สวัสดี

ติดตามการปรับปรุงมาตรฐาน ISO 22000 : 2017 ระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร

มาตรฐาน ISO 22000

          ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety Management System Requirement : FSMS) เป็นระบบสากล ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2548 โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการระบบอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร เป็นกรอบมาตรฐานสากลที่ครอบคลุมข้อกำหนดทุกมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพด้านความปลอดภัยอาหาร (Food safety) และสอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพด้านความปลอดภัยอื่น ๆ มาตรฐาน ISO 22000 เป็นระบบคุณภาพที่ต่อยอดในเรื่องความปลอดภัยอาหาร เป็นการรวมเอาระบบ GMP ซึ่งเป็นระบบพื้นฐานของอุตสาหกรรมอาหารกับระบบ HACCP ซึ่งเป็นระบบวิเคราะห์จุดอันตรายแต่ละขั้นตอนการผลิตและมีการผนวกกับ ISO 9001 เข้าไปเสริมในเรื่องการจัดการและระบบเอกสาร ทำให้ระบบนี้สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ทั้งนี้เพื่อให้อาหารที่ผลิตมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ข้อกำหนดของระบบมาตรฐาน ISO 22000 สามารถประยุกต์ใช้กับทุกองค์กร โดยไม่จำกัดขนาด ซึ่งองค์กรนั้นจะเกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร และการนำไปใช้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ซึ่งจะเริ่มต้นจากผู้ผลิตอาหารสัตว์ (feed producers)  ผู้ผลิตขั้นต้น (primary producers) ผู้ผลิตและแปรรูปอาหาร (food manufacturers) ผู้ที่ทำการขนส่งและจัดเก็บ (transport and storage operators) และผู้ขายอาหาร (food service outlets) ไปจนถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น ผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ วัสดุบรรจุหีบห่อ สารเคมีสำหรับทำความสะอาด และส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิตและแปรรูปอาหาร ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมีมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกัน และเป็นมาตรฐานที่ตรวจประเมินได้ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล (Auditable Standard) รวมทั้งจะช่วยผลักดันให้องค์กรให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย

ข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 22000 : 2005

           ข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 22000  มี 8 หัวข้อ แต่หลักการสำคัญของมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยอาหาร ISO 22000 ประกอบด้วย 4 หลักการสำคัญ คือ โปรแกรมขั้นพื้นฐาน หลักการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ระบบการจัดการ และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 22000 : 2005 มีทั้งหมด 8 หัวข้อ ดังนี้

  1. ขอบเขต (Scope)
  2. เอกสารอ้างอิง (Normative reference)
  3. ศัพท์และคำนิยาม (Terms and definitions)
  4. ระบบการจัดการความปลอดภัยในอาหาร (Food safety management system)
  5. ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management responsibility)
  6. การจัดสรรทรัพยากร (Resource management)
  7. การวางแผนและการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย (Planning and realization of safe products)
  8. การรับรอง การทวนสอบ และการปรับปรุงระบบความปลอดภัยอาหาร (Validation, verification and improvement of FSMS)

download PDF

Related Articles

คาร์บอนมอนอกไซด์ในผลิตภัณฑ์ทูน่า

รายงานจากสํานักข่าวต่างประเทศในเดือนกันยายนที่ ผ่านมา พบการใช้คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide: CO) ในผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าทั้งชนิดแช่เย็นและ...

Codex เตรียมประกาศมาตรฐานใหม่ GHPs & HACCP rev.5 (2020)

Codex Alimentarius ได้ออกประกาศร่าง GHPs & HACCP rev.5-2020 ซึ่งมีชื่อเต็มว่า“GENERAL PRINCIPLEs OF FOOD HYGIENE : GOOD HYGIENE PRACTICES (G...

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101