ตอบ ก่อนอื่นเราต้องทราบลักษณะของสินค้าก่อนครับว่าเข้าข่ายอาหารในกลุ่มไหน โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ครับ
ตอบ สามารถทำได้หลายวิธีเช่น ลดค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (aw) ในขนมเปี๊ยะ หรือปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้สามารถป้องกันอากาศเข้าไปทำปฏิกิริยากับขนมเปี๊ยะควบคู่กับการใช้สารดูดความชื้น เป็นต้น ดูรายละเอียดงานวิจัยตามเอกสารแนบนะคะ ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการผลิตขนมเปี๊ยะรายหนึ่งสามารถยืดอายุผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะได้นานถึง 30 วัน ด้วยการบรรจุในถุงสูญญากาศนะคะ
ตอบ เอกสารแนบเป็นข้อมูลการผลิตน้ำมันมะพร้าวบีบเย็นคุณภาพสูง โดยการใช้เครื่องมือ screw type press ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ราคาไม่สูงมาก ทั้งยังได้น้ำมันมะพร้าวที่มีคุณภาพดี
และข้อมูลการเสียภาษีของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น พร้อม Link ของ อย.ในการยื่นเอกสารข้อมูลต่างๆในการขึ้นทะเบียนคะ
ตามลิงค์ นี้เลยคะ http://iodinethailand.fda.moph.go.th/food_54/
ตอบ ต้องทำการทดลองจึงจะทราบว่าเป็นไปได้หรือไม่ แต่มีข้อสังเกตว่าการสเตอริไรส์อาจสามารถเก็บรักษากุ้งอบวุ้นเส้นที่ปรุงเสร็จแล้วได้โดย ไม่เสื่อมเสีย แต่คุณลักษณะอาจไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เพราะถูกความร้อนสูงจนวุ้นเส้นเละเสียสภาพหลังผลิตเสร็จก็เป็นได้นะคะ ดังนั้น จึงต้องดูข้อจำกัดของอาหารแต่ละชนิดประกอบด้วย
ตอบ ต้องทำการทดลองหาก่อน แล้วจึงนำมากำหนดเป็นวันหมดอายุที่ถูกต้องได้ โดยถ้าเป็นอาหารที่มีอายุสั้นสามารถหาอายุการเก็บรักษาได้ด้วยการผลิตอาหาร ออกมาจำนวนหนึ่ง (ประมาณการณ์ตามวันที่คาดว่าจะเสื่อมเสียเช่น คาดว่าจะเสื่อมเสียภายใน 7 วันก็ผลิตออกมา 7-10 ชิ้น) แล้วนำทั้งหมด,kเก็บไว้ในสภาวะจำหน่ายจริง จากนั้นเปิดดูการเสื่อมเสีย (ดู ชิม ดมกลิ่น และตรวจวิเคราะห์) ไปทีละชิ้นๆ ทุกวันจนกว่าจะไม่สามารถยอมรับได้วันนั้นจะเป็นวันหมดอายุของอาหารชนิดนั้น แต่ถ้าเป็นอาหารที่มีอายุยาวจะต้องทำการทดลองโดยใช้สภาวะเร่ง ซึ่งต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ตอบ การอัดก๊าซไนโตรเจนสามารถช่วยรักษาความกรอบของขนมทอดกรอบได้นาน เนื่องจาก ก๊าซไนโตรเจนไปแทนที่ออกซิเจนในถุงขนมทำให้ขนมทอดกรอบไม่เหม็นหืนและคงความ กรอบ
แต่จะสามารถรักษาความกรอบได้นานแค่ไหนนั้นต้องทำการทดลองหาอายุการเก็บรักษา ของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารแต่ละชนิดจะมีอายุการเก็บรักษาที่ไม่เท่ากัน เพราะมีหลายปัจจัยที่แตกต่างกันหลายอย่างเช่น วัตถุดิบ กระบวนการผลิต บรรจุภัณฑ์ และการเก็บรักษา
ตอบ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการล้างวัตถุดิบโดยไม่ใช้คลอรีน เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นของคลอรีนตกค้างในวัตถุดิบ ที่นิยมใช้คือ "โอโซน" (ozone หรือ O3) ซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซที่ไม่เสถียรหรือไม่คงตัว สามารถใช้เป็นสารฆ่าเชื้อ (sanitizer) เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคได้ โดยใช้เติมลงในน้ำที่ใช้ล้างวัตถุดิบค่ะ ทั้งนี้ ลองศึกษารายละเอียดเรื่องความคุ้มค่าในการเปลี่ยนระบบในภาคผนวก ค ของเอกสารตาม link นี้ http://www.diw.go.th/km/env/pdf/หลักปฏิบัติเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด.pdf
ตอบ การผลิตอาหารประเภททอดในลักษณะของขบเคี้ยวทานเล่น ให้มีอายุการเก็บรักษานานและคงรสชาติความอร่อยนั้น โดยหลักการแล้วมีปัจจัยสำคัญที่ต้องควบคุมอยู่ 2 อย่างคือ
1. ความกรอบ
2. กลิ่นเหม็นหืน
ซึ่งอาจใช้กระบวนการผลิตช่วย ร่วมกับการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ในที่นี้ขอแนะนำดังนี้
1. กระบวนการผลิต เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์คงความกรอบและยืดอายุการเก็บรักษา ควรซับน้ำจากวัตถุดิบที่ผ่านการล้างออกก่อนนำมาชุบแป้งและทอดด้วยน้ำมัน โดยภายหลังการทอด อาจนำมาอบซ้ำเพื่อลดความชื้น (ต้องทดลองหาอุณหภูมิและเวลาในการอบที่เหมาะสมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะปรากฎ ความกรอบ และสีสันตามต้องการ)
2. บรรจุภัณฑ์ เพื่อช่วยป้องกันกลิ่นเหม็นหืนและยืดอายุการเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์ทอดกรอบด้วยน้ำมันมักจะเหม็นหืนเมื่อเก็บไว้ระยะหนึ่ง เนื่องจากน้ำมันที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ทำปฏิกิริยากับอากาศเกิดเป็นกลิ่นเหม็นหืนขึ้น ดังนั้น จึงควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันไม่ให้อากาศเข้ามาสัมผัสกับน้ำมันที่ผิวของผลิตภัณฑ์ได้ เช่น พลาสติกลามิเนต โดยอาจมีการอัดก๊าซไนโตรเจนร่วมด้วยก็ได้ หรืออาจใช้การบรรจุแบบสูญญากาศ เป็นต้น
ตอบ 1. บริษัทไอโซตรอน จ.ระยอง
2. ศูนย์ปรมณูเพื่อสันติ คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
ตอบ เครื่องทดสอบความสุกงอม (DA METER) ที่คุณสนใจนั้น ทางสถาบันอาหารมีข้อมูลเท่าที่แสดงในรายงาน Food Innovation เท่านั้นนะคะ หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมขอความกรุณาติดต่อโดยตรงที่บริษัทผู้ผลิตคือ บริษัท T.R. Turoni จำกัด ประเทศออสเตรเลีย ตาม link นี้นะคะ http://www.trsnc.com/ingl/indexingl.html
ตอบ ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องกลไกที่เกิดขึ้นระหว่างการหมักเนื้อหมูโดยใช้สับปะรดก่อน ดังนี้นะคะ
1. การใช้สับปะรดในการหมักเนื้อหมู (โปรตีน) ให้นุ่มได้นั้น เกิดจากการที่เอนไซม์โบรมีเลน (เอนไซม์โปรตีเอสชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติสามารถย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็กลงได้) ซึ่งมีอยู่ในสับปะรดทำปฏิกิริยาย่อยเนื้อหมู (โปรตีน) ให้มีขนาดเล็กลงจนพันธะต่างๆ ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในเนื้อหมูขาดออกจากกัน ส่งผลให้เนื้อหมูมีลักษณะนุ่ม
2. เอนไซม์โบรมีเลนที่มีอยู่ในสับปะรดนี้ เป็นเอนไซม์ธรรมชาติที่ยังมีชีวิต สามารถทำปฏิกิริยาย่อยเนื้อหมูไปได้เรื่อยๆ ตราบใดที่เรายังไม่หยุดปฏิกิริยา อีกทั้งยังมีปริมาณมากน้อยต่างๆ ตามความแตกต่างกันของสับปะรดและวิธีการหมัก
ดังนั้น การจะใช้สับปะรดในการหมักเนื้อหมูให้ได้มาตรฐานเหมือนกันทุกครั้ง คุณนิรันดร์ ต้องกำหนดปัจจัยเกี่ยวข้องต่างได้แก่
1. ปริมาณและสภาพ (สด แช่เย็น) ของเนื้อหมูที่ใช้ในการหมักแต่ละครั้ง การหันเนื้อหมูตามยาวและตามขวางก็ต้องเหมือนกันนะคะ โดยหากมีการหันตามขวางจะทำให้เนื้อนุ่มได้เร็วกว่า
2. ชนิด ความอ่อนแก่ ปริมาณ (น้ำและเนื้อ) และสภาพของสับปะรดที่ใช้ในการหมัก
3. ระยะเวลาในการหมักที่เหมาะสม ซึ่งหากพอเหมาะแล้วควรหยุดปฏิกิริยา โดยการล้างออกหรือวิธีอื่นๆ ตามสมควร
ปัจจุบันมีผู้ผลิตผงหมักเนื้อสำเร็จรูปจากสับปะรดมาจำหน่าย เพื่อความสะดวกในการหมักเนื้อและเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน อาจนำมาทดลองใช้และเปรียบเทียบดูความคุ้มค่าทั้งมาตรฐาน ระยะเวลา และราคาด้วยก็ได้นะคะ
ตอบ วิธีการ Validation เครื่องตรวจจับโลหะ หรือ metal detector นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ test piece ขนาดต่างๆ ตามความสามารถของเครื่องที่จะตรวจจับได้ เพื่อวัดว่าเครื่องยังมีความสามารถในการตรวจจับอยู่หรือไม่ โดยอาจอยู่ในช่วง 0.3 inch (7 mm) to 1 inch (25 mm) in length และ 0.08 inch (2 mm) to 0.9 inch (24 mm) long ตามคำแนะนำของ U.S.FDA ก็ได้นะคะ
ตอบ ข้อกำหนด BRC Issue. 5 ไม่สามารถ Download ได้ค่ะ เนื่องจากเป็นเอกสารที่มีลิขสิทธิต้องสั่งซื้อเท่านั้น หรือติดต่อหน่วยงานที่รับให้คำปรึกษาระบบ จะมีเอกสารชุดนี้ค่ะ
ตอบ มาตรฐานน้ำใช้ของอียู (EU) นั้นสามารถดูรายละเอียดได้จาก EU Council Directive 98/83/EC บนเว็บไซต์ของ europa
ที่ http://europa.eu.int/eur-lex/en/consleg/pdf/1998/en_1998L0083_do_001.pdf
ตอบ 1.การวิเคราะห์แบบ MPN/g เป็นการทดสอบแบบใช้ multiple tube method คือ ทำการเลี้ยงเชื้อในอาหารแบบเหลว มีการใช้หลายหลอด แล้วมีขั้นตอนการเลี้ยงเชื้อ 2 ขั้นตอน แล้วทำการ streak เชื้อลงอาหารแบบแข็ง แล้ว confirm ด้วย biochem
เมื่อได้ผลทดสอบแล้วมีตาราง ที่ใช้ในการอ่านผลทดสอบ เรียกว่า ตาราง MPN
2.การวิเคราะห์แบบ cfu/g เป็นการทดสอบแบบ direct plating คือการนับจำนวนเชื้อที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อแบบแข็ง แล้ว confirm ด้วย biochem
