สวัสดี

Early Warning

สัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่าย

สิงหาคม 2561

รายละเอียด :

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาน้ำหนักเกิน โรคอ้วน (Obesity) และโรคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และภาวะไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งนี้ “โรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน” ก็กำลังเป็นภัยคุกคามในประชากรไทยเช่นกัน ด้วยวิถีชีวิตแบบคนเมืองสมัยใหม่ที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ โดยเฉพาะการบริโภคอาหารทีมีพลังงานและไขมันสูง โซเดียมสูง น้ำตาลสูง กรดไขมันอิ่มตัวสูง รวมถึงการทำกิจกรรมทางกายและการบริโภคผักและผลไม้ที่น้อยเกินไป ทำให้ประชากรไทยมีภาวะความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันทั่วโลกกำลังรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาน้ำหนักเกิน โรคอ้วน (Obesity) และโรคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง และภาวะไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งนี้ “โรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน” ก็กำลังเป็นภัยคุกคามในประชากรไทยเช่นกัน ด้วยวิถีชีวิตแบบคนเมืองสมัยใหม่ที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ โดยเฉพาะการบริโภคอาหารทีมีพลังงานและไขมันสูง โซเดียมสูง น้ำตาลสูง กรดไขมันอิ่มตัวสูง รวมถึงการทำกิจกรรมทางกายและการบริโภคผักและผลไม้ที่น้อยเกินไป ทำให้ประชากรไทยมีภาวะความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนมากยิ่งขึ้น

การปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการจึงเป็นกลยุทธ์เชิงป้องกันที่สำคัญ ซึ่งภาครัฐต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดประสิทธิผลอย่างเร่งด่วน เพื่อลดการขยายตัวอย่างรวดเร็วของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้ที่เพียงพอในการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับสภาวะร่างกายและสุขภาพของตน และต้องส่งเสริมให้มีอาหารซึ่งมีคุณค่าเหมาะสมที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและซื้อหาได้ สังคมปัจจุบันผู้บริโภคมีการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อาหารจึงกลายเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและให้ความรู้กับผู้บริโภคที่มีความสำคัญมาก ทั้งนี้ ฉลากที่มีข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจง่ายย่อมช่วยให้ผู้บริโภคสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณค่าโภชนาการเหมาะสม

สำหรับประเทศไทยฉลากบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อาหาร แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฉลากอาหาร และฉลากโภชนาการ โดยนิยามของฉลากอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 เรื่องฉลากอาหาร พ.ศ.2543 ให้คำนิยามของฉลากอาหารว่าคือ รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใดๆ ที่แสดงไว้ที่อาหาร ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อของภาชนะที่บรรจุอาหาร (รวมถึงแผ่นพับและฉลากคอขวด) โดยกำหนดให้อาหารทุกชนิดที่ผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้ขายอาหารนั้นให้กับผู้บริโภคโดยตรงต้องแสดงฉลากบนภาชนะบรรจุ ข้อมูลที่แสดงบนฉลากอาหารนั้น ส่วนฉลากโภชนาการ คือ ส่วนหนึ่งบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการแสดงข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารนั้น โดยชนิดของสารอาหารที่ระบุ ได้แก่ ชนิดที่จำเป็นต้องบริโภคเพื่อป้องกันปัญหาโภชนาการขาด และจำกัดการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงของโรคโภชนาการเกิน ซึ่งมีการนำเสนอปริมาณที่มี เปรียบเทียบกับปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน สำหรับผู้ที่มีอายุ 6 ปีหรือมากกว่า ซึ่งต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี

          นอกจากนี้ ยังมีฉลากอีกประเภท หรือฉลากโภชนาการแบบง่ายต่อการตัดสินใจ (Presumptive Labeling) ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสื่อสารฉลากทางโภชนาการที่ลดความซับซ้อนลงให้กับผู้บริโภคอาจเป็นทางเลือกที่ช่วยให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมมากขึ้น โดยการออกสัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่าย (Simplified Logo) ที่แสดงคุณสมบัติทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจเลือกซื้อได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้เวลามาก เนื่องจากผลการศึกษาทางการตลาดแสดงว่าผู้บริโภคใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการพิจารณาฉลากก่อนซื้อ ตัวอย่างฉลากประเภทนี้ คือ ฉลากจีดีเอ (GDA) ซึ่งเป็นฉลากโภชนาการรูปแบบหนึ่งที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจคุณค่าโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารได้ง่ายและสะดวกขึ้น โดยกำหนดให้แสดงปริมาณค่าของพลังงาน น้ำตาล  ไขมัน และโซเดียมในหน่วยเมตริก (หน่วยของพลังงานเป็นกิโลแคลอรี) ของอาหารทั้งบรรจุภัณฑ์ (1 ซอง/1 กล่อง) ในรูปทรงกระบอกเรียงติดกัน 4 รูป และช่วงล่างใต้รูปทรงกระบอกแสดงค่าร้อยละของปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้ต่อวัน

