สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2564

มีนาคม 2564

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ขยายตัวร้อยละ 3.7  มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 60.8 ลดลงจากอัตราร้อยละ 61.1 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวเพิ่มตามปริมาณวัตถุดิบที่ออกสู่ตลาด และความต้องการส่งออกรวมถึงการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ประกอบกับผลของฐานตัวเลขที่ต่ำในปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์สำคัญ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นในระดับสูง ได้แก่ น้ำตาลทราย (19.8%) กุ้งแช่แข็ง (+17.9%) กะทิ (16.0%)  แป้งมันสำปะหลัง (4.4%) การผลิตน้ำมันพืช (4.0%) และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (2.6%) การผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นตามค่าความหวานที่ดีมากกว่าปีก่อน ขณะที่ผลิตภัณฑ์สำคัญที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง (-17.4%) เนื้อไก่สุกปรุงรส (-10.2%) สับปะรดกระป๋อง (-6.0%) และเนื้อไก่แช่แข็งและแช่เย็น (-1.1%)

การบริโภคเดือนกุมภาพันธ์ 2564 หดตัวลดลงเล็กน้อยจากแรงกดดันด้านราคาที่ลดลงร้อยละ 0.4 อย่างไรก็ตามภาพรวมการบริโภคยังคงอยู่ในระดับต่ำเนื่องมาจากภาวะทางเศรษฐกิจที่ทำให้ความต้องการซื้อของผู้บริโภคในประเทศชะลอตัวลง และแรงฉุดจากการลดลงของนักท่องเที่ยว โดยสินค้าที่มีระดับราคาลดลง ได้แก่ สินค้าในกลุ่มกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 5.9 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว เป็นสำคัญ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.3 กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ 3.5 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.3 ส่วนกลุ่มสินค้าที่มีระดับราคาเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 กลุ่มผลไม้สดเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และกลุ่มเครื่องประกอบอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4

การส่งออกอาหารไทยเดือนกุภาพันธ์ 2564 มีมูลค่า 71,890 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.2 (yoy) จาก

การส่งออกไปยังประเทศจีนและประเทศในกลุ่มโอเชียเนียเป็นสำคัญ โดยกลุ่มสินค้าหลักที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง โดยเพิ่มขึ้นจากความต้องการของประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างจีนเป็นหลัก ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส เพิ่มจากกระแสของการทำงานที่บ้าน (WFH) ทำให้ผู้บริโภคทำอาหารรับประทานเองเพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกน้ำตาลทรายลดลงจากภาวะอุปทานตึงตัวในตลาด ทูน่ากระป๋อง ลดลงจากการชะลอคำสั่งซื้อของประเทศผู้นำเข้าเนื่องจากมีการนำเข้าจำนวนมากในช่วงก่อนหน้ารวมถึงยังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในระยะสั้น การส่งออกไก่ ลดลงจากผลกระทบภาคการท่องเที่ยวจากมาตรการล็อคดาวน์ในประเทศผู้นำเข้าสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป และการส่งออกข้าว ลดลงจากการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงในตลาด โดยราคาข้าวไทยอยู่ในระดับสูงกว่าราคาคู่แข่ง ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของไทยลดลง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527