ตอบ ซีเควสเตรนท์ เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ที่มีความสำคัญมากในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นสารที่ช่วยให้สี กลิ่น รส และลักษณะเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์อาหารคงตัวและได้มาตรฐาน โดยซีเควสเตรนท์จะไปทำปฏิกิริยากับโลหะที่มีอยู่ในอาหารหรือที่ปนเปื้อนมาในวัตถุดิบ ทำให้เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้คุณสมบัติและปฏิกิริยาของโลหะในอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไป
ซีเควสเตรนท์ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายชนิด เป็นซีเควสเตรนท์ที่พบว่ามีอยู่แล้วตามธรรมชาติในอาหาร ตัวอย่างเช่น
1. กรดโพลีคาร์บอกซีลิก (Polycarboxyliic acids) ได้แก่ กรดออกซาลิก (Oxalic acid) และ กรดซัคซินิก (Succinic acid) เป็นต้น
2. กรดไฮดรอกซิคาร์บอกซีลิก (Hydroxycarboxylic acids) ได้แก่ กรดซิตริก กรดมาลิก และกรดทาร์ทาริก เป็นต้น
3. กรดโพลิฟอสฟอริก (Polyphosphoric acids) ได้แก่ เอทีพี (ATP) เฮกซาเมตาฟอสเฟต และ ไพโรฟอสเฟต เป็นต้น
4. กรดอะมิโน ได้แก่ ไกลซีน (Glycine) และ ซีสตีน (Cystine) เป็นต้น
5. แมคโครโมเลคิว (Macromolecules) ได้แก่ พอร์ไฟริน (Porphyrin) เพบไทด์ (Peptides) และโปรตีน เป็นต้น
ส่วนซีเควสเตรนท์อื่นๆ ที่มีการใช้ในอาหารอีกได้แก่ อีดีทีเอ (EDTA, Ethylene diamine tetraacetate) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของเกลือแคลเซียมหรือโซเดียมก็ได้ หรือแคลเซียมไฟเทต (Calcium phytate) หรือโซเดียมไทโอซัลเฟต (Sodium thiosulfate) เป็นต้น
ตอบ ถ้าบรรจุในกระป๋องอลูมิเนียมซึ่งมีความแข็งแรงของผนังกระป๋องน้อยกว่ากระป๋อง tin plate
ต้องมีการอัดก๊าซเพื่อไล่อากาศและเสริมความแข็งแรงให้กระป๋องด้วยก๊าซไนโตรเจน
ในขั้นตอนการบรรจุก่อนปิดฝาแล้วเข้าสู่กระบวนการฆ่าเชื้อที่ระดับสเตอริไล:ซ์
ซึ่งระหว่างการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิสูงภายในหม้อฆ่าเชื้อจะมีแรงดันอัดที่เกิดจากไอน้ำภายในหม้อฆ่าเชื้อ
และช่วงที่เปลี่ยนอุณหภูมิจากการ cooling จะมีการเปลี่ยนแปลงแรงดันอีกครั้ง
หากผนังกระป๋องไม่แข็งแรงที่จะต้านแรงดันเหล่านี้ได้จะทำให้กระป๋องปริ ฉีก หรือบุบได้
ตอบโดย คุณยุวภา ใจบุญ ผู้จัดการแผนกบริการวิศวกรรมอาหาร สถาบันอาหาร
ตอบ มาตรฐานการพิจารณาผลการทำความสะอาดโดยวิธี Swab Test ตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีดังนี้คือ
1. พบจุลินทรีย์มากกว่า 300 โคโลนี / พ.ท. 51.8 ตารางเซนติเมตร ถือว่า ไม่ผ่าน
2. พบจุลินทรีย์น้อยกว่า 300 โคโลนี / พ.ท. 51.8 ตารางเซนติเมตร ถือว่า ใช้ได้
3. พบจุลินทรีย์น้อยกว่า 100 โคโลนี / พ.ท. 51.8 ตารางเซนติเมตร ถือว่า ดีเยี่ยม
ตอบ มาตรฐานน้ำใช้ของอียู (EU) นั้นสามารถดูรายละเอียดได้จาก EU Council Directive 98/83/EC บนเว็บไซต์ของ europa
ที่ http://europa.eu.int/eur-lex/en/consleg/pdf/1998 /en_1998L0083_do_001.pdf
ตอบ สามารถ download รายชื่อได้จากเว็บไซด์ของสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป
ตอบ ในหนังสือเรื่องกฏ ระเบียบ ของ EU เกี่ยวกับวัสดุและสิ่งของที่ใช้สัมผัสอาหาร หน้า 51 Multi layer food contact materials นั้น มีความหมายเช่นเดียวกับ Multi-material Multi-layer ใน Regulations EU no. 10/2011 page L12/8 ข้อ (5) ถูกต้องคะ
เนื่องจากหนังสือเล่มดังกล่าวจัดทำก่อนการประกาศใช้ระเบียบฉบับใหม่ปี 2011 และยังไม่มีการกำหนดคำนิยามของพลาสติกสัมผัสอาหารไว้
ตอบ ตาม Directive 2000/13/EC การแสดงฉลากของอียู ไม่ต้องระบุชื่อวิทยาศาสตร์
"All species of fish where the fish constitutes an ingredient of another foodstuff and provided that the name and presentation of such foodstuff does not refer to a specific species of fish"
ตอบรายละเอียดของการขึ้นทะเบียนสถานประกอบการและการแจ้งกระบวนการแปรรูปสำหรับอาหารที่ทำให้เป็นกรดและอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ เพื่อขอรับเลขที่ประจำตัวของสถานประกอบผู้ผลิตอาหารกระป๋อง (Food Canning Establishment: FCE Number) และเลขที่ประจำตัวการส่งแบบฟอร์ม (Submission Identifier: SID Number) สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกานั้น สามารถเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมด (คำอธิบายและวิธีเขียน) ได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา
http://www.cfsan.fda.gov/~comm/lacf-toc.html#inspect
ทั้งนี้สถาบันอาหารมีบริการให้คำปรึกษาและติดต่อเพื่อขอขึ้นทะเบียนสถานประกอบการดังกล่าว โดยคุณสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่แผนกวิจัยและพัฒนา สถาบันอาหาร โทรศัพท์ 02-8868088 ต่อ 2300-2305 ติดต่อคุณสุกัญญา และคุณอุไร
ตอบ ข้อกำหนด BRC Issue. 5 ไม่สามารถ Download ได้ค่ะ เนื่องจากเป็นเอกสารที่มีลิขสิทธิต้องสั่งซื้อเท่านั้น หรือติดต่อหน่วยงานที่รับให้คำปรึกษาระบบ จะมีเอกสารชุดนี้ค่ะ
ทางสถาบันอาหารได้ทำการตรวจสอบข้อมูลแล้วคะ ผลที่ได้คือ
ความหมายของตลาดวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น ได้รวมถึงผลิตภัณฑ์ ดังนี้
1.1 vitamins
- Multivitamins
- Single Vitamins ได้แก่ Vitamin A, Vitamin B, Vitamin C, Vitamin D, Vitamin E และ Single Vitamins อื่นๆ
1.2 Dietary Supplements
- Combination Dietary Supplements
- Herbal/Traditional Dietary Supplements
- Combination Herbal/Traditional Dietary Supplements
- Echinacea
- Evening Primrose Oil
- Garlic
- Ginkgo Biloba
- Ginseng
- St John's Wort
- Other Herbal/Traditional Dietary Supplements
- Non-Herbal/Traditional Dietary Supplements
- Co-Enzyme Q10
- Combination Non-Herbal/Traditional Dietary Supplements
- Eye Health Supplements
- Fish Oils/Omega Fatty Acids
- Glucosamine
- Minerals
- Probiotic Supplements
- Protein Supplements
- Other Non-Herbal/Traditional Dietary Supplements
1.3 Paediatric Vitamins and Dietary Supplements
1.4 Tonics and Bottled Nutritive Drinks
1.5 Supplement Nutrition Drinks
ส่วนมูลค่าตลาดนั้น ทางเรานำข้อมูลมาจาก Euromonitor คะ ซึ่งถ้าหากลูกค้าต้องการเอกสารอ้างอิงฉบับเต็ม ลูกค้าสามารถสมัครเป็นสมาชิกของ Food Intelligence Center ของทางสถาบันอาหารได้คะ
ตอบ
ตอบ นิยามอาหารกลุ่ม Health and Wellness ค่ะ
ตอบ ข้อมูลตลาดไวน์และแชมเปญ
Sales of Wine by Category : Total Volume 2007-2013 | |||
Unit :1,000 litres | |||
2012 | 2013* | ||
Champagne | 130.9 | 130.4 | |
Red Wine | 11,005.6 | 12,474.2 | |
Rose' Wine | 40.2 | 42.6 | |
White Wine | 2,526.3 | 2,704.5 | |
* ข้อมูล 2013 เป็นข้อมูลคาดการณ์ค่ะ | |||
ที่มา Euromonitor International, 2013 | |||
Sales of Wine by Category : Total Value 2007-2013 | |||
Unit : Bt million | |||
2012 | 2013* | ||
Champagne | 1,368.5 | 1,381.9 | |
Red Wine | 11,487.5 | 13,011.8 | |
Rose' Wine | 34.8 | 36.9 | |
White Wine | 3,813.3 | 4,088.6 | |
* ข้อมูล 2013 เป็นข้อมูลคาดการณ์ค่ะ | |||
ที่มา Euromonitor International, 2013 |
ตอบ แนะนำให้เข้าไปดูงานวิจัย Benchmarking อุตสาหกรรมซูริมิใน ฐานงานวิจัยของ FIC ตาม link นี้ค่ะ ซึ่งจะมีข้อมูลพื้นฐานอุตสาหกรรมอยู่ค่ะ ส่วนตัวเลขราคาทางเราไม่ได้รวบรวมไว้ อาจจะต้องรบกวนให้ติดต่อขอข้อมูลไปที่สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ค่ะ ส่วนสถิติการส่งออกนำเข้าของไทยสามารถ upadate ได้จากฐานสถิติของ FIC ค่ะ
http://fic.nfi.or.th/index.php/research/nfi-research/823-2011-12-25-12-33-38
ตอบ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารขอให้ข้อมูลตามที่สอบถาม ดังนี้ค่ะ
1. มูลค่าตลาดค้าปลีกปลา/อาหารทะเล กระป๋อง ในประเทศไทยปี 2554 อยู่ที่ 4,818.8 ล้านบาท
2. ส่วนแบ่งทางการตลาดปลา/อาหารทะเล กระป๋องของแต่ละยี่ห้อ (Market Share) ในปี 2553 (ข้อมูลล่าสุด)
อันดับ 1 Hi-Q ร้อยละ 27.6
อันดับ 2 Royal Food ร้อยละ 20.6
3. อัตราการเติบโตของมูลค่าตลาดปลา/อาหารทะเลกระป๋อง ปี 2554 คิดเป็นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ตอบ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ขอให้ข้อมูลเท่าที่ศูนย์ฯ มีข้อมูล ดังนี้ค่ะ
มูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง (Naturally Healthy Soy Product) ปี 2553 อยู่ที่ 11,660.9 ล้านบาท
