สวัสดี

Technology & Innovation

อุตสาหกรรมค้าปลีกเวียดนามประสบปัญหาในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

เมษายน 2563

รายละเอียด :

สาระสำคัญของข่าว

การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ธุรกิจหลายแห่งในเวียดนามถูกสั่งให้หยุดดำเนินการชั่วคราวตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการค้าปลีกเป็นอย่างมาก

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม รายงานว่า การแพร่ระบาดของไวรัส ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวแทนจำหน่ายสินค้า ในช่วงสามเดือนแรก ยอดค้าปลีกสินค้าและบริการของเวียดนามมีมูลค่า 1.25 ล้านล้านด่อง (53.19 เหรียญสหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีทีผ่านมา แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำที่สุดในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกตั้งแต่ปี 2559

กำลังการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่ลดลงส่งผลให้อุตสาหกรรมค้าปลีกโดยรวมลดลง ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น Lotte Co.opmart Intimex และ Aeon Mall กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติ ซึ่งมีรายได้ลดลงมากถึงร้อยละ 50 โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้า Lotte ที่รายได้ลดลงร้อยละ 50 ในเดือนกุมภาพันธ์เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม และลดลงร้อยละ 2 และในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงร้อยละ 6 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่ตั้งไว้

สำหรับยอดค้าปลีกของห้าง Saigon Co.op Mart ในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ลดลงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีเพียงผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป อาหารแห้ง หน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์ล้างมือที่มียอดขายเพิ่มมากขึ้น การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ประชาชนที่ทำงานในหลายภาคส่วนไม่สามารถทำงานได้ จึงทำให้หลายครอบครัวต้องประหยัดค่าใช้จ่ายยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการค้าปลีก

นาง Khong Thu Trang ให้ข้อมูลกับสำนักข่าว The Voice of Vietnam (VOV) ว่า เธอเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขต Cau Giay เมืองฮานอย การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้เธอประสบปัญหาทางการเงินอย่างมากในด้านค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว เธอและสามีของเธอต้องอยู่ที่บ้านตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เกือบหนึ่งเดือนแล้วที่ต้องหยุดทำงาน ส่งผลให้รายได้ของครอบครัวลดลงจากเดิม ครอบครัวจึงจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายและลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อช่วยให้ครอบครัวผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปได้

นาย Vu Vinh Phu ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าปลีก กล่าวว่า การประหยัดเป็นสิ่งจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่สำหรับเจ้าของธุรกิจที่จะต้องมีกลยุทธ์ในการปรับแผนการผลิตและแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับความผันผวนของตลาด เพื่อรักษาการดำเนินงานและผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปได้ นอกจากนี้ สถานการณ์นี้นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่อุตสาหกรรมค้าปลีกต้องก้าวผ่านไปให้ได้ แต่ยังถือว่าเป็นโอกาสดีของอุตสาหกรรมค้าปลีกที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตินี้ในการให้บริการผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความเห็น

อุตสาหกรรมค้าปลีกต้องมีการผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆ ให้ครอบคลุมและแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น รวมไปถึงต้องยกระดับคุณภาพสินค้าและราคาของสินค้า โดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าที่ผู้บริโภคไว้วางใจในการซื้อสินค้า นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบราคาสินค้าว่ามีการขายเกินราคาหรือไม่ และปรับราคาให้อยู่ในระดับที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าได้ ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการมองหากลยุทธ์ในการให้บริการแก่ผู้บริโภคและการผลิตสินค้าและบริการอย่างยั่งยืน

ที่มา :  

https://vnexplorer.net/retail-industry-faces-difficulties-during-covid-19-a202026793.htm
l

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101