สวัสดี

Monthly Situation

รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทยรายเดือนตุลาคม 2557

ตุลาคม 2557

รายละเอียด :

รายงานสถานการณ์อตุสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน

ตุลาคม  2557

ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

          ดัชนีอัตราการใช้กำลังการผลิตของ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ภาพรวม 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) 2557 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 48.59 ยังน้อย กว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 52.88 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตลอด 8 เดือนที่ผ่านมาอุตสาหกรรมมีอัตราการใช้ ก าลังการผลิตลดลงจากปี 2557 ทุกเดือนต่อเนื่อง  โดยเฉพาะสินค้าที่มีนัยส าคัญต่อการส่งออกอย่างกุ้ง แช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง อัตราการใช้ ก าลังการผลิตในภาพรวมยังน้อยกว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ดัชนีการส่งสินค้าอาหารและเครื่องดื่มใน ภาพรวมเดือน ส.ค. มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วอีก ครั้งหลังปรับเพิ่มขึ้นในเดือน ก.ค. ท าให้ภาพรวมเฉลี่ย 8 เดือน ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ร้อยละ 146.45 น้อยกว่า ปี 2557 ร้อยละ 7.58  สินค้าที่มีแนวโน้มการส่งสินค้าได้ดีกว่าปีที่แล้วคือ หมึกแช่แข็ง แป้งมันส าปะหลัง ส่วน ไก่แช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง ดัชนีการส่งสินค้าเริ่มส่งสัญญานมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. ส่วนสินค้าที่เน้นตลาดในประเทศอย่างนมพร้อมดื่ม ผลิตภัณฑ์ขนมปัง คุ้กกี้ เค้ก แนวโน้มอัตราการใช้ก าลังการ ผลิตและดัชนีการส่งสินค้ามีแนวโน้มดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แสดงถึงตลาดในประเทศที่มีความเชื่อมั่นในการ จับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ค่อยมากนัก จะเห็นได้จากสินค้ากลุ่มเบียร์ ที่อัตราการใช้ก าลังการผลิตและ ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2557 แสดงว่าผู้บริโภคยังใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง  

รายงานสถานการณ์อตุสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน

ตุลาคม  2557

ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

          ดัชนีอัตราการใช้กำลังการผลิตของ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ภาพรวม 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) 2557 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 48.59 ยังน้อย กว่าปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 52.88 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตลอด 8 เดือนที่ผ่านมาอุตสาหกรรมมีอัตราการใช้ ก าลังการผลิตลดลงจากปี 2557 ทุกเดือนต่อเนื่อง  โดยเฉพาะสินค้าที่มีนัยส าคัญต่อการส่งออกอย่างกุ้ง แช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง อัตราการใช้ ก าลังการผลิตในภาพรวมยังน้อยกว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ดัชนีการส่งสินค้าอาหารและเครื่องดื่มใน ภาพรวมเดือน ส.ค. มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วอีก ครั้งหลังปรับเพิ่มขึ้นในเดือน ก.ค. ท าให้ภาพรวมเฉลี่ย 8 เดือน ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ร้อยละ 146.45 น้อยกว่า ปี 2557 ร้อยละ 7.58  สินค้าที่มีแนวโน้มการส่งสินค้าได้ดีกว่าปีที่แล้วคือ หมึกแช่แข็ง แป้งมันส าปะหลัง ส่วน ไก่แช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง ซาร์ดีนกระป๋อง ดัชนีการส่งสินค้าเริ่มส่งสัญญานมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. ส่วนสินค้าที่เน้นตลาดในประเทศอย่างนมพร้อมดื่ม ผลิตภัณฑ์ขนมปัง คุ้กกี้ เค้ก แนวโน้มอัตราการใช้ก าลังการ ผลิตและดัชนีการส่งสินค้ามีแนวโน้มดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แสดงถึงตลาดในประเทศที่มีความเชื่อมั่นในการ จับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ค่อยมากนัก จะเห็นได้จากสินค้ากลุ่มเบียร์ ที่อัตราการใช้ก าลังการผลิตและ ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2557 แสดงว่าผู้บริโภคยังใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง  

 

กราฟแสดงอัตราเปลี่ยนแปลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (ถ่วงน้ าหนักมูลค่าเพิ่ม) บางสินค้า เดือน ม.ค.-ส.ค. 2557/56 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(ถ่วงน้ าหนัก มูลค่าเพิ่ม) ของสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม เดือนสิงหาคม 2557 อยู่ที่ร้อยละ 123.36 ลดลงจากเดือน ส.ค. ปี 2556 ร้อยละ 5.80 ผลผลิตของสินค้าที่เน้นตลาดส่งออกหลัก ส่วนใหญ่ภาพรวม 8 เดือน ยังอยู่ในภาวะ ชะลอตัว ติดลบมากกว่า 2 หลัก เช่น ซาร์ดีนกระป๋อง กุ้งแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ไก่แช่แข็ง โดยเฉพาะ สับปะรดกระป๋องดัชนีผลผลิตเดือน ส.ค. ลดลงจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 70.72 ท าให้ ดัชนี 8 เดือนมีค่าลดลงร้อยละ 20.67  ส่วนกุ้งแช่แข็งผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงยังไม่ฟื้นตัวมีผลผลิต 8 เดือนอยู่ที่ 115,857 ตัน เป็นกุ้งขาวร้อยละ 94.47 กุ้งกุลาด าร้อยละ 5.53 (ลดลง -33.21% จากช่วงเดียวกันของปี 2556) สะท้อนตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากปีก่อนร้อยละ 23.39 1 %

การนำเข้า – ส่งออก

          การนำเข้ามูลค่านำเข้าวัตถุดิบและสินค้าอาหารแปรรูปเฉพาะเดือน กันยายนมีมูลค่านำเข้า  38,327 ล้านบาท ขยายตัว เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.2  การน าเข้า ตั้งแต่ ม.ค.-ก.ย. 2557 มีมูลค่า 295,365.72 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ  3.57 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ประเภทสินค้าน าเข้า อันดับ 1 ในช่วง 9 เดือนนี้ คือกลุ่ม วัตถุดิบประมงแช่เย็นแช่แข็ง สัดส่วนร้อยละ 20.05 มี มูลค่าถึง 62,245.67 ล้านบาท สินค้าที่ส าคัญคือ สกิปแจ็ค ทูน่า มูลค่ารวม 9 เดือนน าเข้า 19,656.32 ล้านบาท ปริมาณ 423 พันตัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 10.47  แหล่ง น าเข้าที่ส าคัญ 3 อันดับแรกคือ ไต้หวัน(21.07%) สหรัฐอเมริกา(16.21%) และวานูอาตู(7.53%) วัตถุดิบ ประมงน าเข้าที่ส าคัญอีกชนิดหนึ่งคือ หมึกกล้วยและหมึกกระดอง มูลค่าน าเข้า 6,614.57 ล้านบาท ปริมาณ นำเข้าลดลงจากปีที่แล้วเล็กน้อย (0.63%) ราคาน าเข้าสกิปแจ็คทูน่าในเดือน ส.ค. 57 เฉลี่ย 1,800 USD/ตัน (57,616 บาท/ตัน) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งมีราคา 1,775 USD/ตัน (56,979 บาท/ตัน) หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.4 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนราคาลดลงร้อยละ 5.3

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527