ธันวาคม 2560
ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้มีมติห้ามการใช้สารฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) ในอาหารสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ปีก ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการยุโรป (the European Commission) ซึ่งเป็นการคัดค้านการอนุญาตให้นำสารฟอร์มาลดีไฮด์มาใช้เป็นสารกันบูดและเพิ่มความสดของอาหารให้อยู่ได้นาน ซึ่งข้อตัดสินใจดังกล่าวถือเป็นการยุติการถกเถียงของประเทศสมาชิกในประเด็นดังกล่าวมาเป็นระยะเวลา 2 ปี สมาชิกอียู 26 ประเทศได้ลงมติสนับสนุนการห้ามใช้สารฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) ในอาหารสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ปีกตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ อย่างไรก็ดี ผลการลงมติดังกล่าวไม่ได้เป็นเอกฉันท์ โดยมีหนึ่งประเทศสมาชิกงดออกเสียงและอีกหนึ่งประเทศที่คัดค้านข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ ทั้งนี้ ข้อตัดสินใจดังกล่าวจะถูกนำมาตีพิมพ์ในวารสารทางการ (the Official Journal) ต่อไป
เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศโปแลนด์และสเปนได้หยุดการใส่สารฟอร์มาลดีไฮด์ในอาหารสำหรับสัตว์ปีก เนื่องจากมีข้อกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งและความปลอดภัยของคนงาน แม้ว่าหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารยุโรป (the European Food Safety Authority) ได้ระบุว่า สารประกอบดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและเห็นควรให้อนุญาตเป็นสารปรุงแต่งอาหารได้ หากมีการใช้มาตรการคุ้มครองแรงงานควบคู่กันไป อย่างไรก็ดี ผลการตัดสินใจของอียูดังกล่าวสร้างความไม่พอใจแก่ผู้ผลิตสารฟอร์มาลดีไฮด์ คือ บริษัท Anitox ซึ่งเห็นว่าผลข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ไม่มีความหมายในยุโรปอีกต่อไป
นอกจากนี้ ข้อตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ ภายหลังจากที่ศูนย์ควบคุมโรคแห่งยุโรป (European Center of Disease Control) ได้มีการระบุในรายงานว่า มีการพบเชื้อSalmonella ที่เกิดจากสัตว์ปีกเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันสมาคมอุตสาหกรรมอาหารสัตว์สหรัฐฯ (The American Feed IndustryAssociation) ได้เรียกร้องให้คณะกรรมาธิการฯ ตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าวด้วยการปรึกษาหารือ เพื่ออนุญาตให้มีการใช้สารฟอร์มาลดีไฮด์ในการควบคุมเชื้อ Salmonella ในอาหารที่เลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก
download PDF ย้อนกลับ