สวัสดี

Technology & Innovation

โปรตีนจากยีสต์: นวัตกรรมใหม่แทนไข่ในตลาดโปรตีนทางเลือก

มีนาคม 2568

รายละเอียด :

ตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนไข่ทั่วโลกคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 4.1 พันล้าน US$ ภายในปี 2031 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 16.4% ในช่วงปี 2024-2031 โดยตลาดยุโรปมีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ CAGR 16.1% มีเยอรมนีเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 268.4 ล้าน US$ ในปี 2031 สหราชอาณาจักรเติบโตที่ CAGR 15.1% ขณะที่ฝรั่งเศสมีแนวโน้มเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาค ที่ CAGR 16.9% การเติบโตนี้ได้รับแรงหนุนจากความต้องการอาหารทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระแสสุขภาพที่เพิ่มขึ้นในยุโรปและทั่วโลก

โปรตีนจากยีสต์กำลังได้รับความสนใจในยุโรปในฐานะทางเลือกใหม่แทนไข่ จากการสำรวจของบริษัทเทคโนโลยีอาหาร Revyve พบว่า ผู้บริโภคในฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักรเริ่มให้ความสนใจผลิตภัณฑ์ทดแทนไข่ที่ไม่ใช่สัตว์มากขึ้น แม้ว่าไข่ยังคงถูกมองว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญและมีบทบาทในกระบวนการทำอาหาร แต่ความกังวลด้านสุขภาพ เช่น คอเลสเตอรอล และปัจจัยด้านจริยธรรม ทำให้เกิดแนวโน้มลดการบริโภคไข่และหันมามองหาทางเลือกใหม่

ผลิตภัณฑ์ทดแทนไข่จากพืชที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน ได้แก่ ส่วนผสมจากแป้งมันฝรั่ง, อะควาฟาบา (น้ำจากถั่วชิกพี), โปรตีนจากถั่ว, และสารคงตัวจากพืช อย่างไรก็ตาม โปรตีนจากยีสต์กำลังได้รับความสนใจเนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและสามารถเลียนแบบคุณสมบัติของไข่ได้ดี ทั้งในด้านโครงสร้างและการทำงานในการปรุงอาหาร

แม้จะมีข้อได้เปรียบหลายประการ แต่ยังมีความกังวลเรื่องรสชาติและเนื้อสัมผัสของโปรตีนจากยีสต์ที่อาจส่งผลต่อรสชาติอาหารดั้งเดิม ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การทำความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละประเทศจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ทดแทนไข่ที่ใช้โปรตีนจากยีสต์สามารถพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของตลาดได้มากขึ้น

ข้อเสนอแนะ

การพัฒนาโปรตีนทดแทนไข่จากพืช นอกจากใช้โปรตีนจากถั่วเหลือง ถั่วเขียว ลองนำเสนอพืชอื่นๆของไทย เช่น เห็ด ขนุน หรือพืชอื่นๆ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ โดยมุ่งเน้นคุณสมบัติด้านโภชนาการ รสชาติ และการใช้งานที่ใกล้เคียงไข่ สร้างจุดขายด้าน "Clean Label" และ "Sustainability"

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101