สวัสดี

กฎระเบียบและการกำกับดูแลไขมันทรานส์ของจีน

แชร์:
Favorite (38)

24 กันยายน 2563

          เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ได้กล่าวว่า การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันทรานส์ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตถึง 500,00 คนต่อปี จากการบริโภคไขมันทรานส์ในปริมาณมากเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคเส้นเลือดสมองตีบ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน เนื่องจากไขมันทรานส์จะทำให้มีระดับไขมันคอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น ในขณะที่ทั่วโลกกำลังต่อสู้กับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) WHO กล่าวว่า จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนรวมถึงเพื่อบรรลุเป้าหมายในการกำจัดไขมันทรานส์ที่ผลิตในอุตสาหกรรมออกจากแหล่งอาหารทั่วโลกภายในปี 2566 นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกจะให้การสนับสนุนประเทศสมาชิกให้เปลี่ยนไขมันทรานส์ที่ผลิตในอุตสาหกรรมมาใช้น้ำมันและไขมันที่ดีต่อสุขภาพแทน ซึ่งจีนเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของ WHO

การกำกับดูแลไขมันทรานส์ของจีน

          เพื่อควบคุมระดับการบริโภคไขมันทรานส์ (Trans fatty acid) จีนได้ออกมาตรการ 3 ด้าน ดังนี้

1. การแสดงฉลากไขมันทรานส์บนบรรจุภัณฑ์ อ้างอิงจาก GB 28050-2011 มาตรฐานเรื่อง การแสดงฉลากโภชนาการอาหารบนผลิตภัณฑ์ ซึ่งบังคับให้ระบุปริมาณไขมันทรานส์เมื่อ

ทั้งนี้ สำหรับผลิตภัณฑ์ เช่น เนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม สารทดแทนเนยโกโก้ ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการเติมโฮโดรเจนหรือผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันทรานส์ตามธรรมชาติ การระบุปริมาณไขมันทรานส์ให้เป็นไปโดยการสมัครใจ

2. แนะนำปริมาณการบริโภคไขมันทรานส์ต่อวัน ควรน้อยกว่า 2 กรัมต่อวัน

3. กำหนดปริมาณไขมันทรานส์ในนมผงสำหรับทารก ตามมาตรฐาน GB 10765-2010, GB 10767-2010, GB 10769-2010 และ GB 10770-2010 ห้ามมิให้ใช้น้ำมันและไขมันที่เติมไฮโดรเจนทั้งในนมผงสำหรับทารกและอาหารเสริมสำหรับทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนมผงสำหรับทารก (รวมถึงนมผงสำหรับเด็กโตและเด็กเล็ก) โดยปริมาณสูงสุดที่ยอมให้พบได้ (รวมถึงไขมันทรานส์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ) จะต้องน้อยกว่าร้อยละ 3 ของปริมาณกรดไขมันทั้งหมด

ที่มา : Chemlinked. Regulation and Supervision Trend of Trans Fat in China. https://food.chemlinked.com/expert-article/regulation-and-supervision-trend-of-trans-fat-in-china.

สามารถติดตามข่าวสารกับ FIC ทางสังคมออนไลน์ได้ที่ http://www.facebook.com/NFI.FIC

และทาง LINE Official : @FIC.NFI (มี @ นำหน้านะคะ) หรือ Scan QR Code ด้านบนขวามือ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527