สวัสดี

ส่งออกอาหารฉายรังสีต้องระวัง...

น.ส.อรอนงค์ มหัคฆพงศ์
ฝ่ายบริการข้อมูลและสารสนเทศ
โทร. 0 2886 8088 ต่อ 305 
ornanonm@nfi.or.th 

สืบเนื่องจากเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา สินค้าอาหารประเภทเส้นหมี่สําเร็จรูป จากประเทศเกาหลีใต้และเห็ดหอมสดจากประเทศบอสเนียฯ ถูกสหภาพยุโรปปฏิเสธการนําเข้าเนื่องจาก เป็น ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฉายรังสีโดยไม่ได้ติดฉลากแจ้งให้ผู้บริโภคทราบ อีกทั้งยังพบว่ามีปริมาณรังสีเกิน กําหนด (ที่ประเทศเยอรมนีและอิตาลีตามลําดับ) ซึ่งทําให้มีความกังวลว่าบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปของไทยที่ส่ง ไปจําหน่ายยังอียูอาจเกิดกรณีเช่นเดียวกันนี้เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว กับสินค้าของไทย ผู้ประกอบการควรมีการเตรียมพร้อม และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผลิต ภัณฑ์อาหารไทยยังคงคุณภาพตามข้อกําหนดด้านสุขอนามัยของประเทศผู้นําเข้าและลดปัญหาการถูกกักกัน (quarantine) ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาคการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย

อาหารฉายรังสีในสหภาพยุโรป

การฉายรังสีอาหาร (Food irradiation) เป็นกรรมวิธีการแปรรูปอาหารเพื่อกําจัดหรือควบคุมเชื้อโรคและแมลงในผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งยังเป็นวิธีการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง ซึ่งหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย จีน รวมทั้งไทยใช้กับผลิตภัณฑ์ อาหารประเภท ต่างๆ เช่น ข้าวสาลีมันฝรั่ง ผัก ผลไม้เครื่องเทศและสมุนไพร เนื้อหมูเนื้อวัว เนื้อปลา กุ้ง และเนื้อสัตว์ ปีก

อาหารฉายรังสีในประเทศไทย

ปัจจุบันอาหารฉายรังสีจากประเทศไทยยังไม้ได้ รับอนุญาตให้นําเข้าและจําหน่ายในตลาดสหภาพยุโรปจน กว่าจะมีการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายใต้ Directive 1999/2/EC และ Directive 1999/3/EC ได้แก่ ต้องมีฉลากกํากับอาหารฉายรังสีมีเอกสารรับรองโดยระบุชื่อ สถานที่ตั้ง และจัดเก็บบันทึกข้อมูลการใช้รังสีเป็นเวลา 5 ปี และสถานที่ฉายรังสีต้องได้รับการตรวจสอบรับรองและ ขึ้นบัญชีจากผู้เชี่ยวชาญของอียูเสียก่อน โดยหน่วยงานรับ ผิดชอบของไทยสามารถแจ้งความประสงค์และยื่นเอกสาร ข้อมูลให้ Directorate-General of Health and Consumer Protection (DG-SANCO) คณะกรรมาธิการ ยุโรปพิจารณา ก่อนส่งคณะเจ้าหน้าที่หน่วยงาน FVO มาตรวจสอบ รับรองและอนุญาต ทั้งนี้ภาครัฐต้องส่งเสริมศักยภาพการผลิตอาหารฉายรังสีของผู้ประกอบการไทยไปพร้อมกับผลัก ดันให้หน่วยงานผู้เชี่ยวชาญของอียูให้การรับรองแหล่งผลิตหรือโรงงานฉายรังสีอาหาร ซึ่งหากสํานักงาน อาหารและสัตวแพทย์ (Food and Veterinary Office หรือ FVO) ของอียูรับรองและอนุญาตก็จะช่วยขยาย โอกาสการส่งออกสินค้าอาหารไทยไปอียูได้มากขึ้น และลดปัญหาการกักกันสินค้าอาหารไทยในอนาคต

download PDF

Related Articles

“Added Sugar” ประเด็นที่น่าจับตามอง

รส “หวาน” เป็นหนึ่งในรสชาติหลักที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ นอกเหนือจากรสเปรี้ยว, เค็ม, ขม โดยรสหวานมีแหล่งที่มาสำคัญคือ “น้ำตาล” ...

สถานการณ์ด้านกฎ ระเบียบ มาตรฐาน การส่งออกสินค้าแมลงของประเทศไทย

วัฒนธรรมการบริโภคแมลงนั้นมีมานานแล้ว และปรากฏอยู่แทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่ว่าจะเป็นทวีปเอเชีย อเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง เพียงแต่จำกัดอยู่ในเฉพาะบา...

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527