สำหรับมูลค่าตลาดเต้าหู้ ทางศูนย์ฯ ยังไม่มีการจัดเก็บสถิติในรายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไว้ค่ะ (แต่มีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างไรนั้นหากมีความจำเป็นในข้อมูลดังกล่าว สามารถขอรับบริการจัดทำข้อมูลตามความต้องการของลูกค้า (Make to order) โดยสามารถติดต่อสอบถาม และ/หรือขอรับบริการศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ได้ที่ "คุณดุจเดือน บุญสม" โทร. 02-8868088 ต่อ 3121
ตอบ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ขอให้ข้อมูลตามที่สอบถามมาดังนี้ค่ะ
ตอบ
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารขอให้ข้อมูล "ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่แช่แข็งในประเทศไทย" ดังนี้ค่ะ
1. อัตราการเติบโตของมูลค่าตลาดฯ ปี 2554 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน
2. มูลค่าตลาดเบเกอรี่แช่แข็งในประเทศไทย ปี 2554 อยู่ที่ 410.6 ล้านบาท
ตอบ สินค้าตาม Post market หมายถึง สินค้าที่ออกสู่ตลาดหรือวางจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว คำนี้ใช้ตามสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้แก่
- ระบบ Pre market เป็นระบบก่อนออกสู่ตลาด : ซึ่งหมายถึงสินค้าต้องมีการยื่นขออนุญาตสถานที่ผลิต ขอแสดงฉลาก ฯลฯ ก่อนวางจำหน่ายได้
- ระบบ Post market เป็นระบบตรวจติดตามสินค้าหลังอนุญาตให้วางจำหน่ายแล้ว เช่น การสุ่มตรวจคุณภาพ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
ตอบ
1. ตลาดอาหารเสริม (Vitamins & Dietary supplements) ในประเทศไทย
ปี 2554 มูลค่าตลาดค้าปลีกอยู่ที่ 33 พันล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
2. ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้บริโภค (Health & Wellness food )ในประเทศไทย
ปี 2554 มูลค่าตลาดค้าปลีกอยู่ที่ 1.2 แสนล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ตอบ
1. อาหารแปรรูปแช่เย็น
- มูลค่าตลาดค้าปลีกในประเทศไทย ปี 2554 คือ 1,725 ล้านบาท
- ส่วนแบ่งตลาด 3 อันดับแรก ในปี 2553 ได้แก่ 1) CP ร้อยละ 39.9 2) TGM 24.7 และ 3) Belucky ร้อยละ 16.8 ของมูลค่าค้าปลีกอาหารแปรรูปแช่เย็นในประเทศทั้งหมด
2. อาหารแปรรูปแช่แข็ง
- มูลค่าตลาดค้าปลีกในประเทศไทย ปี 2554 คือ 11,205 ล้านบาท
- ส่วนแบ่งตลาด ปี 2553 ของผู้นำตลาด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) Ezy Go ร้อยละ 13.3 2) S&P ร้อยละ 12.8 และ 3) สุรพล ร้อยละ 11.9 ของมูลค่าค้าปลีกอาหารแปรรูปแช่แข็งในประเทศทั้งหมด
หมายเหตุ : ส่วนแบ่งตลาดฯ ข้อมูลล่าสุดที่มีจะเป็นปี 2553 ค่ะ
ตอบ
ส่วนแบ่งทางการตลาดของน้ำดื่มแต่ละยี่ห้อในปี 2554 (สถาบันอาหารมีข้อมูลล่าสุดถึงปี 2554 เท่านั้นค่ะ)
อันดับ 1 น้ำดื่มสิงห์ ของ บ.บุญรอด ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 18.8 ของมูลค่าค่าปลีกน้ำดื่มบรรจุขวดทั้งหมด
อันดับ 2 น้ำดื่มคริสตัล ของ บ.เสริมสุข ร้อยละ 13.1
อันดับ 3 น้ำดื่มเนสเล่ ของ บ.เนสเล่ (ไทย) ร้อยละ 10.3
อันดับ 4 น้ำดื่มไทยน้ำทิพย์ ของ บ.ไทยเพียว ร้อยละ 9.6
อันดับ 5 น้ำดื่มมิเน่เร่ ของ บ.เนสเล่ ร้อยละ 7
ตอบ ตามกฎหมายประเทศสิงคโปร์ (Food Regulation 2005) สี Ponceau 4R ต้องใช้ตามปริมาณและชนิดอาหารตามที่กำหนดไว้ เนื่องจากไม่ได้อนุญาตสำหรับใช้กับอาหารทุกชนิด
ตอบ การนำเข้า casing หากเป็นไส้ธรรมชาติต้องติดต่อขออนุญาตที่กรมปศุสัตว์ ปัจจุบันไม่อนุญาตให้นำเข้าไส้สดจากประเทศจีนค่ะ
สำหรับไส้เทียมขออนุญาตนำเข้าผ่านระบบของ อย. โดยสามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์
ตอบ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แบ่งอุตสาหกรรมอาหารออกเป็น 12 ประเภท ดังนี้คือ
1. เนื้อและผลิตภัณฑ์
2. ผลิตภัณฑ์ประมง
3. ผักและผลไม้
4. ธัญพืชและผลิตภัณฑ์
5. นมและผลิตภัณฑ์
6. น้ำตาลและขนมหวาน
7. เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส
8. เครื่องดื่ม
9. ชา กาแฟ โกโก้
10. น้ำมันและไขมัน
11. อาหารสัตว์
12. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอื่นๆ
ตอบ GMP (Good Manufacturing Practice) หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุม เพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงใด ๆ ที่จะทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตรายหรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค โดยครอบคลุมปัจจัยทุกด้านที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่โครงสร้างอาคารขั้นพื้นฐาน ระบบการผลิตที่ดี กระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุม บันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างมั่นใจ และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะนำไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ที่สูงกว่าต่อไป เช่น HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) และ ISO 9000 อีกด้วย
ข้อกำหนด GMP ที่จะเป็นเกณฑ์บังคับใช้เป็นการปรับปรุงระบบการควบคุมความปลอดภัยที่ผู้ผลิตอาหารจะต้องปฏิบัติตาม โดยจะต้องดำเนินการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมในโรงงานผลิต การปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักสุขาภิบาล หลักสุขอนามัยและความสะอาดทั้งในการผลิต และบุคลากรในสายงานผลิตด้วย โดยให้ตระหนักถึงความสะอาด ปลอดภัย มีระเบียบวินัยเพื่อสร้างสุขลักษณะที่ดีในการผลิตเป็นสำคัญ วิธีการผลิตอาหารจะต้องมีการกำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต
3. การควบคุมกระบวนการผลิต
4. การสุขาภิบาล
5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
6. บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน
ตอบ HACCP หรือ Hazard Analysis and Critical Control Point คือ ระบบการจัดการคุณภาพด้านความปลอดภัย ซึ่งใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิต ให้ได้อาหารที่ปราศจากอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ อาทิ เศษแก้ว โลหะ เป็นต้น ปัจจุบัน HACCP ถือเป็นมาตรการสากล ที่ใช้สร้างความมั่นใจ ในอุตสาหกรรมอาหารทั้งโดยผู้ผลิตและผู้บริโภค และได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โครงการมาตรฐานอาหาร FAO / WHO (Codex Alimentarius Commission) จึงได้จัดทำข้อกำหนดหลักการของระบบ HACCP และข้อแนะนำในการนำไปใช้ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ได้นำไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร และประเทศไทยได้นำมาประกาศใช้ในประเทศแล้ว
ระบบ HACCP มีหลักการ 7 ข้อที่ต้องปฏิบัติตามที่ระบุในมาตรฐานระหว่างประเทศ และประเทศสมาชิกได้ยึดถือ เป็นแนวทางประยุกต์ใช้ โดยสอดคล้องกันทั่วโลก ดังนี้
1. ดำเนินการวิเคราะห์อันตราย (Conduct a hazard analysis)
2. หาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Determine the Critical Control Points (CCPs))
3. กำหนดค่าวิกฤต (Establish critical Limit (s))
4. กำหนดระบบเพื่อตรวจติดตามการควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Establish a system to monitor control of the CCP)
5. กำหนดวิธีการแก้ไข เมื่อตรวจพบว่าจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง ไม่อยู่ภายใต้การควบคุม (Establish the corrective action to be taken when monitoring indicates that particular CCP is not under control)
6. กำหนดวิธีการทวนสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบ HACCP (Establish procedures for verification to confirm that the HACCP system is working effectively)
7. กำหนดวิธีการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติและบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามหลักการเหล่านี้และการประยุกต์ใช้ (Establish documentation concerning all procedures and records appropriate to these principles and their application)
มาตรฐาน HACCP เป็นมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบ เครื่องปรุง การผลิต การเก็บรักษา การส่งมอบ และการใช้ผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นให้องค์กร มีการกำหนดมาตรการควบคุมดูแลกระบวนการผลิต เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหา ที่มีผลกระทบ ต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ในการพิจารณาระบบ HACCP มีขั้นตอนที่โรงงานจะต้องจัดทำหลักดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1.
