สวัสดี

ออสเตรเลียตื่นตัวในการลดปริมาณเกลือที่ใส่ลงในผลิตภัณฑ์อาหาร

ออสเตรเลียตื่นตัวในการลดปริมาณเกลือที่ใส่ลงในผลิตภัณฑ์อาหาร

            ภาครัฐและเอกชนในอุตสาหกรรมอาหารของออสเตรเลีย มีความเห็นตรงกันที่จะลดปริมาณเกลือในผลิตภัณฑ์อาหารเนื่องมาจากเกลื่อก่อให้เกิดความเสี่ยงในกาสรเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดยมีการวางแผนที่จะลดการใส่เกลือในผลิตภัณฑ์อาหารให้น้อยลงร้อยละ25 โดยคาดว่าน่าจะใช้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายในเดือนตุลาคม ปี 2552

            ออสเตรเลียกำลังตื่นตัวในการลดการบริโภคเกลือ ปัจจุบันพบว่าประชากรวัยผู้ใหญ่ในออสเตรเลียบริโภคเกลืออยู่ที่ประมาณ 9กรัมต่อวัน ขณะที่ร่างกายต้องการเพียง 1 กรัมต่อวันเท่านั้นหน่วยงาน The Australian division of World Action on Salt and Health (AWASH) จึงได้ตั้งเป้าที่จะลดปริมาณการบริโภคเกลือให้ลงมาอยู่ที่ 6กรัมต่อวัน การบริโภคเกลือใช่ว่าจะได้จากการเติมเกลือขณะบริโภคเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ปรุงอาหารสำเร็จก็มีการปรุงด้วยเกลือ จึงยากสำหรับผู้บริโภคที่จะทราบปริมาณบริโภคที่แท้จริง ใน 1 วัน หลายหน่วยงานจึงเริ่มจะวางแผนลดปริมาณเกลือในผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่นหน่วยงาน  AWASH ได้ร่างรายงาน Drop the Salt! Food Industry Strategy เพื่อวัตถุประสงค์ในการลดปริมาณเกลือในผลิตภัณฑ์อาหารร้อยละ 25 ภายใน 5 ปี

            ทั้งนี้ปัจจุบันมาตรฐานอาหารประเทศออสเตรเลีย (Australian Food Standard Code) ไม่ได้กำหนดปริมาณเกลือ (โซเดียมคลอไรด์) ที่อนุญาตให้ใส่ในอาหาร

            จากการตื่นตัวของภาคอุตสาหกรรมอาหารและภาครัฐของออสเตรเลีย ผู้ประกอบการไทยโดยเฉเฉพาะผู้ที่ผลิตสินค้าอาหารแปรรูปควรติดตามสถานการณ์และข้อกำหนดที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งปรับปริมาณเกลือที่ใช้ในอาหารเพื่อการส่งอกให้สอดคล้องกับทิศทางการบริโภคของออสเตรเลียเพื่อเป็นการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสแก่สินค้าอาหารของไทยในออสเตรเลีย

download PDF

Related Articles

จีนประกาศใช้มาตรการ Safeguard น้ำตาลนำเข้า

จีนประกาศใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard) กับผลิตภัณฑ์น้ำตาล (น้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลเพื่อการค้าขาย) เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ ...

FSA เดินวิจัย หลังผู้บริโภคกลัวอาหารนาโนจะเหมือน GMO

FSA เดินวิจัย หลังผู้บริโภคกลัวอาหารนาโนจะเหมือน GMO                 แน...

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101