พฤษภาคม 2566
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกแนวทางใหม่เกี่ยวกับสารให้ความหวานที่ไม่ใช่น้ำตาล (Non Sugar Sweeteners: NSS) แนะนำไม่ให้ใช้ NSS เพื่อควบคุมน้ำหนักหรือลดความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ (NCDs) คำแนะนำนี้เกิดขึ้นหลังจากผลการทบทวนอย่างเป็นระบบของงานวิจัยที่มีอยู่ ซึ่งบ่งชี้ว่าการใช้ NSS ไม่ได้ให้ประโยชน์ระยะยาวในการลดไขมันในร่างกายในผู้ใหญ่หรือเด็ก โดยผลของการทบทวนยังชี้ให้เห็นว่าอาจเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ NSS ในระยะยาว เช่น ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานประเภท 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด และการเสียชีวิตในผู้ใหญ่
Francesco Branca ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกด้านโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหารกล่าวว่า“การแทนที่น้ำตาลอิสระ (free sugar) ด้วย NSS ไม่ได้ช่วยควบคุมน้ำหนักในระยะยาว ผู้คนจำเป็นต้องพิจารณาวิธีอื่นในการลดปริมาณน้ำตาลอิสระ เช่น การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ผลไม้ หรืออาหารและเครื่องดื่มที่ไม่หวาน NSS ไม่ใช่ปัจจัยที่จำเป็นในการบริโภคอาหาร และไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ผู้คนควรลดการบริโภครสหวานลงตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อพัฒนาสุขภาพของตนเอง"
คำแนะนำนี้ใช้กับทุกคนยกเว้นบุคคลที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว และรวมถึงสารให้ความหวานสังเคราะห์และสารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือดัดแปลงทั้งหมดซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทน้ำตาลที่พบในอาหารและเครื่องดื่มที่ผลิตขึ้น หรือจำหน่ายเพื่อนำมาผสมกับอาหารและเครื่องดื่มโดย ผู้บริโภค สารให้ความหวานที่ไม่ใช่น้ำตาลทั่วไป อาทิเช่น acesulfame K, aspartame, advantame, cyclamates, neotame, saccharin, sucralose, stevia และ stevia derivatives
นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกยังไม่ยอมรับประโยชน์ของสารให้ความหวานในประเด็นที่มีแคลอรี่ต่ำ/ไม่มีเลยในการจัดการโรคเบาหวานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางนี้ เนื่องจากเกรงว่าอาจทำให้ผู้บริโภคที่เป็นโรคเบาหวานเข้าใจผิด พึ่งพาส่วนผสมเหล่านี้ในการจัดการการบริโภคคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลเพื่อรักษาวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี
download PDF ย้อนกลับ