USDA งานเข้า!!!เหตุเตรียมแบน E. coli
เหตุเตรียมบังคับใช้มาตรการห้ามพบจุลินทรีย์ก่อโรค E. coli 6 สายพันธุ์ ในขณะที่วิธีการตรวจสอบยังคงคลุมเครือ ทางผู้ส่งเนื้อโคเข้าสหรัฐฯ เรียกร้อง ขอความชัดเจนก่อนบังคับใช้
กระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา (USDA) วางแผนที่จะบังคับใช้มาตรการควบคุมคุณภาพเนื้อโคขั้น
เด็ดขาด โดยกำหนดว่าต้องปลอดจุลินทรีย์ก่อโรคสายพันธุ์ E. coli serogroup O26 O103 O45 O111 O121และ O145 (นอกเหนือจาก serogroup O157 ที่เคยระบาดหนักโดยมีผักสดเป็นพาหะนำโรค) ซึ่งเป็นตัวการของอาหารเป็นพิษจากความสามารถในการผลิตสารพิษชนิด Shiga toxin E. coli (STEC) ซึ่งหากพบว่าเนื้อโคมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ดังกล่าว จะสั่งห้ามจำหน่ายในท้องตลาดทันที โดยสำนักงานตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารสหรัฐ (FSIS) จะเริ่มสุ่มตัวอย่างสินค้าเนื้อโคเพื่อทดสอบหาพิษดังกล่าว ในวันที่ 5 มีนาคม 2555มาตรการดังกล่าวถูกต่อต้านอย่างมากโดยผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์ซึ่งขอให้เลื่อนการบังคับใช้ออกไปก่อนจนกว่าจะเข้าใจถึงผลของการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวเสียก่อนสอดคล้องกับความเห็นของอธิการบดีสถาบันเนื้อสัตว์แห่งสหรัฐอเมริกา นาย James Hodges ซึ่งกล่าวว่าด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แล้ว มาตรการดังกล่าวไม่อาจทำให้เนื้อโคมีความปลอดภัยมากขึ้นได้ อีกทั้งร่างนโยบายยังคงไม่สมบูรณ์ โดยขาดข้อมูลสำคัญในหลายจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลด้านสาธารณสุขซึ่งยังไม่เชื่อมโยงกับอันตรายของสารพิษจาก E. coli ใน serogroup ดังกล่าวเช่นเดียวกันกับทางฝั่งของออสเตรเลีย ซึ่งหน่วยงานภาครัฐได้อภิปรายกันถึงวิธีการทดสอบ STEC บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังเรียกร้องให้ FSIS ชะลอการบังคับใช้มาตรการตรวจสอบ STEC ในเนื้อโคออกไปจนกว่าจะสามารถหาข้อสรุปในส่วนของเทคนิคและวิธีการทดสอบ
โดยออสเตรเลียยังคงสงสัยในวิธีการทดสอบสารพิษดังกล่าว เนื่องจากผลการศึกษาของสหรัฐฯ ยังไม่
สามารถสรุปวิธีการทดสอบ STEC สมบูรณ์ ซึ่งไม่ยุติธรรมที่ต้องกักสินค้าเนื้อโคจำนวนมากไม่ให้จำหน่ายจนกว่าจะได้รับผลจากห้องปฏิบัติการ ส่วนนิวซีแลนด์ไม่เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะสามารถแก้ปัญหาโรคระบาดอันมีสาเหตุจากอาหารเป็นพิษได้ รังแต่จะเกิดผลกระทบต่อการค้าเสียมากกว่า
download PDFเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 รัฐบาลเมียนมาร์ได้ประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection Law) ฉบับใหม่เพื่อทดแทนกฎหมายฉบับเดิมปี 2557 โดยเน...
ข้อเสนอในการประชุมพิจารณา มาตรฐานสารปนเปื้อนในอาหาร ของ Codex คณะกรรมการโ...