ตลาดน้ำอัดลมในประเทศไทยมีมูลค่า 73,588 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 4.0 ตลาดน้ำอัดลมเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการเติบโตต่อเนื่อง แม้ว่าจะเผชิญความท้าทายจากแนวโน้มการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น น้ำอัดลมยังคงมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นในงานสังสรรค์ ประชุม และกิจกรรมต่างๆ เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมการบริโภคน้ำอัดลมในประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อน เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่สามารถคลายร้อนได้ ลดการกระหายน้ำ ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น อย่างไรก็ตาม ความตระหนักรู้เรื่องสุขภาพที่เพิ่มขึ้นและนโยบายจากภาครัฐ เช่น การเก็บภาษีน้ำตาล ได้ส่งผลให้ผู้บริโภคบางส่วนหันไปสู่ทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น น้ำอัดลมสูตรน้ำตาลต่ำหรือน้ำอัดลมที่ปราศจากน้ำตาล ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับกลยุทธ์ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และการตลาด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค
ตลาดชาในประเทศไทย ปี 2566 มีมูลค่าตลาด 2,174 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 6.8 ตลาดชามีความเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาให้ความสนใจในสุขภาพมากขึ้นทำให้ชาหลายประเภท เช่น ชาเขียว ชาสมุนไพร และชาออร์แกนิก ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น รวมถึงการขยายตัวของตลาดชาในรูปแบบเครื่องดื่มพร้อมดื่ม (RTD: Ready-to-Drink) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยผลักดันตลาดชาให้เติบโตขึ้นเนื่องจากความสะดวกสบาย ในการบริโภคที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตยุคใหม่ ในปีที่ผ่านมาตลาดชาในประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายย่อยที่เน้นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งในด้านรสชาติ บรรจุภัณฑ์ และวิธีการชง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย นอกจากนี้ การเติบโตของกลุ่มผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจสุขภาพส่งผลให้ชาประเภทสมุนไพรและชาเขียวได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามลำดับ
ตลาดอาหารเส้น พาสต้า และข้าวในประเทศไทย มีมูลค่าตลาด 76 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 10 % จากปีเก่า โดยมีเส้นที่ทำจากข้าวเป็นสินค้าหลักโดยมีมูลค่าตลาด 54 พันล้านบาท ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตต่อสินค้าในกลุ่มดังกล่าวมาจากการบริโภคภาคครัวเรือนธุรกิจร้านอาหารรวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวซึ่งสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นอาหารพื้นฐานในการบริโภค การแข่งขันภายในตลาดจึงค่อนข้างสูงส่งผลทำให้ผู้ผลิตไม่นิยมใช้กลยุทธ์ด้านราคาในการแข่งขัน
ตลาดอาหารเด็ก ปี 2566 มีมูลค่า 29,740 ล้านบาท เติบโต 4.4% โดยมี APTAMIL , ENFALAC , S-26 และ CARNATION เป็นเจ้าตลาด
ตลาดไอศกรีม ปี 2566 มีมูลค่า 14,265 ล้านบาท เติบโต 11% โดยมี ครีโม , คอร์นเนตโต , แพดเดิลป๊อป , เนสท์เล่ และ แม็กโนเลีย เป็นเจ้าตลาด
ส่วนแบ่งตลาดน้ำมันบริโภค มูลค่าตลาด ปี 2566 46,776 ล้านบาท เติบโต 8.1%
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในเกาหลีใต้ คนเกาหลีเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปว่า “รามยอน” ปัจจุบันตลาดรามยอนในเกาหลีใต้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภคในทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป เดิมทีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีภาพลักษณ์ของเมนูประหยัด ถือเป็นอาหารที่สะดวกและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบของคนในโลกยุคใหม่ แต่ปัจจุบันภาพลักษณ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโดยเฉพาะของประเทศเกาหลีใต้เปลี่ยนแปลงไปมาก กลายเป็นสินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ของประเทศ และกลายเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้เข้าประเทศมหาศาลในแต่ละปี ในปี 2566 ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในเกาหลีใต้มีมูลค่า 3,113 พันล้านวอน (80,900 ล้านบาท) มีอัตราเติบโตร้อยละ 9.1 ผู้ผลิตใช้กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะรสชาติที่เน้นเผ็ดจัดและรสชาติใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ที่มองว่าการบริโภคอาหารเผ็ดจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของความบันเทิง
ซอสและเครื่องปรุงรสในสหรัฐอเมริกาในปี 2566 มีมูลค่าตลาด 31.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 จากปีก่อน วิถีชีวิตของคนอเมริกันส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) ซึ่งมักใช้ซอสบนโต๊ะอาหาร (Table Sauces) เพื่อเพิ่มรสชาติ กอปรกับพฤติกรรมการบริโภคของชาวอเมริกันที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงการระบาดโควิด-19 มีการทำอาหารที่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการซอสและเครื่องปรุงรสอาหารเพิ่มตามไปด้วย กลยุทธ์หลักในการขยายตลาดของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรสชาติหลากหลายและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เปิดรับวัฒนธรรมอาหารต่างชาติมากขึ้น
ตลาดเครื่องดื่มน้ำผลไม้ในประเทศอินเดียส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่มีน้ำผลไม้ไม่เกิน 24% เป็นหลัก เนื่องจากสามารถทำตลาดให้เข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้ด้วยราคาไม่แพง อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อปริมาณการขายน้ำผลไม้โดยรวม ในปี 2566 ตลาดเครื่องดื่มน้ำผลไม้ในประเทศอินเดีย มีมูลค่า 284.8 พันล้านรูปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 จากปีก่อน จำแนกเป็นเครื่องดื่มน้ำผลไม้ (up to 24% Juice) สัดส่วน 61.6% เนคตาร์ (Nectars: 25-99% Juice) สัดส่วน 32.3% น้ำผลไม้ 100% สัดส่วน 5.9% และน้ำมะพร้าว สัดส่วน 0.3% โดยตลาดน้ำผลไม้ 100% เติบโตเร็วที่สุดในอินเดีย โดยมี Coca-Cola India Pvt Ltd เป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งตลาดที่ร้อยละ 23.9
การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 1/2566 มีมูลค่า 431 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 2.4 จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นตามความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว หลังจากที่หลายประเทศมีการเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศได้อย่างเต็มรูปแบบ ประกอบกับความต้องการบริโภคสินค้าอาหารเพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาล และอานิสงส์จากราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต อาทิ ต้นทุนการผลิต ราคาพลังงาน ราคาอาหารสัตว์ และค่าขนส่ง
การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 4/2565 ประมาณการว่ามีมูลค่า 433 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 8.3 จากร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อน จากความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง หลังจากหลายประเทศเร่งกระตุ้นให้ประชาชนออกมาเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ พร้อมทั้งผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในประเทศของตน ประกอบกับความต้องการบริโภคสินค้าอาหารเพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาล และอานิสงส์จากราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้น
ภาพรวมตลาดอาหารโลก การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 3/2565 มีมูลค่า 419 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ชะลอตัวจากร้อยละ 8.8 ในไตรมาสก่อน ราคาสินค้าเกษตรอาหารทั่วโลกอ่อนตัวลงจากช่วงกลางปี หลังอุปทานสินค้าเกษตรอาหารปรับตัวสูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงกดดันตลาด ด้านตลาดในประเทศพบว่า ในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน มียอดค้าปลีกอาหารและบริการธุรกิจเกี่ยวเนื่องยังคงอ่อนแอ
- ปริมาณและมูลค่าตลาดไอศกรีม (Ice Cream) ของมาเลเซีย (ปี 2560 – 2565) มูลค่า ปี 2565 9,001.3 ล้านบาท - คาดการณ์ปริมาณและมูลค่าตลาดไอศกรีม (Ice Cream) ของมาเลเซีย (ปี 2565 – 2570) คาดการณ์มูลค่า ปี 2566 9,241.5 ล้านบาท
- ปริมาณและมูลค่าตลาดนมจากพืช (Plant-Based Milk) ของจีน (ปี 2561 – 2565) มูลค่า ปี 2565 194,835.6 ล้านบาท - คาดการณ์ปริมาณและมูลค่าตลาดนมจากพืช (Plant-Based Milk) ของจีน (ปี 2566 – 2570) คาดการณ์มูลค่า ปี 2566 200,610 ล้านบาท
- ปริมาณและมูลค่าตลาดเนยและสเปรด (Butter and Spreads) ของไต้หวัน (ปี 2561 – 2565) มูลค่า ปี 2565 2,867.2 ล้านบาท* - คาดการณ์ปริมาณและมูลค่าตลาดเนยและสเปรด (Butter and Spreads) ของไต้หวัน (ปี 2566 – 2570) คาดการณ์มูลค่า ปี 2566 2,917.0 ล้านบาท*