• เชื้อก่อโรคในน้ำปลาร้า ภาค 2

    ปลาร้า อาหารหมักพื้นเมืองประจำถิ่นอีสาน เรียกได้ว่าทุกบ้านจะต้องมีติดไว้ ชาวอีสานจะเริ่มทำปลาร้าตอนฤดูน้ำหลากจากปลาที่หาได้ตามหนอง บึง นำมาหมักกับเกลือ ใส่ข้าวคั่ว บางที่อาจจะใส่รำ เพื่อเพิ่มความหอม การหมักปลาร้าตามภูมิปัญญาไทยจะหมักกันถึง 3-8 เดือน ทำให้สามารถเก็บไว้กินได้ตลอดทั้งปี และนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด

  • คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ ในเต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นอาหารที่เกิดจากการแปรรูปถั่วเหลืองให้เก็บได้นาน คุณค่าทางอาหารไม่เปลี่ยนแปลง และสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด กรรมวิธีการหมักเต้าเจี้ยวมี 2 ลักษณะ คือวิธีการกึ่งวิทยาศาสตร์ อาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการเพาะเลี้ยงเชื้อราที่บริสุทธิ์ เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อราอื่นๆ และลดระยะเวลาในการผลิต

  • ซาลโมเนลลา ในมะม่วงดอง

    ช่วงที่ผลผลิตมะม่วงออกมาจำนวนมากจนทานกันแทบไม่ทันนั้น ชาวบ้านมักนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงดิบ นำไปทำเป็นมะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม ส่วนมะม่วงสุกทำได้ทั้งมะม่วงกวนและมะม่วงหยี่ มะม่วงดอง เป็นสินค้าที่หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป ส่วนใหญ่ทำจากมะม่วงแก้ว เนื่องจากมะม่วงแก้วดิบนั้นมีเนื้อแข็งและแน่น จึงเหมาะนำมาทำเป็นมะม่วงดองที่ให้ความกรุบกรอบ

  • ถั่วฝักยาวกับยาฆ่าแมลง

    ถั่วฝักยาว ฝักกลมเรียบยาว อวบอิ่ม สีเขียวสดนิยมทานสดเป็นผักเครื่องเคียงคู่กับอาหารคาวรสจัด จำพวก พล่า ลาบ ยำ ส้มตำ น้ำตก และขนมจีน เพราะทานแล้วช่วยลดความจัดจ้านของอาหารลงได้  ถั่วฝักยาว ยังสามารถนำมาประกอบและปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู อาทิ แกงส้ม แกงคั่ว แกงป่า แกงเผ็ด หรือนำมาผัดใส่เนื้อสัตว์ ผัดพริก หรือใช้เป็นเครื่องจิ้มทานกับน้ำพริกและหลนชนิดต่างๆ  

  • สารบอแรกซ์ในปลาหมึกกรอบ

    ก๋วยเตี๋ยว เป็นอาหารหลักของคนไทยรองจากข้าว เกิดขึ้นสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่สามารถปรุงรสชาติความอร่อยได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นก๋วยเตี๋ยวไก่ เนื้อ หมู รวมถึงผักชนิดต่างๆ จนกระทั่งปัจจุบันมีการผสมเลือดเข้าไปในน้ำซุปก็จะเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก แต่ถ้าเป็นก๋วยเตี๋ยวที่มีการนำเต้าหู้ยี้ที่มีสีแดงมาผสม จะตั้งชื่อของก๋วยเตี๋ยวใส่เต้าหู้ยี้ว่า เย็นตาโฟ

  • เชื้อก่อโรคในน้ำปลาร้า

    ปลาร้า เป็นอาหารหลักของคนอีสาน อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอัตลักษณ์ของคนอีสานก็ว่าได้ เนื่องจากปลาร้าเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ในสำรับกับข้าวของคนอีสาน ปลาร้า เกิดจากการถนอมอาหาร โดยนำปลาที่เหลือจากรับประทานทั้งตัวไปหมักด้วยเกลือ และข้าวคั่ว หรือบางท้องถิ่นอาจหมักด้วยรำ ทิ้งไว้ประมาณ 3 เดือน จะได้ปลาร้าที่มีรสชาติกลมกล่อม ถูกปากเป็นอย่างยิ่ง

  • อะฟลาท็อกซินในเครื่องพะโล้

    ผ่านไปแล้วกับเทศกาลสงกรานต์ คงพอจะคลายร้อนกันได้บ้าง หลายคนถือโอกาสช่วงเทศกาลสงกรานต์ กลับบ้านไปเยี่ยมพ่อแม่ พี่น้อง ที่อยู่ต่างจังหวัด ขากลับเข้าเมือง ไม่ลืมที่จะหอบหิ้วอาหารการกินประจำท้องถิ่นกลับมาด้วย หากไม่ทำอย่างนี้ก็จะต้องพึ่งแกงถุง ที่มีขายอยู่ทั่วไป กับข้าวส่วนใหญ่ ก็เป็นกับข้าวที่ยืนพื้น เช่น แกงส้ม แกงเขียวหวาน ผัดเผ็ด และที่ขาดไม่ได้สำหรับร้านข้าวแกง คือ ไข่พะโล้

  • มันอยู่ใน…… เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นอาหารหมักชนิดหนึ่งที่ได้จากการหมักถั่วเหลือง มีโปรตีนสูงและมีรสชาติคล้ายเนื้อสัตว์ ในไทยนิยมนำเต้าเจี้ยวมาประกอบเป็นอาหารชนิดต่างๆ เช่น ทำเป็นเครื่องจิ้ม  หลน หรือนำมาทำเป็นเครื่องปรุงรสในการประกอบอาหารตามตำรับจีน เช่น แป๊ะซะ ผัดราดหน้า และผัดผักชนิดต่าง ๆ นอกจากจะได้อาหารรสชาติดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโปรตีนในอาหารอีกด้วย

  • สารพิษจากเชื้อราในน้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ

    สะเต๊ะ เป็นอาหารพื้นเมืองของคนมุสลิมอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่จะกินเป็นเนื้อและไก่สะเต๊ะ กินคู่กับอาจาดที่มีรสชาติเปรี้ยวๆ หวานๆ แก้อาการเลี่ยนจากความมันของเนื้อสัตว์ ปัจจุบันเนื้อสัตว์ที่ชาวไทยนิยมนำมาทำเป็นสะเต๊ะ คือ เนื้อหมู หมูสเต๊ะ จึงหาทานได้ง่ายมีขายทั่วไป ทำเป็นไม้เล็กๆ กินเป็นคำ ๆ คู่กับอาจาดและน้ำจิ้มถั่วลิสง ที่นำถั่วลิสงมาป่นผสมกับเครื่องเทศให้ได้กลิ่นหอม และรสชาติที่ต้องการ

  • สีผสมอาหารในกุ้งแห้ง

    หน้าร้อนแบบนี้ หลายๆ ครอบครัวคงพากันไปพักผ่อนที่ริมทะเล ทานอาหารทะเล ขากลับคงจะลืมไม่ได้ที่จะซื้อของฝากติดไม้ติดมือกลับมาด้วย เช่น ปลาหมึกตากแห้ง กุ้งแห้ง ปลาแห้ง กุ้งแห้ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกุ้งไปต้มในน้ำเกลือให้สุก แล้วนำไปตากแห้ง กุ้งแห้งที่ได้จะมีสีออกส้มๆ น่าทาน สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด

Page: 22 of 33 page(s)