สวัสดี

แนวโน้มฉลากอาหารของสหภาพยุโรป ภายใต้กลยุทธ์ Farm to Fork (F2F)

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอให้มีการพิจารณากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับฉลากอาหาร จำนวน 6 ฉบับ เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ Farm to Fork โดยจะนำเสนอกฎระเบียบดังกล่าวภายใน  ปี 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.บังคับการติดฉลากข้อมูลโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ (Mandatory front-of-pack nutrition labelling)

          กฎระเบียบด้านการให้ข้อมูลอาหารแก่ผู้บริโภค (Food Information to Consumer Regulation) กำหนดให้อาหารที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ต้องแสดงข้อมูลทางโภชนาการ (nutrition declaration) ให้ผู้บริโภคทราบ ได้แก่ ค่าพลังงาน ปริมาณไขมัน ไขมันอิ่มตัว คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล และเกลือ ซึ่งจะปรากฏอยู่บนฉลากด้านหลังบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตามกฎระเบียบดังกล่าวยังอนุญาตให้มีการแสดงข้อมูลทางโภชนาการในลักษณะเดียวกันกับฉลากด้านหลังหรือในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การปรากฏเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ หรือ front-of-pack (FOP) เพื่อให้ผู้บริโภคมองเห็นข้อมูลสำคัญได้ง่ายขึ้น

          ปัจจุบันการติดฉลากโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ยังเป็นมาตรการสมัครใจ (voluntary basis) อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการยุโรปจะมีการเสนอให้การแสดงฉลากโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์เป็นมาตรการบังคับ (mandatory front-of-pack nutrition labelling) ในรูปแบบที่สอดคล้องกันทั่วทั้งสหภาพยุโรป ภายในปลายปี 2565 เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ป้องกันความสับสนของผู้บริโภค และลดอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์อาหารในตลาดร่วม โดยรูปแบบฉลากโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ที่พบได้ในสหภาพยุโรป มีดังนี้

 

  • ฉลากแสดงข้อมูลสารอาหารเฉพาะเจาะจง (Nutrient-specific labels)

          เป็นการให้ข้อมูลสารอาหารที่สำคัญบางรายการ โดยใช้ตัวเลขหรือรหัสสี อาทิ ฉลากแสดงปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับ (Reference Intakes) ฉลากแสดงปริมาณสารอาหารแบบแบตเตอรี่ (Nutrinform BATTERY) ที่ใช้ในอิตาลี และฉลากสีสัญญาณไฟจราจร (Traffic light FOP) ที่ใช้ในสหราชอาณาจักร

download PDF

Related Articles

ไขมันทรานส์ (Trans Fat) และมาตรการรับมือของประเทศไทย

ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบในสังคมปัจจุบันทำให้คนส่วนใหญ่นิยมรับประทานฟาสต์ฟู้ด (Fast food) กันมาก อุตสาหกรรมอาหารฟาสต์ฟู้ดจึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมี...

สถานการณ์ Food Fraud

Food Fraud หรืออาหารปลอม ที่ไม่ได้หมายถึงอาหารที่ทำมาจากพลาสติกแต่อย่างใด อาหารปลอมในที่นี้อาจจะมาในรูปแบบของอาหารที่ปลอมปมไปด้วยส่วนผสมอื่น ๆ นอกเหนื...

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527