สวัสดี

Technology & Innovation

ตลาด Organic food โปแลนด์ขยายตัว ในช่วงการระบาดของ COVID-19

กรกฎาคม 2563

รายละเอียด :

Rzeczpospolita ได้เปิดเผยผลการวิจัยตลาด Organic food ของโปแลนด์ในช่วง 6 เดือนแรกของ
ปี 2563 จัดทำโดยบริษัท Nielsen ซึ่งระบุว่า ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2563 ตลาด Organic food ของโปแลนด์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28 แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 แต่ ตลาด Organic food ของโปแลนด์กลับขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีอัตราการขยายตัวมากกว่าการขยายตัวตลอดปี 2562 ถึงร้อยละ 19.8

ผลการวิจัยระบุว่า ในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา (มิถุนายน 2562 ถึง มิถุนายน 2563) ผู้บริโภคโปแลนด์มีการใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์ Organic food ประมาณ 700 ล้านสว๊อตตี้ (ประมาณ 7,000 ล้านบาท) โดยสินค้าที่ได้รับความนิยม อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็ก ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมสดที่ผลิตจากพืช และผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ เป็นต้น

เครือข่ายค้าปลีกรูปแบบ Discounter, Supermarket และ Hyper-market ยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคโปแลนด์ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ Organic food โดยผลการวิจัยระบุว่า ในเดือนมกราคม 2563 เครือข่ายค้าปลีกรูปแบบ Discounter, Supermarket และ Hyper-market มีสัดส่วนรวมกันอยู่ที่ร้อยละ 48.1 ของการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Organic food และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2563 อยู่ที่ร้อยละ 56.3 นอกจากนี้ ราคาสินค้าประเภทดังกล่าวยังมีการปรับเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562

ความคิดเห็น

  1. ตลาด Organic food ของโปแลนด์เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกับตลาด Vegetarian และ Vegan ซึ่งเป็นผลมาจากความใส่ใจต่อสุขอนามัยและความตื่นตัวต่อผลกระทบและปัญหาสิ่งแวดล้อมในอนาคต ประกอบกับการระบาดของ COVID-19 ที่กระตุ้นให้ชาวโปแลนด์มีความสนใจในการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ขนาดตลาด Vegetarian และ Vegan ของโปแลนด์ใน
    ปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 800 ล้านสว๊อตตี้ (ประมาณ 8,000 ล้านบาท)
  2. ผู้ประกอบการโปแลนด์ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มการขยายตัวของตลาด Organic food และตลาด Vegetarian และ Vegan ในอนาคต ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดเพิ่มสูงขึ้น โดยปัจจุบันสินค้าประเภท FMCG ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Bio-product มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ของสินค้าประเภท FMCG ทั้งหมด โดยสินค้าที่จำหน่ายส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 41 เป็นสินค้าประเภท Private labels ที่จัดจำหน่าย
    ในเครือข่ายค้าปลีกรูปแบบ Discounter, Supermarket และ Hyper-market เป็นหลัก
  3. ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการขยายตลาดเข้าสู่โปแลนด์ อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงของตลาด
    ทั้งจากผู้ผลิตโปแลนด์และผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ที่วางจำหน่ายสินค้า Private labels อย่างไรก็ตาม การนำเสนอผลิตภัณฑ์ Organic, Vegetarian และ Vegan ที่มีความแตกต่าง รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยบรรจุภัณฑ์ที่แสดงออกถึงความใส่ใจในปัญหาสิ่งแวดล้อม ก็สามารถเป็นทางเลือกใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโปแลนด์รุ่นใหม่ได้เช่นกัน

        

แหล่งที่มา: Polandin, Rzeczpospolita และNielsen

แปลและเรียบเรียง: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างปรเทศ

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101