สวัสดี

สถานการณ์ด้านกฎ ระเบียบ มาตรฐาน การส่งออกสินค้าแมลงของประเทศไทย

ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวัฒนธรรมการบริโภคแมลง และภาครัฐมีการส่งเสริมให้เลี้ยงแมลงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมากว่า 20 ปีแล้ว นอกจากนี้ยังมีแมลงที่รับประทานได้ราว 200 สายพันธุ์ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากแมลงของผู้ประกอบการไทยมีทั้งแบบสด แช่แข็ง ทอด คั่ว ผงบด และบรรจุกระป๋อง ทั้งเป็นอาหารคาว อาทิ น้ำพริกจิ้งหรีดตาแดง จิ้งหรีดกระป๋อง และเป็นขนมขบเคี้ยว อาทิ ข้าวเกรียบบดจากจิ้งหรีด คุ๊กกี้จิ้งหรีด เป็นต้น โดยบางส่วนสามารถแปรรูปในระดับอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกด้วยเช่นกัน

         

          กฎหมายและระเบียบที่ควบคุมในการส่งออก และการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของแมลงและผลิตภัณฑ์อาหารจากแมลง ไม่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยกฎหมายและระเบียบที่ควบคุมประกอบด้วย

  1. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตามความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ หรือการปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศ ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
  2. ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่องแบบขอรับการตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดเพื่อขอใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2548
  3. ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่องการตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดเพื่อขอใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2548
  4. ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่องการตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดที่จะขอใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2549
  5. ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่องการตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดเพื่อขอใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2549

โดยผู้ส่งออกต้องมาตรวจสอบสิทธิ คุณสมบัติ และขอหนังสือรับรองต่างๆ ก่อนดำเนินการส่งออกวัฒนธรรมการบริโภคแมลงนั้นมีมานานแล้ว และปรากฏอยู่แทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่ว่าจะเป็นทวีปเอเชีย อเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง เพียงแต่จำกัดอยู่ในเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น โดยปัจจุบันการบริโภคแมลงเป็นอาหาร ได้รับการยอมรับและเริ่มมีความนิยมเพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประกาศให้แมลงเป็น “อาหารทางเลือกใหม่” หรือ “อาหารสำหรับประชากรในอนาคต”[1] เพราะนอกจากแมลงจะเป็นอาหารที่มีโภชนาการสูงทั้งโปรตีน ไขมัน วิตามิน และใยอาหาร สามารถนำมาใช้เป็นอาหารทดแทนโปรตีนจากสัตว์ใหญ่ได้เป็นอย่างดีแล้ว การเพาะเลี้ยงแมลงยังสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าการทำฟาร์มปศุสัตว์ทั่วๆ ไป ส่งผลให้ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม และยังสร้างมลพิษน้อยมากอีกด้วย

 

[1] Edible insects : Future prospects for food and feed security, Food and Agriculture Organization (FAO) เอกสารเผยแพร่ หัวข้อแมลงที่รับประทานได้ : ลู่ทางความหวังแห่งอนาคตสำหรับความมั่นคงทางอาหารและอาหารสัตว์ ที่มีเนื้อหาคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ภายใน 15 ปี จึงสนับสนุนการบริโภคโปรตีนจากแมลงซึ่งเป็นแนวทางการรับมือกับความมั่นคงทางอาหารในอนาคต

download PDF

Related Articles

ข้อกำหนดและการจัดการด้าน Food Fraud ในอุตสาหกรรมอาหาร

อาหารปลอมเกิดขึ้นเมื่อผู้จำหน่ายอาหารจงใจหลอกลวงลูกค้าเกี่ยวกับคุณภาพและส่วนประกอบของอาหารที่พวกเขากำลังจะซื้อ แม้ว่าอาหารปลอมมักได้รับแรงจูงใจจากผล...

นโยบาย FARM TO FORK ฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป ทิศทางที่อุตสาหกรรมอาหารไทยควรรู้

European Green Deal European Green Deal หรือ “ข้อตกลงยุโรปสีเขียว” ซึ่งประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป นาง อูร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ...

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527