ศึกษามาตรฐาน ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารและคำแนะนำในการนำไปใช้ของ Codex ตาม มอก.7000-2540 Annex to CAC/RCP-1 (1969) Rev. 3 (1997) หรือประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือมาตรฐานระบบ HACCP ของประเทศคู่ค้า
ขั้นตอนที่ 2.
ประชุมฝ่ายบริหาร เพื่อขอการสนับสนุนในการจัดทำระบบ HACCP จัดตั้งทีมงานจัดทำระบบ HACCP และควบคุมดูแลให้เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้
ขั้นตอนที่ 3.
เลือกผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาจัดทำระบบ HACCP จัดทำรายละเอียดและวิธีการปฏิบัติตามหลักการระบบ HACCP ตรวจพิสูจน์แผน HACCP ที่จัดทำขึ้นก่อนนำไปปฏิบัติ และลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้กำหนดและตรวจพิสูจน์แล้ว
ขั้นตอนที่ 4.
ทำการทวนสอบระบบ เพื่อตรวจสอบว่าระบบเป็นไปตามแผน และข้อกำหนดตามมาตรฐานโดยได้มีการปฏิบัติ และคงรักษาระบบอย่างเหมาะสม แก้ไขข้อบกพร่องที่มาจากการตรวจติดตามภายใน และปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่ 5.
ติดต่อหน่วยงานที่ให้การรับรอง และยื่นคำขอ
ตอบ IFS (International Food Standard) เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยกลุ่มผู้ค้าปลีกในประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศส ใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจติดตามและควบคุมการผลิตอาหารให้ได้คุณภาพด้านความปลอดภัย โดยตัวมาตรฐานครอบคลุม 5 เรื่อง ได้แก่
1. ระบบบริหารคุณภาพ (Management of the Quality System)
2. ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management Responsibility)
3. การจัดการด้านทรัพยากรบุคคล (Resource Management)
4. กระบวนการที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ (Product Realisation)
5. การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Measurements, Analyses and Improvements)
Feb 7, 2017, 1:49 PM
Feb 1, 2017, 1:40 PM
http://www.foodstandards.gov.au/code/Pages/default.aspx
มาตรฐานสารปนเปื้อนของไทย ใช้ตาม ปสธ. ฉบับ 98 พ.ศ.2529 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มี
1. ประเทศไทย
เกณฑ์ด้านจุลินทรีย์ของไทย มี 2 ฉบับ คือ
1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ปสธ.) ฉบับที่ 364 พ.ศ. 2556 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค สำหรับอาหารที่อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศ และ
2) ประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 2
หากสินค้าไม่มีในกำหนดของ ปสธ. ให้อ้างอิงตามประกาศกรมวิทย์ ทั้งนี้ พริกไทยที่ใช้อยู่เป็นชนิดพร้อมบริโภค จะเข้าข่ายเป็นอาหารสดพร้อมบริโภค อ้างอิงตามกรมวิทย์ฯ
2. ญี่ปุ่นไม่มีเกณฑ์จุลินทรีย์สำหรับพริกไทย
ทั้งนี้ประเทศนำเข้าที่ไม่มีการกำหนดเกณฑ์ด้านจุลินทรีย์โดนยทั่วไปจะใช้เกณฑ์ของกรมวิทย์ฯ ค่ะ
ใช่ค่ะ ระเบียบฉบับนี้จะเพิ่มขอบเขตของ vinegar โดยเพิ่มกรดอะซิติกเจือจางให้รวมอยู่ในกลุ่มอาหารนี้ด้วย แต่คำจำกัดความเดิมของ vinegar ยังคงเดิมค่ะ
ถ้าดูจากเอกสาร ในข้อ 2 paragraph แรก น่าจะหมายถึงเฉพาะชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต (หมายถึงสถานที่ผลิต) ในญี่ปุ่นที่จะต้องมี ID Code ประจำตัว ซึ่งการแสดงที่อยู่จึงต้องมีทั้งชื่อ-ที่อยู่ของผู้ผลิต (ที่เป็นสถานที่ที่ใช้ในการผลิต) กับชื่อ-ที่อยู่ของผู้ที่ทำหน้าที่กระจายสินค้า แต่เลข ID code นี้ไม่ได้รวมถึงสินค้าอาหารนำเข้า ดังนั้น สินค้าอาหารนำเข้ายังสามารถแสดงชื่อ-ที่อยู่ของผู้ผลิต หรือผู้กระจายสินค้า หรือผู้นำเข้า ก็ได้ค่ะ
http://ec.europa.eu/sanco_pesticides/public/index.cfm?event=homepage&language=EN
ตามที่สอบถามเรื่องการทำฉลากสินค้าเพื่อส่งไปไต้หวัน มีรายละเอียดในฐานข้อมูล Law and Regulation -ในเว็บไซต์ FIC ของประเทศไต้หวัน เรื่อง มาตรฐานการปิดฉลากอาหารในภาชนะบรรจุ ค่ะ
เว็บไซต์โคเด็กซ์ http://www.codexalimentarius.org/standards/gsfa/en/
จากการตรวจสอบ ไม่พบรายการสีนี้ในกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ แสดงว่าปัจจุบันยังเป็นชนิดสีที่ไม่อนุญาตให้ใช้กับอาหารในประเทศนะคะ
ข้อกำหนด สำหรับ การ แสดง ฉลาก gluten free ของ ออสเตรเลีย (อ้างอิง ตาม Standard 1.2.7 Nutrition, Health ug sa may kalabutan nga mga pangangkon)
ส่วนฉลากโภชนาการของจีน มีในฐานข้อมูลคะ เรื่อง มาตรฐานการแสดงฉลากโภชนาการของอาหารบรรจุหีบห่อ
ซึ่งกรณีนี้สำหรับการส่งออกสามารถใช้เกณฑของไทยในประกาศกระทรวงสาธารณสุขเป็นมาตรฐานได้ค่ะ
ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารของอียู สามารถดูรายละเอียดการใช้ได้จาก Regulation 1129/2011 ในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศ ซึ่งปริมาณการใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดอาหารค่ะ
สำหรับไนโตรเจน ให้ถือว่าเป็นวัตถุเจือปนอาหาร ข้อกำหนดการใช้ตามประกาศเรื่อวัตถุ เจือปนอาหาร ฉบับ 281 และให้แสดงฉลากว่า ก๊าซที่ช่วยในการเก็บรักษาอาหาร (Packaging gas) (ไนโตรเจน) หรือ ก๊าซที่ช่วยในการเก็บรักษาอาหาร (INS 942)
ขอตอบไล่เป็นข้อๆดังนี้นะคะ
1.ทางเราแนะนำว่าให้ตัดคำเคลมทั้ง2ตัวออกค่ะ ถึงแม้จะพบในปริมาณที่น้อยก็ตาม (ตามกฎหมายระบุ Dried fruits : 2 g/kg)
สามารถสืบค้นข้อมูลของสารตัวอื่นได้ที่ http://fa.kfda.go.kr/foodadditivescode.html เนื่องจากหากตรวจพบจะต้องทำหนังสือชี้แจง ซึ่งทำให้ทางบริษัทเสียเวลาค่ะ
2.ในเรื่องสารก่อภูมิแพ้ หากมีต้องระบุลงบนฉลากค่ะ โดยต้องระบุเป็นภาษาเกาหลีด้วยนะคะ
3.แนะนำว่าให้ระบุปริมาณสารเจือปนค่ะ แต่ถ้าน้อยมากอาจจะไม่ต้องระบุปริมาณค่ะ
สำหรับกฎหมายของสหรัฐฯเรื่องการตรวจสอบซีมกระป๋องได้แก่
TITLE 21--FOOD AND DRUGS
CHAPTER I--FOOD AND DRUG ADMINISTRATION
DEPARTMENT OF HEALTH AND HUMAN SERVICES
SUBCHAPTER B--FOOD FOR HUMAN CONSUMPTION
PART 113 -- THERMALLY PROCESSED LOW-ACID FOODS PACKAGED IN HERMETICALLY SEALED CONTAINERS
Subpart D--Control of Components, Food Product Containers, Closures, and In-Process Materials
สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์นี้คะ http://www.accessdata.fda.gov/scripts/cdrh/cfdocs/cfcfr/CFRSearch.cfm?fr=113.60
มีข้อมูลในฐานข้อมูลคะ หรือสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์นี้ค่ะ
http://www.ava.gov.sg/docs/default-source/tools-and-resources/resources-for-businesses/foodadditivesunderfr_inclnewadditivesunderfdamdtre
ดูรายละเอียดที่เว็บไซต์นี้ค่ะ สำหรับกฎหมายอาหารของสิงคโปร์
http://www.ava.gov.sg/docs/default-source/e-service/2web_foodregulations_1august2013.pdf?sfvrsn=2
ของสดส่งออกจากไทยต้องมี GAP จากฟาร์ม และ GMP และ HACCP โรงบรรจุ สำหรับส่งออกค่ะ
ในด้านมาตรฐานการใช้ SO2 ในผลไม้อบแห้งหากจะอ้างอิงตามการอนุญาตแล้ว ให้ดูตรงหมวด Dried fruits ที่กำหนดไว้ที่ 2 g/kg
โดยรายละเอียดตามไฟล์เอกสารแนบค่ะหรือศึกษาค่ามาตรฐานของ Food Additive อื่นๆได้ที่ http://fa.kfda.go.kr/foodadditivescode.html