แต่อย่างไรก็ตาม ฉลากดังกล่าวเป็นการบังคับแสดงในกลุ่มอาหารเพียง 13 กลุ่มเท่านั้น เนื่องจากมีความซับซ้อนของข้อมูลที่ยังมีผู้บริโภคบางกลุ่มที่ไม่เข้าใจตัวเลขบนฉลากจีดีเอ จึงจำเป็นต้องมีการสื่อสารและสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคให่มากขึ้น ดังนั้นการสร้างสัญลักษณ์หรือฉลากที่ง่ายต่อความเข้าใจของผู้บริโภคจึงมีความจำเป็น และเป็นฉลากที่มีผลต่อเวลาการซื้อสินค้าน้อยที่สุด

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาและส่งเสริมการใช้สัญลักษณ์โภชนาการอย่างง่ายสำหรับเป็นข้อมูลการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์อาหารของผู้บริโภคเพื่อลดการบริโภคน้ำตาล โซเดียมและไขมัน โครงการดังกล่าวดำเนินการภายใต้ 3 ส่วนหลัก คือ

สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” ถูกพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายที่รณรงค์ในการลดหวาน มัน เค็ม และภาควิชาการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารที่เข้าใจง่าย สำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อหาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีปริมาณโซเดียม น้ำตาล และ/หรือไขมันต่ำลง เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะโภชนาการเกินและโรคที่เกี่ยวข้องในคนไทย 

 

สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ”เป็นฉลากโภชนาการที่รู้จักและจดจำได้ง่าย ซึ่งแสดงอยู่บนด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์อาหาร จึงสังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจในการเลือกซื้อได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมายต้องผ่านเกณฑ์โภชนาการที่กำหนดและผ่านการเฝ้าระวังจากภาควิชาการ ปัจจุบันมูลนิธิส่งเสริมโภชนาการฯ ได้ออกเกณฑ์ด้านโภชนาการสำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร 8 กลุ่ม ได้แก่

 

 

  1. กลุ่มอาหารมื้อหลัก
  2. กลุ่มเครื่องดื่ม
  3. กลุ่มเครื่องปรุงรส
  4. กลุ่มผลิตภัณฑ์นม
  5. กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป
  6. กลุ่มขนมขบเคี้ยว
  7. กลุ่มไอศกรีม
  8. กลุ่มน้ำมันและไขมัน

 

สำหรับการขอรับสัญลักษณ์ดังกล่าง สามารถดำเนินการได้โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อกำหนดต่างๆได้ที่เว็บไซต์ของโครงการโดยตรง (http://healthierlogo.com) ซึ่งกฎระเบียบที่ออกเป็นกฎหมายของโครงการนี้ เป็นแบบสมัครใจ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อุปโภคที่อยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีข้อกำหนดสามารถยื่นขอสัญลักษณ์ดังกล่าวได้

สัญลักษณ์ประเภท Healthier choice ได้รับการยอมรับจากภาคเอกชนเพราะไม่มีการจัดให้เป็นอาหารดีหรือเลว และผู้บริโภคไม่ต้องใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อนาน เนื่องจากผ่านการตัดสินจากเกณฑ์แล้ว  จากหลักการดังกล่าวทำให้สัญลักษณ์ Healthier choice กลายเป็นมาตรฐานเชิงสมัครใจโดยปริยาย ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้ภาคเอกชนให้ความร่วมมือและมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดเฉพาะของผลิตภัณฑ์อาหารนั้น โดยในประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็ได้มีการออกแบบและใช้สัญลักษณ์ประเภท Healthier choice เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารต่อผู้บริโภคอีกทางหนึ่งกันอย่างแพร่หลาย

แม้ว่าฉลากอาหารจะเป็นแหล่งที่ดีที่สุดในการสื่อสารข้อมูลจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค แต่การเลือกซื้ออาหารในปัจจุบันผู้บริโภคต้องรู้เท่าทันพร้อมเข้าถึงข้อมูล อีกทั้งยังต้องใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรองข้อมูลอย่างรอบคอบ ถึงคุณประโยชน์ ชนิดสารอาหาร อย่างไรก็ตาม โลโก้เหล่านี้จะไม่เกิดประโยชน์หากผู้บริโภคไม่ใส่ใจและละเลยการดูแลสุขภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง เพราะฉลากอาหารเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่แสดงไว้เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิดในการเลือกสินค้า การดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นผู้จัดทำ

 

แหล่งที่มา

  1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 373 พ.ศ.2559 เรื่องการเเสดงสัญลักษณ์โภชนาการบนฉลาก
  2. ประกาศคณะอนุกรรมการฯ เรื่อง เกณฑ์สารอาหารหรือคุณค่าทางโภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” ของอาหารเเต่ละกลุ่ม
  3. ประกาศคณะอนุกรรมการฯ เรื่อง เกณฑ์สารอาหารหรือคุณค่าทางโภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” ของอาหารเเต่ละกลุ่ม (ฉบับที่ 2)
  4. ประกาศคณะอนุกรรมการฯ เรื่อง เกณฑ์สารอาหารหรือคุณค่าทางโภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” ของอาหารเเต่ละกลุ่ม (ฉบับที่ 3)
  5. ประกาศคณะอนุกรรมการฯ เรื่อง กำหนดรูปแบบสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ”
  6. http://healthierlogo.com

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527