สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนมีนาคม 2564

เมษายน 2564

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนมีนาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 8.0  มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 60.1 เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ  57.6 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวเพิ่มตามปริมาณวัตถุดิบที่ออกสู่ตลาด โดยเฉพาะน้ำตาลที่มีการปิดหีบช้ากว่าปีที่ผ่านมา และการผลิตเพื่อการส่งออก ตามคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยผลิตภัณฑ์สำคัญ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นในระดับสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์กะทิ (+67.7%) น้ำตาล (26.9%) บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (+25.7%) ปลาทูน่ากระป๋อง (+12.0%) เนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น (+8.0%) เนื้อไก่สุกปรุงรส (+6.2%) สับปะรดกระป๋อง (+5.1%) เครื่องปรุงรส (+1.3%) และ กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง (+1.1%) ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตภัณฑ์สำคัญที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ น้ำมันพืช (ยกเว้นน้ำมันปาล์ม) (-28.9%) และ ผลิตภัณฑ์นม (-3.4%) 

 

การบริโภคเดือนมีนาคม 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากราคาที่ลดลงร้อยละ 0.3 โดยภาพรวมการบริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำ จากภาวะทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และแรงฉุดจากการลดลงของนักท่องเที่ยว โดยสินค้าที่มีระดับราคาลดลงได้แก่  สินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ -6.6 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว  กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ -0.9  กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ -0.3 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ -0.3 ส่วนกลุ่มสินค้าที่มีระดับราคาเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ร้อยละ 1.8 โดยสูงขึ้นจากราคาเนื้อสุกรจากต้นทุนป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ที่มากขึ้น กลุ่มผลไม้สด ร้อยละ 0.0 และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 3.7

การส่งออกอาหารไทยเดือนมีนาคม 2564 มีมูลค่า 80,522 ล้านบาท หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกของไทยหดตัวลงเกือบทุกตลาด ยกเว้นการส่งออกไปยังประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 จากการส่งออกแป้งมันสำปะหลังเป็นสำคัญ โดยการส่งออกน้ำตาทรายยังคงลลดลงจากราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกมีทิศทางลดลงจากอุปทานที่เพียงพอของบราซิลและอินเดียซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ประกอบกับอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำตาลรายใหญ่ก็หันมาดำเนินนโยบายผลิตน้ำตาลเองในประเทศมากขึ้น ข้าวลดลงเนื่องจากต้นทุนการผลิตข้าวไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งทำให้ไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ประกอบกับข้าวขาวซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยไม่ตรงกับความต้องการของผู่บริโภค ส่วนการส่งออกทูน่ากระป๋องลดลงจากการชะลอคำสั่งซื้อของประเทศผู้นำเข้าเนื่องจากมีการนำเข้าจำนวนมากในช่วงก่อน

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527