ซึ่งจะเป็นเว็บDataที่ท่านผู้ใช้สามารถสืบค้นได้เองค่ะ
เทคนิคการผลิตไม่มีผลต่อการห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น หากควบคุมเรื่อง food safety ได้ตามมาตรฐานและระเบียบที่เกี่ยวข้องค่ะ
ตอบ รายละเอียดด้านกฎหมายอาหารสามารถสอบถามได้ที่อีเมล์นี้หรือติดต่ออีเมล์นักวิจัยโดยตรงเลยค่ะ
ซึ่งปริมาณการใช้จะกำหนดตามกลุ่ม/ชนิดอาหารนะคะ
ตอบ เนื่องจากำหมายในฐานข้อมูลไม่ได้จัดทำเฉพาะด้านสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งรายะเอียดชนิดของสารก่อภูมิแพ้ส่วนใหญ่แต่ละประเทศจะระบุไว้ในกฎหมายฉลากอาหาร แต่เนื่องจากบางประเทศในฐานข้อมูลของ FIC ยังไม่มีการรวบรวมไว้ เช่น รัสเซีย อิสราเอล และบังคลาเทศ ค่ะ
ตอบ สำหรับขั้นตอนในการส่งออกสินค้าอาหารไปประเทศญี่ปุ่น
ตอบ อียูไม่อนุญาตให้ใช้ Hydrogen peroxide กับอาหาร ทั้งการใช้เพื่อเป็น food additive (อ้างอิงตาม Regulation 11292/20114) หรือเป็น antibiotic (อ้างอิงตาม Regulation 37/2010) ดังนั้น จึงไม่มีค่า MRL ของสารนี้ในสินค้าอาหารค่ะ
ตอบ มาตรฐานด้านจุลชีววิทยา Standard 1.6.1 มาตรฐานโลหะหนัก Standard 1.4.1 หรือดูรายละเอียดในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศ: ประเทศออสเตรเลีย
http://fic.nfi.or.th/law/upload/file1/LR5803-2-AU_microbiological-limit-amended_Mar2015-FIC.pdf และ http://fic.nfi.or.th/law/upload/file1/AU_2241.pdf
ตอบ กฎหมายที่ต้องการมีในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศนะคะ สำหรับ EU สามารถใช้ได้ตาม GMP, USA ใช้ได้ไม่เกิน 0.2%, THAI ไม่อนุญาตให้ใช้คะ
ตอบ หลักเกณฑ์การใช้วัตถุเจือปนอาหารของออสเตรเลีย จะพิจารณาตามกลุ่มอาหารซึ่งกะทิจัดเป็นผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ไม่ใช่ น้ำผลไม้ น่าจะอยู่ในอาหารกลุ่ม4.3 ดังนั้นจะใช้ สารทั้งสองชนิดนั้นไม่ได้ ยกเว้นมีเครื่องหมาย* ที่อนุญาตให้ใช้ใน Schedue 2,3,4 ได้
ตอบ กรมปศุสัตว์ยังไม่มีมาตรฐานไข่พาสเจอร์ไรซ์ นะคะ รวมถึงมาตรฐานอื่นๆ เช่น มอก. ด้วยคะ ปัจจุบันไทยมีมาตรฐานฟาร์มไก่ ศูนย์รวบรวมไข่ เท่านั้นค่ะ
ตอบ ขอแนะนำดังนี้นะคะ
ตอบ เนื่องจากพลาสติกมีสารทีใช้เป็นจำนวนมาก โดยทั้่วไปการตรวจวิเคราะห์จะใช้การทดสอบ Migration Test เพื่อตรวจหาสารที่กระจายออกมาว่าอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบหรือไม่ ในหน่วย mg/dm2 (มิลลิกรัมต่อพื้นที่ตารางเซ็นติเมตร) หรือค่า SML ในเอกสารค่ะ
รายละเอียดทางกรมวิทยาศาสตร์บริการ น่าจะให้รายละเอียดได้มากกว่า เพราะเป็นห้องแล๊ปด้านบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะค่ะ
ตอบ ข้อกำหนดการใช้สีในอาหารขอประเทศจีน สามารถดูรายละเอียดในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศ ประเทศจีน เรื่อง มาตรฐานการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (ส่วนที่ 1) ซึ่งในเอกสารจะเรียงตามชื่อวัตถุเจือปนอาหารในภาษาอังกฤษ และปริมาณการใช้แตกต่างกันตามชนิดอาหาร (คล้ายตารางการใช้ใน Table 1 ของ Codex ค่ะ)
ตอบ ในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศ มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทย สำหรับ มาตรฐานแป้งมันสำปะหลัง และ แป้งดัดแปรสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร และมาตรฐานโคเด็กซ์สำหรับแป้งมันสำหปะหลังเพื่อบริโภคค่ะ
ตอบ กรณีที่หมายถึงกฎหมายเกี่ยวกับสินค้าข้าที่ออกประกาสฉบับล่าสุดในเร็วๆ นี้ ไม่พบข้อมูลนะคะหรือหมายถึงกฎหมายเรื่องข้าวฉบับล่าสุดที่ประกาศใช้คือฉบับไหน ต้องขออภัยเนื่องจากทาง สถาบันไม่มีเว็บลิงค์โดยตรงกับหน่วยงานที่ออกกฎหมายอาหารของรัสเซียโดยเฉพาะ แต่จะสืบค้นและแจ้งให้ทราบอีกครั้งนะคะ
ตอบ การตั้งชื่ออาหารไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับส่วนประกอบ หลักเกณฑ์คือให้สอดคล้องกับลักษณะ อาหารมากที่สุด หรือสื่อถึงส่วนผสมที่มีอยู่ ดังนั้นสามารถใช้ชื่อ ได้ทั้ง Mango coconut smoothies หรือ Coconut mango smoothies ค่ะ
ตอบ กลุ่มประเทศตะวันออกกลางมีกฎหมายที่ใช้รวมกันว่า GSO เรื่องฉลาก มี 2 ฉบับ ตามเอกสารแนบคะ ส่วนสัญลักษณ์ที่มีบนฉลากมีเฉพาะเรื่อง Halal เท่านั้นคะ
ตอบ กรณีที่ใช้เป็น processing aids และไม่พบใน finish product โดยมีการตรวจวิเคราะห์แล้ว ไม่ต้องแสดงรายการดังกล่าวบนฉลากคะ
ตอบ ปัจจุบัน มีเฉพาะประเทศสหรัฐฯและแคนาดา ที่มีกฎหมายกำหนดเรื่องการ claim คะ เนื่องจากเป็นสารอาหารที่บังคับต้องแสดงบนฉลากโภชนาการ ส่วนประเทศอื่น คือ อียู และออยเตรเลีย ยังไม่มีกฎหมายกำหนดให้แสดงข้อมูลไขมันชนิดนี้ ดังนั้นจึงไม่มีหลักเกณฑ์ในการกล่าวอ้างแต่หากต้องการอ้างถึงปริมาณ สามารถใช้หลักเกณฑ์ของประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ ได้คะ
ตอบ Nutrition fact/ Nutrition information โดยทั่วไปหมายถึงข้อมูลทางโภชนาการเหมือนกัน แต่ตามกฎหมายของทั้ง อียู และสหรัฐฯ กำหนดรูปแบบให้แสดงข้อความต่างกัน ดังนั้นหากต้องการส่งสินค้าไปทั้ง 2 ประเทศ แนะนำให้เขียนทั้ง 2 อย่างคะ
ตอบ การขอ Health Certification ของสินค้าอาหารแปรรูป ติดต่อที่ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ตอบ 1. Health Certification สินค้าประมง สามารถขอได้ที่กรมประมง โดยปกติผู้ผลิตจะต้องเป็นผู้ขอ หรืออาจมี Cert. นี้อยู่แล้วคะ การส่งออกให้เจ้าของสินค้าแนบใบ Cert. นี้ ประกอบการส่งออก เพื่อยืนยันว่าสินค้าของบริษัทที่ผลิตโดยโรงงานนี้ได้ผ่านการรับรองสุขอนามัยเรียบร้อยแล้วคะ
ตอบ สามารถค้นได้จากเว็บไซต์นี้คะ http://www.agricultura.gov.br/ ในเว็บกฎหมายอยู่ที่เมนู Legislacao คะ
ตอบ หากหมายถึงขออนุญาตกับ อย. ไม่ต้องคะ เนื่องจาก อย. ดูแลเฉพาะอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่รวมภาชนะบรรจุคะ
ตอบ ตามตารางในเอกสาร %Acidity หมายถึง ค่าความเป็นกรด โดยต้องวิเคราะห์ในรูปของ Acetic acid เมื่อกำหนดค่าไว้ ไม่น้อยกว่า (Not less than) 1.0% หมายถึงต้องมีความเป็นกรด มากกว่า 1% ขึ้นไป ในที่นี้หมายถึง อาหารต้องมีการปรับพีเอชด้วยกรด อาจเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาคุณภาพอาหาร หรือ ลดการเจิญของจุลินทรีย์ เป็นต้น
ตอบ สำหรับรายละเอียดเรื่อง BRC โปรดติดต่อ นักวิชาการที่ปรึกษา ฝ่ายที่ปรึกษาอุตสาหกรรม สถาบันอาหาร โทรศัพท์ 0-2886-8088 ต่อ 2101-7
ตอบ โดยทั่วไปน้ำผลไม้จะไม่กำหนดค่า Brix ไว้คะ ยกเว้นเป็นผลไม้ที่ทำในรูปแบบ Concentrate, puree หรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่ juice คะ
ตอบ สำหรับประเทศมัลดีฟอ้างอิงกฎหมายโคเด็กซ์คะ
ตอบ สำหรับเอกสารประกอบการส่งออก แยกเป็น 2 ระบบ คือ
ตอบ ต้องขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยคะ เช่น ต้องการส่งออกไปประเทศใด ส่วนประกอบสำคัญ เป็นต้น
ตอบ วิธีวิเคราะห์วัตถุเจือปนอาหารใช้ตามที่กำหนดไว้ในประกาศสำนักงาน อย. หากไม่พบ ใช้ตามที่ CODEX กำหนดไว้ในเว็บไซต์ของ JECFA โดยสามารถสืบค้นได้ที่เว็บไซต์นี้คะ
http://www.fao.org/food/food-safety-quality/scientific-advice/jecfa/jecfa-additives/en/
ตอบ เนื่องจาก อย. มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับ 365 พ.ศ. 2556 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค แต่ไม่พบว่ามีมาตรฐานสำหรับอาหารแช่แข็ง
