อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารเป็นหนึ่งของอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศที่จะเติบโตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเติบโตของอุตสาหกรรมย่อมนำมาซึ่งความต้องการด้านพลังงานส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้ว่าประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) หนึ่งเสาหลักของประชาคมอาเซียนได้กำหนดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) เน้น “ส่งเสริม” การรักษาสิ่งแวดล้อม และ “ตอบสนอง” ต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้วก็ตาม หากกลไกของกฎหมายยังไม่เข้มงวดอาจส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของภาคอุตสาหกรรม
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของภาคอุตสาหกรรม ภายใต้การเปิดเสรีการค้าตามกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) กล่าวคือ การลดและยกเลิกภาษี ตลอดจนการขจัดมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี อีกทั้งยังมีการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA) โดยมีการคุ้มครองการลงทุนในภาคการผลิต และเหมืองแร่ รวมทั้งการลงทุนโดยตรง นำไปสู่นโยบายจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2556 เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศบริเวณพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของภาคอุตสาหกรรม
กฎ ระเบียบและข้อบังคับระดับประเทศ
การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจและสังคมของประชาคมอาเซียนนั้น จำเป็นจะต้องรู้ถึงความแตกต่างระหว่างกฎระเบียบของประเทศต่างๆ ในอาเซียน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความได้เปรียบ-เสียเปรียบทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ กับประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรงและโดยอ้อม เพื่อให้รัฐโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประเด็นกฎหมายและมาตรฐานด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์คุ้มครอง และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของแต่ละประเทศมีดังนี้ (นิรมลและคณะ,2556)
จากกฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายและนโยบายที่กำหนดขึ้นยังมีระดับความครอบคลุมและความเข้มงวดที่ต่างกัน และในแง่การเตรียมความพร้อมของกฎหมายสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับกับมลพิษอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หากเป็นกลุ่มประเทศที่เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมมาไม่นาน (กลุ่ม CLMV ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม) ยังอยู่ในระหว่างการออกกฎหมายและกำหนดค่ามาตรฐานต่างๆ ในขณะกลุ่มประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมมาระยะหนึ่ง (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สิงคโปร์) กฎหมายมีค่อนข้างครบถ้วนแต่ยังมีปัญหาด้านการกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมาย (ยกเว้นสิงคโปร์) อย่างไรก็ดี สำหรับประเทศไทยยังมีปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและการทำงานแบบแยกส่วน ยังคงเป็นจุดอ่อนสำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคตที่จะต้องรับมือ
download PDFเกษตรอินทรีย์ (Organic agriculture) หมายถึง ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักการปรับปรุงบำร...
สถานการณ์ด้านความปลอดภัยอาหารยังเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ด้วยอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อบริโภคและการดำเนินชีวิต การเปลี่ยนแปลงที่อาจ...