สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนกันยายน 2563

ตุลาคม 2563

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนกันยายน 2563 หดตัวร้อยละ 1.1  มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 49.9 ลดลงจากอัตราร้อยละ 51.1 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการชะลอตัวของความต้องการบริโภคในประเทศ และผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลให้วัตถุดิบการเกษตรสำคัญไม่เพียงพอต้องความต้องการของโรงงานแปรรูป โดยเฉพาะการผลิตน้ำตาลที่ลดลงร้อยละ 63.8 จากปริมาณผลผลิตอ้อยลดลง ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลทรายดิบที่มีอยู่นำมาแปรสภาพเป็นน้ำตาลทรายได้น้อยกว่าปีก่อน รองลงมาได้แก่ เครื่องปรุงอาหารประจำโต๊ะและเครื่องประกอบอาหาร (-22.9%) แป้งมันสำปะหลัง (-8.5%)  กุ้งแช่แข็ง (-16.8%) และ เนื้อไก่แช่เย็นและแช่แข็ง(-1.8%) ทั้งนี้ หากไม่รวมน้ำตาล ภาพรวมดัชนีผลผลิตอาหารขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยสินค้าที่ยังคงมีการผลิตขยายตัวได้ดีอาทิ (1) ผลไม้และผักแปรรูป (+27.0%) (2) ทูน่ากระป๋อง (+11.5%) (3) อาหารสัตว์เลยงสำเร็จรูป (+6.2%) (4) ผลิตภัณฑ์นม (+8.2%) และ (5) น้ำมันปาล์ม (+5.9%)

การบริโภคในประเทศขยายตัวร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวในอัตราคงที่จากเดือนก่อนหน้าตามภาพรวมการบริโภคจะดีขึ้นจากสถานการณ์การระบาด
โรคโควิด-19 ในประเทศที่ผ่อนคลายลง แต่ยังคงขยายตัวอยู่ในระดับต่ำจากความต้องการบริโภคในประเทศที่ยังคงชะลอตัว เนื่องมาจากภาวะทางเศรษฐกิจ และแรงฉุดจากจากการลดลงของนักท่องเที่ยวโดยสินค้าที่มีระดับราคาเพิ่มสูงขึ้นได้แก่ เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และ สัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 3.4 ผักสด สูงขึ้นร้อยละ 11.2 เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 2.3 และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ขณะที่ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 0.3 และผลไม้ลดลงร้อยละ 1.8 จากปริมาณผลผลิตส่วนเกินในตลาดมาก

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527