ตอบ
http://agriexchange.apeda.gov.in/IR_Standards/Import_Regulation/Panama.pdf
ตอบ
ตามที่ได้สอบถามข้อมูล
1.ค่า pH ของ Cooling water เป็นค่าทางเทคนิคซึ่งข้อกำหนดอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น
- บริษัทที่มา Audit กำหนดเอง
- ใช้ข้อกำหนดของบริษัทแม่ ในที่นี้เนื่องจากเป็น Tesco อาจใช้ข้อกำหนดของ BRC ของสหราชอาณาจักร คะ
ทั้งนี้ การกำหนด pH น้ำใช้ในกระบวนการผลิตไม่พบมาตรฐานที่เป็นกฎหมายทั่วไป แต่มีคำแนะนำในด้าน Hygiene ให้อยู่ระหว่าง 7-8 (ดูเอกสารแนบเรื่อง Industrial Water)
2. อียูมีกฎหมายสำหรับ Drinking water คือ Directive 98/83/EC ตามเอกสารแนบคะ
ตอบ
เนื่องจากข้อมูลที่สอบถามค่อนข้างละเอียดมาก สนใจใช้บริการที่ปรึกษาในการทำฉลากอาหารเพื่อการส่งออก ซึ่งเป็นบริการใหม่ของฝ่ายวิจัยและข้อมูล ดูรายละเอียดได้ที่หน้าเว็บไซต์นี้คะ
http://fic.nfi.or.th/index.php/services/fic-consult
สำหรับข้อกำหนดการแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการของประเทศณญี่ปุ่นหากไม่สามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ FIC ได้แนบไฟล์ที่มาพร้อมกันนี้แล้วคะ
ขนาดตัวอักษร ดู หน้า 8 ของเอกสาร Quality labeling.. น่าจะไม่เกิน 8 point สำหรับบรรจุภัณฑ์ทั่วไป และ ไม่เกิน 5.5 point สำหรับบรรจุภัณฑ์ขนาดน้อยกว่า 150 cm2 (point ไม่ได้หมายถึงมิลลิเมตรนะคะ แต่ 1 point (TeX) = 0.3514598035 mm = 1/72.27 inch)
สำหรับสหภาพยุโรป ยังไม่มีรูปแบบการแสดงฉลากโภชนาการ เพียงแต่กำหนดไว้เป็นกฎหมายว่าจะต้องมีข้อมูลอะไรบ้างใน Regulation 1129/2011 เท่านั้นคะ
ตอบ
ตาม CFR Title 21 Part 74 Sec. 74.706 FD+C Yellow No. 6. ใช้ได้ตาม GMP คะ
(หมายถึงไม่กำหนดปริมาณการใช้ให้ควบคุมตาระบบ GMP ของโรงงาน)
หากใช้กฎหมาย US ด้าน food additive บ่อยๆ มีเว็บที่สามารถค้นหาได้รวดเร็ว โดยใช้คีย์เวิรด์ค้นด้วยชื่อสารเลยคะ
http://www.accessdata.fda.gov/scripts/cdrh/cfdocs/cfcfr/CFRSearch.cfm
ตอบ
นอกจากภายในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารในเว็บไซต์ FIC แล้ว สามารถสืบค้นได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขโดยตรงที่
http://fsis2.moh.gov.my/fosimv2/HOM/frmHOMPage.aspx
กฎระเบียบด้านความปลอดภัยอาหารของมาเลย์เซีย มีแค่ Food Law 1983 กับ Food Regulation 1985 เพียง 2 ฉบับ แต่ภายในจะมีรายละเอียดข้อกำหนดย่อยๆ เช่น labeling, additive, หรือข้อกำหนดอื่นๆ รวมอยู่ในนั้นคะ เว็บไซต์แรกจะมีให้ดาวน์โหลดคะ
ตอบ
สำหรับระเบียบ MRL ของสารกำจัดศัตรูพืชในสินค้าเกษตรและอาหาร ปัจจุบันอียูจัดทำเป็น Database ซึ่งจะสะดวดต่อการสืบค้นมากขึ้น ดูรายละเอียดที่เว็บไซต์นี้คะ
http://ec.europa.eu/sanco_pesticides/public/index.cfm?event=homepage&language=EN
ตอบ
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข Specification ของวัตถุเจือปนอาหาร ให้ใช้ตาม Codex Advisory Specifications for the Identity and Purity of Food Additives สามารถสืบค้นได้ที่เว็บไซต์นี้คะ http://www.fao.org/food/food-safety-quality/scientific-advice/jecfa/jecfa-additives/en/
ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของ JECFA ที่ทำข้อมูลความปลอดภัยวัตถุเจือปนอาหารให้โคเด็กซ์คะของ Lactic acid คือ http://www.fao.org/food/food-safety-quality/scientific-advice/jecfa/jecfa-additives/en/
ตอบ
ตอบ
หากขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิตกับ อย. มีระบบคุณภาพ GMP, HACCP หรืออื่นๆ แล้ว โดยทั่วไปไม่ต้องขอเลข อย. หรือขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม การมีเลข อย. จะทำให้มีการตรวจสอบง่ายขึ้น กรณีสินค้ามีปัญหาส่งกลับ หรือมีข้อสงสัยด้านความปลอดภัยจากต่างประเทศ ทาง อย. จะให้ข้อมูลหรือตรวจสอบให้ได้คะ
ตอบ
ตอบ
ทั้งนี้ การใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารต้อง Declare ตามระบบการแสดงฉลาก กรณีมีการ Claim เรื่องปริมาณวิตามินซีในผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศ
ตอบ
ตอบ
ตอบ
เนื่องจากซีอิ้ว ไม่มีมาตรฐานเฉพาะสำหรับการส่งออกไปฝรั่งเศส แต่สามารถใช้กฎหมายอาหารของอียูอ้างอิง โดยมีข้อกำหนดค่ามาตรฐานที่ต้องตรวจสอบ ต่อไปนี้คะ
ตอบ
ตอบ
ตอบ
ตอบ
ตอบ
ตอบ
ตอบ
ตอบ
ตอบ
ดังนั้น หากต้องการข้อมูลทั้งหมดในส่วนของ Food Labeling ดูเอกสาร ฉบับ 2 หากต้องการอ่านแบบสรุป ดูในเอกสารฉบับ 1 ได้คะ
ตอบ
สำหรับประเทศโตโกซึ่งอยู่ในแอฟริกาปกติจะอ้างอิงตามมาตรฐานโคเด็กซ์คะ ทั้งนี้มีของประเทศแอฟริกาใต้ ในฐานข้อมูล FIC สามารถใช้อ้างอิงได้อีกทางหนึ่งคะ
ตอบ
กรณีทีี่ไม่ต้องระบุ เมื่อวิเคราะห์ในรูปของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ น้อยกว่า 10 ppm และส่งออกไปในประเทศที่กำหนดให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นสารก่อภูมิแพ้
หากใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (Food additive) ต้องระบุใน Ingredient list ไม่ว่าจะเหลืออยู่เท่าไหร่ก็ตาม
เมื่อใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารและมีอยู่ในรายการสารก่อภูมิแพ้ตามกฎหมาย จะต้อง declare ทั้งใน Ingredient list และ Allergen advice ด้วยคะ
ตอบ
ฉลากอาหารที่ไม่ไม่ได้จำหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภค ใช้ Regulation 1169/2011 ว่าด้วยการแสดงข้อมูลอาหารแก่ผู้บริโภค ซึ่่งเป็นระเบียบสำหรับการแสดงฉลากอาหารเช่นเดียวกับสินค้าอาหารทั้่วไปคะ อย่างไรก็ตามภายใต้ระเบียบนี้ต้องมีข้อมูลของสินค้าครบตามมาตรา 9 ของระเบียบคะ
สำหรับกรมมะนาว หรือ acetic acid นั้น ถ้าเป็นชนิดที่เติมลงไปไม่ได้มีอยู่ตามธรรมชาติของอาหาร ถือว่าเป็นวัตถุเจือปนอาหาร ต้องระบุตามรูปแบบการแสดงข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารคะ เช่น Acetic acid (....) ในวงเล็บระบุหน้าที่ของการใช้คะ
ตอบ
สำหรับการจดทะเบียนกับ USFDA เกณฑ์ของน้ำผลไม้ทั่วไปกับแบบแช่เย็น แช่แข็ง ใช้อันเดียวกันคะ รวมทั้งชนิดของผลไม้ด้วยคะ เกณฑ์การพิจารณาอยู่ที่กระบวนการผลิตของเราคะ โดยทั้วไปไม่เกิน 1 สัปดาห์ นะคะ
ตอบ
รายละเอียดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร Sodium citrate ข้อกำหนดของ EU, Japan, และ ออสเตรเลีย มีระบุในฐานข้อมูล Law & Regulation ภายในศูนย์ข้อมูล FIC คะ
- สหรัฐฯ ตาม CFR Title 21 Part 184.1751 สามารถใช้ได้ไม่จำกัดตาม GMP (http://www.accessdata.fda.gov/scripts/cdrh/cfdocs/cfcfr/CFRSearch.cfm?fr=184.1751&SearchTerm=sodium%20citrate)
ทั้งนี้ ทุกประเทศสามารถใช้ Sodium citrate ได้ และใช้ได้ไม่จำกัดปริมาณ (EU, Japan, US, Australia) แต่บางประเทศกำหนดชนิดอาหารที่อนุญาตให้ใช้และห้ามใช้ (South Korea) ด้วยคะ
ตอบ
ตอบคำถามดังนี้นะคะ
1.ถ้าเราส่วนผสมที่เราเติมเป็น Sodium metabisulphite แต่เราวิเคราะห์ที่ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็น Sulphur dioxide ดังนั้นเราจะต้องระบุส่วนผสมในฉลากเป็นชื่อสารตั้งต้นที่ใช้ในที่นี้คือโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์
