รายงานจากสํานักข่าวต่างประเทศในเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบการใช้ คาร์บอนมอนอกไซด์(Carbon Monoxide: CO) ในผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าทั้งชนิดแช่ เย็นและแช่แข็ง โดยเฉพาะการใช้พ่นลงบนชิ้นทูน่าสดเพื่อรักษาสีแดงของทูน่าให้มี ลักษณะคงความสดอยู่เสมอ ทั้งนี้คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นก๊าซที่มีพิษอย่างรุนแรง ต่อระบบทางเดินหายใจซึ่งการนํามาใช้กับอาหารยังคงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
การนําคาร์บอนนอนอกไซด์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ทูน่าจะใช้วิธีพ่นลงบนผิว ของชิ้นปลา อาจเรียกได้ว่าเป็นกระบวนการรมควันโดยสารไร้กลิ่นรส (Tasteless smoke) นั่นเอง ผลของกระบวนการนี้จะทําให้สีแดงสดของเนื้อปลายังคงอยู่โดยไม่เปลี่ยนไปตามอุณหภูมิหรือระยะเวลาการเก็บรักษา ซึ่งมีผลอย่างมากต่อคุณภาพ ของเนื้อปลาและราคาในการจําหน่ายที่สูงขึ้น โดยเฉพาะสีที่มีลักษณะคล้ายสีแดงของเชอร์รี่หรือ cherry-red fresh ซึ่งเป็นเนื้อปลาที่มีราคาสูงสําหรับการผลิตเป็นซูชิ(Sushi bar) สาเหตุที่มีการนําคาร์บอนมอนอกไซด์มาใช้กับการผลิตทูน่าสดเนื่องจากการเปลี่ยนสีของเนื้อโดย ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นในไมโอโกลบินของเนื้อปลา โดยมีกระบวนการดังนี้
download PDFFood Fraud หรืออาหารปลอม ที่ไม่ได้หมายถึงอาหารที่ทำมาจากพลาสติกแต่อย่างใด อาหารปลอมในที่นี้อาจจะมาในรูปแบบของอาหารที่ปลอมปมไปด้วยส่วนผสมอื่น ๆ นอกเหนื...
ปัจจุบันทั่วโลกกำลังรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาน้ำหนักเกิน โรคอ้วน (Obesity) และโรคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ห...