สวัสดี

Technology & Innovation

จีนวางแผนปรับนโยบายด้านธัญพืชเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศ

เมษายน 2563

รายละเอียด :

ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา พบว่ารัฐบาลจีนกำลังวางแผนปรับนโยบายด้านธัญพืชเพื่อรองรับความต้องการอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นและรับมือกับการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา โดยการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวรวมถึงการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวโพดไปปลูกข้าวแทน 1 รอบ เพื่อความั่นคงทางอาหารและลดพื้นที่รกร้างว่างเปล่า

ความต้องการด้านอาหารสัตว์และกากของเหลือจากการผลิต ในปี 2563-2564 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เป็น 2.1.7 ล้านตัน เนื่องจากความเสียหายของการระบาดไข้หวัดแอฟริกันในสุกร จึงหันมาเลี้ยงสัตว์ปีกและสัตว์เคี้ยวเอื้องทดแทน อย่างไรก็ดี คาดว่าหลังการระบาดของไวรัสเสร็จสิ้นลง อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรและไก่ของจีนจะเติบโตอย่างมาก เพราะราคาในท้องตลาดที่สูงมากเป็นประวัติการณ์ การพัฒนาวัคซีนเพื่อยับยั้งโรคระบาด และมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ

ทำให้คาดว่าการผลิตข้าวโพดในปีเพาะปลูก 2563-2564 จะลดลงร้อยละ 4 เหลือ 250 ล้านตัน ส่วนการบริโภคจะเพิ่มขึ้น 11 ล้านตัน รวมเป็น 280 ล้านตัน เนื่องจากความต้องการอาหารสัตว์กลับไปสู่ภาวะก่อนการระบาดของโรคในสุกร  ส่วนการผลิตข้าวสาลีจะเพิ่มเล็กน้อยเป็น 135 ล้านตัน เป็นไปตามนดยาบยการส่งเสริมการเพาะปลูกในแปลงขนาดใหญ่ ความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อยจะอยู่ที่ 125 ล้านตัน เกิดจากการลดลงของความต้องการจากภาคอาหารสัตว์ โดยการใช้ข้าวสาลีในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์คาดว่าจะอยู่ที่ 17 ล้านตัน

เอกสารหมายเลข 1 เน้นการพึ่งพาตนเองด้านพืชอาหาร

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 รัฐบาลจีนได้ออกแนวนโยบายประจำปีด้านการเกษตรและการพัฒนาชนบทที่เรียกว่าเอกสารหมายเลข 1 รัฐบาลได้กล่าวย้ำว่าจีนต้องพึ่งพาตนเองในการผลิตธัญพืชหลัก คือ ข้าวและข้าวสาลี เป็นอันดับ 1 ของปีนี้  เอกสารระบุว่าพื้นที่เพาะปลูกและการผลิตควรคงที่ในทุกจังหวัดในปี 2563  โปรแกรมสนับสนุนราคาขั้นต่ำ (Minimum Support Price) จะยังคงถูกนำไปใช้สำหรับการผลิตธัญพืชรายใหญ่ในทุกภูมิภาค โครงการนำร่องที่เสนอการประกันต้นทุนการผลิตเต็มรูปแบบและการประกันรายได้จะขยายไปสู่พื้นที่การผลิตข้าว  ข้าวสาลี  และข้าวโพดด้วย เอกสารหมายเลข 1 ยังต้องการให้เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น  เลือกใช้พันธุ์ที่ให้ผลตอบแทนสูง และการปลูกพืชหมุนเวียนระหว่างถั่วเหลืองและข้าวโพด

          เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2563 กระทรวงเกษตรและกิจการชนบท (MARA) ได้เผยแพร่แผนการผลิตพืชผลในปี 2020  โดยกำหนดเป้าหมายสำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าว   ข้าวสาลี  และข้าวโพดขั้นต่ำ 93 ล้านเฮกตาร์โดยมีเป้าหมายสำหรับข้าวและพื้นที่ข้าวสาลี 53.3 ล้านเฮกตาร์ นอกจากนี้แผนเรียกร้องให้ตั้งเป้าหมายพื้นที่การเกษตรคุณภาพสูง 5.33 ล้านเฮกตาร์ และ 1.33 ล้านเฮกตาร์ที่มีประสิทธิภาพสูง  พื้นที่ชลประทานที่ประหยัดน้ำ  การแนะนำพันธุ์   ปรับปรุงพันธุ์  และเพิ่มอัตราการใช้เครื่องจักร

 

นโยบายโควตาอัตราภาษีนำเข้าธัญพืชของจีน ปี 2020

รายการ

TRQ Volume (MT)

Private Allocation

State-Owned Enterprise Allocation

In Quota Duty

Out-of Quota Duty

 

ข้าวโพด

7,200,000

40%

60%

1%

65%

ข้าวสาลี

9,636,000

10%

90%

1%

65%

ข้าวเมล็ดยาว

2,660,000

50%

50%

1%

65%

ข้าวเมล็ดปานกลาง-สั้น

2,660,000

50%

50%

1%

65%

ที่มา : USDA, FAS

 

ความคิดเห็น :

ปี 2562 จีนเป็นตลาดส่งออกข้าวอันดับที่ 3 ของไทย มูลค่าส่งออก 9,335.41 ล้านบาท ในช่วง 4 เดือนแรกปี 2563 จีนเป็นตลาดส่งออกข้าวอันดับที่ 4 ของไทย โดยมีมูลค่า 2,295.73 ล้านบาท อัตราลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 23.20  ทั้งนี้ในช่วง ม.ค.-เม.ย. 2563 จีนนำเข้าข้าวจากทั่วโลกมูลค่า


12,184.70 ล้านบาท มีอัตราลดลงร้อยละ 13.89  โดยเป็นผลมาจากรัฐบาลจีนสะสมสต็อกข้าวเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร รวมทั้งหันไปนำเข้าข้าวขาวราคาถูกจากคู่แข่งหลักอย่างเวียดนามแทน โดยมูลค่านำเข้าจากเวียดนามเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 186.51 เป็นแหล่งนำเข้าข้าวอันดับ 1 ของจีนครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 28.84 ส่วนไทยมีส่วนแบ่งร้อยละ 19.61  แนวโน้มสถานการณ์ข้าวไทยยังคงเผชิญสภาวะการแข่งขันด้านราคาเป็นอย่างมาก จำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์และแนวทางที่เหมาะสมโดยเร็ว

 

เอกสารอ้างอิง :

Grain and Feed Annual. USDA, FAS. April 06, 2020.

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101