สวัสดี

EU อนุญาตให้“หนอนนกอบแห้ง” ขึ้นทะเบียนเป็น Novel food

แชร์:
Favorite (38)

17 พฤษภาคม 2564

 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการ PAFF (Plant, Animal, Food and Feed Committee) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสมาชิก EU 27 ประเทศ มีมติอนุมัติเห็นชอบให้ “หนอนนกอบแห้ง” (Dried Yellow Mealworms) สามารถวางจำหน่ายในตลาด EU ได้ นับเป็นครั้งแรกของกลุ่มสหภาพยุโรปที่ยอมรับอาหารประเภทแมลงให้เป็น Novel food ชนิดใหม่ โดยในลำดับต่อไป คณะกรรมาธิการยุโรปจะทำการเห็นชอบให้ “หนอนนกอบแห้ง” บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อ Novel food ที่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายในสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการต่อไป EU

ก่อนหน้านี้ ในเดือนมกราคม 2564 หน่วยงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) ได้ยืนยันความปลอดภัยต่อการบริโภค “หนอนนกอบแห้ง” (ทั้งในลักษณะอบแห้งแบบทั้งตัว และสินค้าที่มีส่วนประกอบที่มาจากแมลง เช่น แป้ง ผงโปรตีน บิสกิต และเส้นพาสต้า) ภายหลังบริษัทผู้ผลิตสัญชาติฝรั่งเศส SAS EAP Group – MICRONUTRIS ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณาขอขึ้นทะเบียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ ผลการตรวจประเมินผลความปลอดภัยทางวิทยาศาสตร์จาก EFSA พบว่า “หนอนนกอบแห้ง” มีความปลอดภัยต่อการบริโภคและสามารถใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารได้ อย่างไรก็ดี EFSA ได้เตือนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะผู้เคยแพ้อาหารทะเล หรือมีอาการแพ้ไรฝุ่นบ้าน เลี่ยงกินแมลง เนื่องจากอาจเกิดอันตรายได้ ซึ่ง EFSA ขอให้มีการวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องนี้

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา EU หันมาตื่นตัวและให้ความสําคัญกับเรื่องการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการผลิตและแปรรูปอาหารมากขึ้น โดยการปรับปรุงกฎระเบียบว่าด้วยเรื่องอาหารใหม่ (Novel Foods) ที่มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 เพื่อช่วยให้การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวทำได้อย่างรวดเร็วและง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวแบ่ง Novel foods ออกเป็น 3 ประเภทคือ 1) อาหารที่ผลิตจากแหล่งโภชนาการใหม่ (New Source)  2) อาหารที่ผลิตจากกรรมวิธีรูปแบบใหม่ (New Technique) และ 3) อาหารแบบดั้งเดิมที่มีการบริโภคโดยทั่วไปนอกกลุ่ม EU

มีรายงานว่า EFSA ได้รับคำขอขึ้นทะเบียนอาหารที่ผลิตขึ้นด้วยนวัตกรรมใหม่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจากทั้งในและนอก EU ซึ่งรวมถึงหนอนอบแห้ง (mealworms) สำหรับทำขนมปัง บิสกิต พาสต้า หรือซีเรียล ไปจนถึงการเพาะเลี้ยงเซลล์แอปเปิ้ล (apple cell cultures) โปรตีนจากถั่วเขียว (mung bean proteins) ผงเห็ดที่เสริมด้วยวิตามิน D2 และมิราเคิลเบอร์รี่อบแห้ง (Dried miracle berries)

สำหรับประเทศไทย แมลงถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยมีระบบนิเวศอันสมบูรณ์ และยังมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะต่อการเพาะเลี้ยงแมลง ผนวกกับภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงแมลงเพื่อการบริโภคและส่งออก ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เล็งเห็นถึงโอกาสทางการตลาดของจิ้งหรีดในการเป็นอาหารยุคใหม่ของประชากรโลก และศักยภาพของประเทศไทยในการผลิตและแปรรูปจิ้งหรีดเพื่อป้อนตลาดโลก จึงได้ผลักดันการเปิดตลาดต่างประเทศ โดยล่าสุดเม็กซิโกได้ไฟเขียวการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผงแป้งจิ้งหรีดสายพันธุ์สะดิ้งจากฟาร์มไทยแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และไทยหวังขยายตลาดไปในภูมิภาคอเมริกาเหนือต่อไปในส่วนภูมิภาคยุโรป ไทยกำลังเจรจาการส่งออกจิ้งหรีดไทยมายังยุโรป โดยผู้ประกอบการที่ประสงค์ส่งออกจิ้งหรีดมายังยุโรป ควรดำเนินการตามข้อกกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ มาตรฐาน GMP และ HACCP ด้วย

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

  • EU gives green light to bloc’s first edible insect         

 

ที่มา : https://thaieurope.net/

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527