2.ถ้ามีการเติม Glycerine ในกระบวนการผลิต 3 % เพื่อให้ช่วยลดค่า aw ในผลิตภัณฑ์ จะระบุส่วนผสมบนฉลากในกรณีที่ในผลิตภัณฑ์คงเหลืออยู่ ซึ่งต้องทดสอบวิเคราะห์ในห้องแล๊ป ถ้าไม่พบก็ไม่ต้องระบุบนฉลาก
3.ถ้าเรามีการเติมกรดมะนาวในกระบวนการผลิตเพื่อช่วยปรับ pH ไม่มีผลในด้านรสชาติจะต้องระบุเป็นส่วนผสม พิจารณาเหมือนข้อ 2 คะ ดูว่าหลงเหลืออยู่ในผลิตภัณฑ์หรือไม่คะ
ตอบ
1. จำเป็นจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือไม่ขึ้นอยู่กับจะส่งออกในนามบริษัทของตนเองหรือมีผู้ซื้อมาดำเนินการให้แล้วเราทำหน้าที่ผลิตอย่างเดียว หากต้องการจดทะเบียน ติดต่อที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่าประเทศ กระทรวงพาณิชย์คะ
2. หากต้องการส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์ ต้องรู้กฎหมายอาหารของสิงคโปร์ซึ่งมีในฐานของมูลศูนย์อัจฉริยะฯคะ ทั้งนี้ต้องผ่านการรองรับมาตรฐานคุณภาพทั้ง GMP และ HACCP เนื่องจากเป็นสินค้าประมงมาตรฐานคุณภาพต้องสูงคะ
3. สำหรับลุกค้า อาจต้องหาลูกค้าเองนะคะ รัฐจะสนับสนุนในส่วนของรายชื่อผู้ซื้อในต่างประเทศ สถาบันอาหารมีเว็บไซต์http://thailandfoodmarket.com/?lang=th เป็นตลาดผู้ซื้อและผู้ขาย ลองเข้าไปดูรายละเอียดนะคะ
ตอบ ข้อมูลการใช้ Glycine เป็นวัตถุเจือปนอาหาร
http://laws-lois.justice.gc.ca/PDF/C.R.C.,_c._870.pdf
ตอบ ขอตอบคำถามดังนี้นะคะ
1. มาตรการทางภาษีของประเทศนิวซีแลนด์ มีความตกลงการค้าเสรีทำให้ปัจจุบันภาษีเป็นศูนย์ ส่วนมาตรการทางการค้าดูรายละเอียดจากเว็บไซต์ http://www.foodsafety.govt.nz/industry/importing/
2. มาตรฐานการแสดงฉลาก ดูรายละเอียดในเว็บไซต์
http://www.foodsafety.govt.nz/industry/general/labelling-composition/
3.สัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นการบอกจำนวนเดือนที่ยังสามารถใช้ได้หลังเปิดใช้ครั้งแรก เช่น 6M คือหลังเปิดใช้ได้ภายใน 6 เดือน หรือหมายถึง ช่วงเวลาเป็นเดือนที่ยังเหมาะสมสำหรับการใช้ แต่ไม่ใช่วันหมดอายุนะคะเป็นเพียงคำแนะนำคะ
ตอบ ขอตอบคำถามดังนี้คะ
ตอบ ตามที่สอบถามขอเรียนดังนี้คะ
1. โดยทั่วไปมาตรฐาน/กฎหมาย/ระเบียบ การแสดงฉลากโภชนาการของประเทศต่างๆ มีเพียงประเทศละ 1 ฉบับ แต่อาจมีแยกเป็น Nutrition labeling และ Nutrition claim หรือ Adding nutrition แยกกันได้ แต่จะมีการทบทวนและ update ให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยทั้ง 3 ประเทศ มีกฎหมาย ดังนี้
- Codex: Guideline on Nutrition Labeling 2-1985 revised 2013
- US: Guidance for Industry: A Food Labeling Guide
- GCC: GSO 2233 Requirements of Nutrition labeling
2. สำหรับการ declare เรื่อง GMO นั้น บางประเทศมีรายละเอียดอยู่ในกฎหมายฉลากอาหาร แต่บางประเทศมีกฎหมายเฉพาะ
- Codex: แยกเป็น ด้านพืช จุลินทรีย์ และ สัตว์
Guidelines for the Conduct of Food Safety Assessments of Foods Derived from Recombinant-DNA plants (CAC/GL 45-2003)
Guidelines for the Conduct of Food Safety Assessments of Foods Derived from Recombinant-DNA microorganisms (CAC/GL 46-2003)
Guideline for the Conduct of Food Safety Assessment of Foods derived from Recombinant-DNA Animals (CAC/GL 68-2008)
- US: DRAFT Guidance for Industry: Voluntary Labeling Indicating Whether Foods Have or Have Not Been Developed Using Bioengineering
GCC: GSO 2142-2011: GENERAL REQUIREMENTS FOR GENETICALLY MODIFIED PROCESSED FOOD AND FEED (Draft Standard)
ตอบ อาหารก่อภูมิแพ้ของประเทศจีน มี 8 รายการ ได้แก่ Grain (wheat bran cereals containing gluten), shellfish (crustacean), fish, eggs, peanuts, soybeans, milk and tree nuts นะคะ
ตาม GB 718-2011 National Food Safety Standard General Standard for the Labeling of Prepackaged Foods
ตอบ สำหรับกฎหมายแอฟริกาใต้ โดยทั่วไปใช้ได้คะ แต่มีบางฉบับที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมบ้างแล้วแต่ก็อ้างอิงฉบับเดิมอยู่ ยังไม่ยกเลิก เช่น Micro หากท่านสมาชิกใช้กฎหมายเกี่ยวกับสินค้าใดเป็นการเฉพาะสมารถแจ้งให้เราตรวจสอบเพิ่มเติมได้นะคะ
ตอบ มาตรฐานสินค้าข้าวของสหภาพยุโรป และ สหรัฐฯ ตามในระบบ fic.nfi.or.th
ตอบ เนื่องจากกัมพูชาไม่มีการกำหนดมาตรฐานน้ำปาล์มไว้คะ
ตอบ ข้อมูลในการส่งออกไปสหรัฐฯ
ตอบ อียูกำหนดชนิดอาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ ซึ่งต้อง declaration บนฉลาก ตามระเบียบ Regulation 1169/2011 เรื่อง Food information to consumer ปัจจุบันมี 14 รายการ ดูรายละเอียดใน Annex II ของระเบียบนี้ได้เลยคะ
(มีให้ดาวโหลดในฐานข้อมูลศูนย์อัจฉริยะฯ)
ตอบ ตาม Food Additive Standards for Use, according to Use Categories, 2013
ตอบ
ใบรายงานผล: บริการตรวจสอบรายการทดสอบสินค้าอาหาร
อ้างถึง
วันที่ 8 กรกฎาคม 2557
บริษัท นิตยาไทยเคอรี่ โปรดักส์ จำกัด
สอบถามรายการตรวจวิเคระห์: ตามมาตรฐานของ EU: สหภาพยุโรป
ชนิดสินค้า: น้ำพริกแกงเผ็ด /น้ำพริกแกงเขียวหวาน
ส่วนประกอบ: พริกขี้หนูสด, พริกชีฟ้าแห้ง, ข่า, ตะไคร้, ผิวมะกรูด, กระเทียม,กะปิ
สรุปรายการทดสอบ
Food categories: 12.2.2 Seasonings and condiments
1.วัตถุเจือปนอาหาร (Food additives): อ้างอิง Regulation 1129/2011
Food additive lists |
Maximum level (mg/kg) |
Note |
|
500 |
ใช้ชนิดเดียวหรือรวมกันแต่ต้องไม่เกินที่ระบุ |
E 160d Lycopene |
50 |
- |
E 200-213 Sorbic acid - sorbates; Benzoic acid -benzoates |
1,000 |
- |
E 310-321 Gallates, TBHQ, BHA and BHT |
200 |
- |
2.สารปนเปื้อน (Contaminants): อ้างอิง Regulation 1881/2006
Ochratoxin A ไม่เกิน 15 mg/kg (ขิง, ข่า, ขมิ้น)
Cadmium ไม่เกิน 0.10 mg/kg (wet weight)
3.สารตกค้างทางการเกษตร (Pesticides): อ้างอิง Regulation 369/2005
http://ec.europa.eu/sanco_pesticides/public/?event=commodity.selection
4.จุลินทรีย์ปนเปื้อน (Microbiological criteria): อ้างอิง Regulation 2073/2005
เนื่องจากไม่มีเกณฑ์จุลินทรีย์สำหรับสินค้าอาหารกลุ่มนี้ ให้ใช้มาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขแทน
5.อื่นๆ เช่น ฉลากอาหาร และ Nutrition Information: อ้างอิง Regulation 1169/2011
ตอบ ปัจจุบันยังให้จดทะเบียนเฉพาะอาหารที่ผลิตในประเทศจีนคะ โดยหน่วยงาน AQSIQ เป็นผู้กำกับดูแลคะ
ตอบ เนื่องจาก BRC เป็นข้อกำหนดที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับเอกสาร และไม่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากเป็นลิขสิทธิ์นะคะ
ตอบ สำหรับข้อมูล
ตอบ สำหรับมาตรฐานนมผงของสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ GB 19644-2010 รายละเอียดดูได้ในระบบ fic.nfi.or.th
ตอบ ตามกฎหมาย Food Standard of Australia สารที่กำหนดให้เป็น allergen ประกอบด้วย peanuts,tree nuts, milk, eggs, sesame seeds, fish and shellfish, gluten, sulphite, soy and wheat
ตอบ
1.ปัจจุบันยังไม่มีประเทศใดกำหนดค่า MRL ออกมาอย่างเป็นทางการ มีเพียงการกำหนดออกมาเป็นข้อแนะนำและวิธีการลดปริมาณของสารอะคริลาไมด์เท่านั้นค่ะ
