแจ็คแช่แข็ง ปลาทะเลอื่นๆแช่แข็ง ทูน่าครีบเหลืองแช่ แข็ง อัลบาคอร์แช่แข็ง และหมึกแช่แข็ง ทั้ง 5 รายการรวมกันมีสัดส่วนถึงร้อยละ 60 ของกลุ่มสัตว์น้ํา กลุ่มที่ นําเข้ามากรองลงมาคือกากของเหลือจากการผลิตน้ํามัน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ เมล็ดถั่วเหลืองเพื่อการ ผลิตน้ํามันพืชและอาหารสัตว์ นมผงสําหรับทารก และกลุ่มข้าวสาลีหรือเมสลิน

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527