สวัสดี

สถานการณ์ Food Fraud

น้ำผึ้งและเมเปิ้ลไซรัป ก็เป็นอาหารอีกประเภทที่พบว่ามีผู้ผลิตบางเจ้าได้ผสมน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเมเปิ้ลกับสารให้ความหวานที่ถูกกว่า เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพด น้ำเชื่อมข้าว น้ำเชื่อมหัวบีท หรือน้ำตาลอ้อย เพื่อลดต้นทุนการผลิต หรือแม้แต่อาหารทะเล ก็มีการสลับสับเปลี่ยนโดยนำปลาสายพันธุ์ถูกกว่ามาทดแทนปลาที่ราคาแพงกว่า

          แม้แต่เครื่องเทศ ก็ยังตกเป็นหนึ่งในปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะกับเครื่องเทศที่ราคาสูงอย่างหญ้าฝรั่น ซึ่งพบว่าบางครั้งมีการนำส่วนอื่น ๆ อย่างลำต้น มาผสม หรือการย้อมสีให้เครื่องเทศมีสีสันเฉพาะตัว เช่น พริกป่น ขมิ้น และผงยี่หร่า ซึ่งพบว่ามีสารตะกั่วในสีย้อม ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา

          สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้เผยแพร่เว็บไซต์ที่มีการรายงานเกี่ยวกับ ปัญหา Food Fraud โดยเฉพาะ ซึ่งประกอบไปด้วยรายงานเกี่ยวกับอาหารปลอม ตัวอย่างการปลอมปน วิธีตรวจจับอาหารปลอม รวมไปถึงข้อมูลการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อช่วยเหลือทั้งผู้บริโภค ผู้นำเข้า และผู้ผลิต

download PDF

Related Articles

สถานการณ์ขยะอาหาร (Food Loss&Food Waste) ทั่วโลก

FAO ประเมินว่าในทุกปีจะมีอาหารอย่างน้อย 1.3 พันล้านตัน หรือประมาณ 30% ของอาหารที่ผลิตได้ทั้งหมดทั่วโลกสูญเสียไปโดยไม่ได้บริโภค กลายเป็นขยะอาหาร ขยะอาห...

ความพร้อมของไทยด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และประชาคมอาเซียน (AC) นำไปสู่การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนในภูมิภาคและมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ส่งผลให้การเติบโตท...

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101