2.สำหรับประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี ยังไม่มีข้อมูลเผยแพร่ออกมาค่ะ
3.สหภาพยุโรป(EU)
สหภาพยุโรปได้ออกเป็นคำแนะนำในการติดตาม (Monitoring) คำแนะนำนี้ได้ผ่านการพิจารณาและประเมินความเสี่ยงโดยสำนักความปลอดภัยอาหารแห่งยุโรป(EFSA) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งระดับการติดตามในคำแนะนำนี้จะมีการปรับแก้ไขครั้งต่อไปในอีก 2 ปี ข้างหน้า โดยจะรายงานผลการติดตามระดับสารนี้ประมาณวันที่ 31 ตุลาคม 2557 ถึง 30 เมษายน 2558
- RECOMMENDATION on investigations into the levels of acrylamide in food (2013/647/EU) สามารถดูรายละเอียดได้จาก
http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2013:301:0015:0017:EN:PDF
- COMMISSION RECOMMENDATION of 2 June 2010 on the monitoring of acrylamide levels in food สามารถดูรายละเอียดได้จาก
http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2010:137:0004:0010:EN:PDF
4.อเมริกา
http://www.fda.gov/food/foodborneillnesscontaminants/chemicalcontaminants/ucm2006782.htm
5.แคนาดา
http://www.hc-sc.gc.ca/fn-an/securit/chem-chim/food-aliment/acrylamide/index-eng.php
ตอบ จากการสืบค้นข้อมูลพบมาตรฐานน้ำผลไม้ตามมาตรฐานมอก. จำนวน 2 ฉบับนะคะได้แก่ น้ำเก็กฮวยเข้มข้น มอก. 789-2531 และน้ำหวานเข้มข้น มอก. 155-2532 ซึ่งทั้ง 2 ฉบับกำหนดปริมาณสารที่ละลายทั้งหมดต้องไม่น้อยกว่า 65 องศาบริกซ์ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ที่เป็นมาตรฐานสารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ที่ต้องดูรายละเอียดจากเล่มเต็ม
ตอบ ยังไม่อนุญาตให้ใช้ โดยจากข้อมูลพบว่ามีการปฏิเสธการนำเข้ากะทิที่มีการเติม polysorbate จากอินเดียในญีปุ่น สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.mhlw.go.jp หน้า imported food inspection homepage
ตอบ ถ้ามีปริมาณซัลไฟด์เหลือไม่เกิน 10 ppm ตามข้อกำหนดเรื่องการแสดงฉลากของสหรัฐอเมริการะบุว่าไม่ต้องแสดง แต่หากจะแสดงต้องอยู่หลังคำว่า Contains Less than 2% the following ingredient……
ตอบ EU สั่งห้ามใช้ methyl bromide ในการรมควันตู้คอนเทนเนอร์ตั้งแต่วันที่ 18 March 2010
โดยมีรายละเอียดข้อกำหนดตาม Decision 2008/753/EC และ Regulation (EC) No 1005/2009
ตอบ ไม่จำเป็นต้องตรวจทั้งหมด เพราะไม่เช่นนั้นจะเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์มากกว่าค่าสินค้า ให้พิจารณาว่าจะต้องตรวจสารเคมีชนิดใดจากความเสี่ยงที่คาดว่าจะมีสารเคมีชนิดนั้นจากการเพาะปลูก (GAP) หรือการปนเปื้อนจากธรรมชาติประกอบกัน
ตอบ กำหนดให้เป็น Allergen ที่ต้องระบุบนฉลากอาหาร (กรณีถ้ามีอยู่ในผลิตภัณฑ์) เช่นเดียวกัน โดยให้เลือกตำแหน่งที่เขียนไว้ได้ 2 แบบคือ
1.ขึ้นต้นด้วย Contains: และตามด้วยชื่อสามัญของ Food Allergen
2.ระบุชื่อสามัญของ Food Allergen ในวงเล็บต่อท้าย ingredient ชนิดนั้นๆ
ตอบ ต้องปฏิบัติตาม Annex III ของ Regulation 1169/2011 ที่ให้ใส่คำว่า with sweetener ต่อท้ายชื่ออาหาร
ตอบ กำหนดให้ระบุบนฉลากอาหาร (กรณีถ้ามีอยู่ในผลิตภัณฑ์) โดยให้เขียนชื่อสามัญของ Food Allergies rare but risk ไว้ในส่วนของ ingredient เลย ซึ่งแตกต่างจาก Food Allergen ที่ให้เลือกตำแหน่งที่เขียนไว้ได้ 2 แบบคือ
1.ขึ้นต้นด้วย Contains: และตามด้วยชื่อสามัญของ Food Allergen
2.ระบุชื่อสามัญของ Food Allergen ในวงเล็บต่อท้าย ingredient ชนิดนั้นๆ
ตอบ ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจหา migration ของพลาสติกชนิด PE ที่สัมผัสกับอาหารตามข้อกำหนดของ U.S.FDA นั้น สามารถดูรายละเอียดได้ตาม link นี้
ตอบ การแสดงข้อมูลปริมาณน้ำหนักเนื้อและน้ำหนักสุทธิของอาหารตามกฎหมายของไทย มีดังนี้
1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 194 เรื่อง ฉลาก กำหนดไว้ดังนี้ "กรณีที่อาหารมีส่วนผสมที่เป็นชิ้นหรือเนื้ออาหารผสมอยู่กับส่วนผสมที่เป็น น้ำหรือของเหลว และแยกกันอย่างชัดเจน ให้แสดงปริมาณน้ำหนักเนื้ออาหาร (drained weight) เว้นแต่อาหารที่ไม่อาจแยกเนื้ออาหารออกจากน้ำหรือของเหลวนั้นได้"
2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 144 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท กำหนดให้แสดงน้ำหนักเนื้อของอาหารแต่ละชนิดว่าต้องมีอย่างน้อยเท่าไรไว้บนฉลาก
ตอบ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ http://www.hc-sc.gc.ca/fn-an/pubs/guide-eng.php
ตอบ เนื่องจาก วันที่เริ่มมีผลบังคับใช้ (Entry into force on..) ตามระเบียบของอียูมักจะกำหนดเป็นวันที่ 20 ของวันที่ลงนามในเอกสารโดยประธานสหภาพยุโรป ซึ่งหมายความว่าเอกสารนี้จะเริ่มมีผลหลังจาก 20 วัน หลังวันที่ลงนาม ซึ่งระบุไว้หลังชื่อเรื่อง (Regulation 583/2012 ..of 2 July 2012) หมายความว่าระเบียบนี้จะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป (ซึ่งเป็นปกติสำหรับกฎหมายราชการของอียู)
แต่รายละเอียดของระเบียบนี้ได้กำหนดวันที่บังคับใช้สาร Polysorbate ตามข้อ (9) ซึ่งเป็นการอ้างอิงมาจาก Regulation 1129/2011 ที่เป็นระเบียบประกาศรายชื่อวัตถุเจือปนอาหารใน Annex II ของ Regulation 1333/2008 ซึ่งการใช้วัตถุเจือปนอาหารดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ใน วันที่ 1 มิถุนายน 2556
ดังนั้น Regulation 583/2012 เป็นการอนุญาตให้ใช้ Polysorbate E432-436 ในกะทิ ได้ ตามข้อกำหนดใน Regulation 1169/2011
จึงหมายถึงจะสามารถใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป โดยดูจากวันที่ผลิต (1 มิถุนายน 56 เป็นวันบังคับใช้ Food additives ตามชนิดและปริมาณที่กำหนดในระเบียบ 1169/2011 สามารถไปดูเพิ่มเติม ในฐานข้อมูลได้คะ)
ตอบ ผลิตภัณฑ์ประเภทโดนัท หากเป็นกฎหมายในประเทศ ยังไม่มีการกำหนดกฎหมายเป็นการเฉพาะ แต่ อย. ถือว่าเป็นอาหารพร้อมบริโภคทันที และต้องมีฉลาก (กลุ่มที่ 2 โปรดดูรายละเอียดในเว็บไซต์ด้านล่าง เรื่องการแบ่งกลุ่มอาหาร ตามพรบ. อาหาร ปี 2522)
ดังนั้น หากผลิตในเชิงการค้าต้องขออนุญาตกับทาง อย. และต้องแสดงฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดจากเว็บไซต์ของ อย. ได้ที่ http://iodinethailand.fda.moph.go.th/food_54/law/announ_moph1-150.php
ซึ่งในเว็บไซต์ จะมีรายละเอียดสำหรับการขออนุญาตกับ อย. เช่น การขออนุญาตสถานที่ผลิต การแสดงฉลาก และประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องฉลาก การใช้วัตถุเจือปนอาหาร เป็นต้น
ตอบ โดยทั่วไป ใช้ว่า Bleaching agent ได้คะ
อย่างไรก็ตาม กฎหมาย EU (UK ใช้กฎหมายเดียวกับ EU เรื่อง Food additives) ใน Regulation 133/2008 ที่เป็นข้อกำหนดการใช้ Food additive ไม่มีชื่อกลุ่มนี้ ดังนั้น สำหรับสาร Sulphurdioxide - sulphite นั้น ให้ใช้ว่า Preservative ดีกว่าคะ
มีรายละเอียดเพิ่มเติมในเว็บไซต์ http://www.food.gov.uk/policy-advice/additivesbranch/enumberlist#anchor_7 ของ Food Standard of UK
หรือในฐานข้องมูล FIC มีระเบียบฉบับนี้คะ
ทั้งนี้ โปรดตรวจสอบปริมาณการใช้ในผลิตภัณฑ์ด้วยนะคะ
ตอบ ภายในฐานข้อมูลกฎหมาย ของเว็บไซต์ศูนย์อัจฉริยะฯ มีกฎหมาย UAE ไว้บริการสืบค้นคะ ตาม Link นี้ http://fic.nfi.or.th/law/