สวัสดี

กฏหมายการแสดงฉลากอาหารฉบับใหม่ของ สหภาพยุโรป

แชร์:
Favorite (38)

11 กรกฎาคม 2553

 

กฏหมายการแสดงฉลากอาหารฉบับใหม่ของ สหภาพยุโรป

สภายุโรปลงมติผ่านร่างกฎหมายปรับเปลี่ยนการแสดงข้อมูลบนฉลากอาหารใหม่ได้แก่

                1. ข้อมูลโภชนาการ (Information of Nutrition)

                2. ข้อมูลแหล่งกำเนิดสินค้า (Country of origin)

                3. รายการส่วนฉบับใหม่นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดในข้อมูล ลักษณะ หรือรูปภาพต่างๆที่ปรากฎบนฉลากอาหาร และให้ผู้บริโภคสามารถแยกอาหารเทียมออกจากอาหารทั่วไปได้ด้วยการอ่านฉลาก

                ภายใต้กฎหมายใหม่นี้ ได้กำหนดให้ฉลากอาหารต้องแสดงข้อมูลสารอาหารดังต่อไปนี้

                                - ไขมัน (Fat)

                                - น้ำตาล (sugars)

                                - โปรตีน (Protein)

                                - เกลือ (Salt)

                โดยการแสดงข้อมูลสารอาหารต้อง “together and in the same field of vision” ซึ่งหมายถึงให้แสดงข้อมูลไปในทางเดียวกันกับการแสดงข้อมูลพลังงาน (energy content) ปริมาณไขมันอิ่มตัว (saturatedfat) และคาร์โบไฮเดรต (carbohydrates) ต่อ 100 กรัม หรือ มิลิลิตร หรือ ต่อส่วนที่บริโภค (portion) ในอาหารซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องทราบ

                สำหรับการแสดงข้อมูลแหล่งกำเนิดสินค้าอาหารนั้น ปัจจับันมีการแสดงเฉพาะที่มาของสินค้าเนือ้สัตว์ (beef) น้ำผึ้ง (honey) และ น้ำมันมะกอก (Olive oil) ซึ่งเป็นสินค้าที่มีอัตลักษณ์และแหล่งที่มาของสินค้าดังกล่าวจะสร้างมูลค่าให้แก่สินค้าและเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภคใช้ในการพิจารณาเลือกซื้อ ซึ่งทางสภายุโรปต้องการให้แสดงข้อมูลแหล่งกำเนิดในสินค้าเนื้อสัตว์จำพวก สุกร แกะ แพะ และสัตว์ปีก หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดังกล่าว เช่น นม ในลักษณะเดียวกันด้วย อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการด้วย ส่วนการแสดงส่วนประกอบอาหารควรระบุไว้อย่างชัดเจนด้านหน้าชื่อยี้ห้อ

กฎหมายใหม่ฉบับนี้คาดว่าจะประกาศใช้ภายในเดือน กรกฎาคม 2554 นี้ สำหรับผู้ประกอบมีระยะเวลาในการปรับ้ปลี่ยนการแสดงข้อมูลโภชนาการ แหล่งกำเนิดสินค้า หรือรายการส่วนประกอบอาหารตามกฎหมายภายใน 3 ปี นับจากวันที่ประกาศใช้

การที่สภายุโรปสนับสนุนให้มีการแสดงข้อมูลบนฉลากให้มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อเป็นทางเลือกในการเลือกซื้อสิค้าอาหารของผู้บริโภคและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารน่าจะได้ประโยชน์จากกรณีนี้ ทั้งนี้ยังมีข้อกังวลถึงการดำเนินการปรับเปลี่ยนฉลากอาหารให้มีข้อมูลดังกล่าวอาจกระทบโดยตรงกับผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็ก (SMEs) ที่มีมากถึงร้อยละ 80 ของผู้ประกอบอาหารในสหภาพยุโรป ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการนอกสหภาพยุโรปด้วย

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527