สวัสดี

Monthly Situation

รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทยรายเดือนพฤศจิกายน 2557

พฤศจิกายน 2557

รายละเอียด :

รายงานสถานการณ์อตุสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน

พฤศจิกายน  2557


ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

          ดัชนีอัตราการใช้กําลังการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารและ เครื่องดื่ม เดือนกันยายน 2557 มีอัตราหดตัวจากเดือนเดียวกันปี ที่แล้วร้อยละ 3.06   แนวโน้มการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่มในปีนี้ยังคงมีอัตราการใช้กําลังการผลิตน้อยกว่าปี 2556 ตั้งแต่ต้นปี ภาพรวมอัตราการใช้กําลังการผลิต 9 เดือนอยู่ ที่ ร้อยละ 48.20 อย่างไรก็ตาม ดัชนีการส่งสินค้าอาหารและ เครื่องดื่มเดือน ก.ย. มีการปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ ดีว่าถึงแม้อัตราการใช้กําลังการผลิตจะลดลงแต่แนวโน้มการ กระจายสินค้าออกสู่ตลาดก็มีทิศทางที่เริ่มดีขึ้น  โดยดัชนีการส่ง สินค้า 9 เดือนอยู่ที่ร้อยละ 130.18 ขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ ร้อยละ 140.85  สินค้าที่มีดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงปีที่แล้ว เช่น ปลาแช่แข็ง หมึกแช่แข็ง น้ําผลไม้ น้ํามันรําข้าวดิบ นม พร้อมดื่ม นมข้นหวาน ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมปัง คุกกี้ เค้ก ซอส ถั่วเหลือง เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว เป็นต้น จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เป็นสินค้า พื้นฐานบริโภคในประเทศ มีเพียงปลาแช่แข็ง หมึกแช่แข็ง และ น้ํามันรําข้าว ที่เน้นตลาดส่งออก แสดงว่าตลาดต่างประเทศกําลัง ซื้อยังมีแนวโน้มไม่ค่อยดีนัก 

 

รายงานสถานการณ์อตุสาหกรรมอาหารไทยรายเดือน

พฤศจิกายน  2557


ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

          ดัชนีอัตราการใช้กําลังการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารและ เครื่องดื่ม เดือนกันยายน 2557 มีอัตราหดตัวจากเดือนเดียวกันปี ที่แล้วร้อยละ 3.06   แนวโน้มการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่มในปีนี้ยังคงมีอัตราการใช้กําลังการผลิตน้อยกว่าปี 2556 ตั้งแต่ต้นปี ภาพรวมอัตราการใช้กําลังการผลิต 9 เดือนอยู่ ที่ ร้อยละ 48.20 อย่างไรก็ตาม ดัชนีการส่งสินค้าอาหารและ เครื่องดื่มเดือน ก.ย. มีการปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ ดีว่าถึงแม้อัตราการใช้กําลังการผลิตจะลดลงแต่แนวโน้มการ กระจายสินค้าออกสู่ตลาดก็มีทิศทางที่เริ่มดีขึ้น  โดยดัชนีการส่ง สินค้า 9 เดือนอยู่ที่ร้อยละ 130.18 ขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ ร้อยละ 140.85  สินค้าที่มีดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มมากขึ้นกว่าช่วงปีที่แล้ว เช่น ปลาแช่แข็ง หมึกแช่แข็ง น้ําผลไม้ น้ํามันรําข้าวดิบ นม พร้อมดื่ม นมข้นหวาน ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมปัง คุกกี้ เค้ก ซอส ถั่วเหลือง เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว เป็นต้น จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่เป็นสินค้า พื้นฐานบริโภคในประเทศ มีเพียงปลาแช่แข็ง หมึกแช่แข็ง และ น้ํามันรําข้าว ที่เน้นตลาดส่งออก แสดงว่าตลาดต่างประเทศกําลัง ซื้อยังมีแนวโน้มไม่ค่อยดีนัก 

 

สินค้าส่งออกหลัก อาทิ ไก่แช่แข็งแปรรูป ทูน่ากระป๋อง กุ้งแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง จะเห็นได้ว่าดัชนีผลผลิตในช่วง 9 เดือนของปี 2557 หดตัวลงต่ํากว่าปี 2556 เนื่องจากมีการผลิตลดลงตามภาวะความต้องการของตลาดที่ชะลอตัวและ สภาพวัตถุดิบ โดยทั้ง 4 สินค้าก็มีดัชนีการส่งสินค้าต่ํากว่าปีที่ผ่านมาด้วย โดยเฉพาะทูน่ากระป๋องที่มีสต็อกสินค้า สําเร็จรูปอยู่ค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งมาจากตลาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปที่ความต้องการทูน่ากระป๋อง ชะลอตัว ราคาต่อหน่วยลดลง และเริ่มมีผลิตภัณฑ์แบบเพาช์ของจีนและฟิลิปปินส์เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด  ส่วนกุ้ง แช่แข็งปริมาณวัตถุดิบกุ้งยังคงเป็นอุปสรรคสําหรับการผลิต ช่วง ม.ค-ก.ย.57 มีผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงลดลง 31.08% จากช่วงเดียวกันของปี 56  และราคาต่อกิโลกรัมโดยเฉลี่ยลดลงทุกขนาด1 อย่างไรก็ตาม ผลผลิตของ ประเทศคู่แข่ง เช่น อินเดีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นและราคาขายต่ํากว่าประเทศไทย ทําให้ การกระจายสินค้ากุ้งของไทยจึงยังคงชะลอตัว
การนําเข้า  
          มูลค่านําเข้าอาหารและเครื่องดื่ม 10 เดือนปี 2557 เท่ากับ 333,177.98 ล้าน บาท มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 จากปีก่อน แหล่งนําเข้าสําคัญ 5 อันดับแรกคือ สหรัฐอเมริกา(สัดส่วน 13.50%) บราซิล(สัดส่วน 11.97%)  จีน(สัดส่วน 10.52%)  ออสเตรเลีย(สัดส่วน 5.30%)  และอินโดนีเซีย(สัดส่วน 4.66%)  มีสัดส่วนรวมกันถึงร้อย ละ 46 ของมูลค่านําเข้าทั้งหมด ส่วน 10 ประเภทสินค้าที่ไทยนําเข้ามากในช่วง 10 เดือน ดังตาราง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบเพื่อการแปรรูป สําหรับอุตสาหกรรมอีกชั้นหนึ่ง สินค้าอาหารนําเข้าที่สําคัญ 10 เดือนปี 2557

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527