สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนพฤษภาคม 2563

มิถุนายน 2563

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนพฤษภาคม 2563 หดตัวร้อยละ 3.6  มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 50.9 ลดลงจากอัตราร้อยละ 58.0 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการชะลอตัวของความต้องการบริโภคสินค้าอาหารในประเทศ และการส่งออก เนื่องจากผู้บริโภคมีการกักตุนสินค้าในช่วงก่อนหน้า ทั้งนี้สินค้าที่ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป และผักผลไม้แช่เย็นแช่แข็งเนื่องด้วยโดยสถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิดความต้องการอาหารที่เก็บไว้ได้นานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ  อาหารทะเลกระป๋อง (+21.2%), น้ำมันพืช (+46.6%), สับปะรดกระป๋อง (+10.8%), ผักผลไม้แช่แข็ง (+7.7%) และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (+7.1%)

การบริโภคในประเทศขยายตัวร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวให้อัตราที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า แม้ว่าภาพรวมการบริโภคจะดีขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ต่าง ๆ ของรัฐบาลแต่เนื่องจากผู้บริโภคมีการเร่งซื้อสินค้าอาหารเพื่อกักตุนในช่วงก่อนหน้า ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอาหารยังคงไม่เพิ่มมากนัก ประกอบกับยังมีแรงฉุดจากการลดลงของนักท่องเที่ยวจึงทำให้อัตราการขยายตัวของการบริโภคขยายตัวในระดับต่ำ โดยข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 6.0 เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ  สูงขึ้น ร้อยละ 0.5 ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 1.4 ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนที่ผ่านมาจากปริมาณไข่คงเหลือสะสม เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 3.4 เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 2.0  และอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.7 และ 0.5 ตามลำดับ

การส่งออกอาหารไทยเดือนพฤษภาคม 2563 มีมูลค่า 98,964 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน จากอานิสงlNองการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ที่ทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการกักตุนสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป อาทิ อาหารกระป๋อง และอาหารพร้อมรับประทาน ทั้งนี้ ด้านการส่งออกข้าวลดลงเนื่องจากประเทศผู้นำเข้าที่เคยนำเข้าข้าวปริมาณมากในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาเริ่มชะลอการรับมอบข้าวเพราะมีสต็อกข้าวเพียงพอแล้ว ประกอบกับประเทศเวียดนามได้กลับมาส่งออกข้าวตามปกติแล้ว เช่นเดียวกับอินเดียและปากีสถานที่เริ่มผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และกลับมาส่งออกข้าวได้อีกครั้ง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527