สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนมิถุนายน 2563

กรกฎาคม 2563

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนมิถุนายน 2563 หดตัวร้อยละ 3.2  มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 49.4 ลดลงจากอัตราร้อยละ 51.3 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการชะลอตัวของการผลิตเพื่อส่งออกจากผลกระทบโรคระบาดโควิด-19 และผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งทำให้ผู้ประกอบการมีวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการผลิต สำหรับสินค้าที่มีผลต่อการปรับลดของดัชนีผลผลิต  ได้แก่ น้ำตาล (-43.1%) สับปะรดกระป๋อง (36.1%) น้ำผลไม้ (-17.7%) และแป้งมันสำปะหลัง(-10.3%) ทั้งนี้หากไม่รวมน้ำตาล ภาพรวมดัชนีผลผลิตอาหารขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ผลผลิตของอาหารสำเร็จรูปและอาหารพื้นฐาน (commodity)บางชนิดยังคงได้รับอานิสงส์จากการสำรองอาหารระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ปลากระป๋อง (+30.5%) ผลิตภัณฑ์นม (+11.7%) และไก่สดแช่เย็น

การบริโภคในประเทศขยายตัวร้อยละ 0.1% เมื่อเทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวให้อัตราที่เพิ่มขึ้นจากเดือนต่อหน้าตามภาพรวมการบริโภคจะดีขึ้นจากสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ในประเทศที่ผ่อนคลายลง แต่ยังคงได้รับแรงฉุดจากจากการลดลงของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จึงทำให้อัตราการขยายตัวของการบริโภคขยายตัวในระดับต่ำ โดยข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 5.5 เครื่องประกอบอาหารอาทิ น้ำมันพืช มะพร้าว เครื่องปรุงรสสูงขึ้นร้อยละ 3.4  เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 2.0  อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.78 และ 0.42 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าปรับตัวลดลง ได้แก่ หมวดผักและผลไม้ลดลงร้อยละ 6.3 ผักสดลดลงร้อยละ -4.9 ผลไม้ลดลงร้อยละ -9.5 เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ  ลดลงร้อยละ 0.2 ไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 1.6

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527