สวัสดี

Technology & Innovation

สถานการณ์โรคไข้หวัดนกกับตลาดการค้าสัตว์ปีก

เมษายน 2560

รายละเอียด :

ในช่วงปลายปี 2559 ที่ผ่านมา ไข้หวัดนกแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในเกาหลีใต้ที่มีการแพร่ระบาดหนักจนรัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศเพิ่มระดับการเตือนภัยไข้หวัดนกสู่ระดับสูงสุดแล้ว โดยในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ทางการของหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแถบยุโรปอย่างเนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ สวีเดน ฝรั่งเศส และเยอรมนี รวมถึงประเทศในแถบเอเชียอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ได้ตรวจพบสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ H5 หรือที่เรียกกันว่า “ไข้หวัดนก” ในฟาร์มสัตว์ปีกหลายแห่งของประเทศและเริ่มทำการกำจัดสัตว์ปีกที่ติดเชื้อเพื่อป้องกันการติดต่อสู่คนแล้ว

ในช่วงปลายปี 2559 ที่ผ่านมา ไข้หวัดนกแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในเกาหลีใต้ที่มีการแพร่ระบาดหนักจนรัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศเพิ่มระดับการเตือนภัยไข้หวัดนกสู่ระดับสูงสุดแล้ว โดยในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ทางการของหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแถบยุโรปอย่างเนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ สวีเดน ฝรั่งเศส และเยอรมนี รวมถึงประเทศในแถบเอเชียอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ได้ตรวจพบสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ H5 หรือที่เรียกกันว่า “ไข้หวัดนก” ในฟาร์มสัตว์ปีกหลายแห่งของประเทศและเริ่มทำการกำจัดสัตว์ปีกที่ติดเชื้อเพื่อป้องกันการติดต่อสู่คนแล้ว

          อย่างไรก็ดี การระบาดของไข้หวัดนกในเกาหลีใต้ดูจะร้ายแรงที่สุดในขณะนี้ โดยรัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศเพิ่มระดับการเตือนภัยไข้หวัดนกสู่ระดับ “ร้ายแรง” ซึ่งเป็นระดับสูงสุดจาก 4 ระดับของการเตือนภัย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา เนื่องจากมีการติดต่อและแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว จนทำให้ต้องกำจัดสัตว์ปีกไปแล้วเกือบ 17 ล้านตัว หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของสัตว์ปีกทั่วประเทศเกาหลีใต้ ทั้งนี้ การยกระดับการเตือนภัยของรัฐบาลเกาหลีใต้ส่งผลให้ราคาเนื้อสัตว์ปีกและไข่ไก่ในประเทศพุ่งสูงขึ้นโดยฉับพลัน

          มีรายงานข่าวเผยแพร่ใน The Center for Infectious Disease Research and Policy (CIDRAP) พบการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ก่อโรครุนแรงในสัตว์ปีก ใน 3 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส เมียนมาร์ และไต้หวัน ดังนี้

          เจ้าหน้าที่ทางการเกษตรตรวจพบ H5N9 ในฟาร์มเลี้ยงไก่ต๊อก (Guinea fowl) ใน Labastide     จังหวัด Tarn ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส โดยในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาฝรั่งเศสมีการระบาดหลายเหตุการณ์ ไวรัสดังกล่าวตรวจพบในระหว่างการเฝ้าระวังตามปกติ  และได้มีการทำลายสัตว์ปีกจำนวน 6,050 ตัว เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส  เจ้าหน้าที่ได้ทำความสะอาดและทำลายเชื้อในฟาร์มดังกล่าว

และได้กำหนดเขตป้องกันโรค (protective zone) ในระยะ 3 กิโลเมตร และพื้นที่เฝ้าระวังโรคในระยะ 10 กิโลเมตร

          จังหวัดทาร์น (Tarn) เกิดโรคไข้หวัดนกเป็นจังหวัดที่ 9 ของฝรั่งเศสนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดในเดือนธันวาคม 2558  จนถึงปัจจุบัน มีรายงานการเกิดโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ก่อโรครุนแรงรวม 77 เหตุการณ์ กระจายใน 9 จังหวัดทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส พบเชื้อหลายสายพันธุ์ คือ H5N1,H5N2,H5N9 และสายพันธุ์ H5N3 ที่ก่อโรคไม่รุนแรง (low-pathogenic)

          พบการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ที่ก่อโรครุนแรงชนิด H5 แต่ยังไม่ระบุสายพันธุ์ย่อย (subtype) ในประเทศเมียนมาร์ที่ฟาร์มไก่ไข่เชิงพาณิชย์ ในเขต Sagaing อยู่ทางตอนกลางของประเทศ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558  ตามรายงาน World Organization for Animal Health (OIE) วันที่ 16 เมษายน 2559 

          การระบาดครั้งนี้เริ่มขึ้นในวันที่ 11 เมษายน 2559 ทำให้ไก่ตาย 18 ตัวจากไก่ที่สงสัยติดเชื้อทั้งหมด 500 ตัว   มีการดำเนินการตอบโต้การระบาดตามขั้นตอน ได้แก่ การทำลายสัตว์ปีกที่เหลือ ฉีดพ่นทำลายเชื้อ ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกและกำหนดเขตป้องกันโรค (protective zone) โดยรอบ 

          การสอบสวนยังไม่ทราบแหล่งที่มาของไวรัส แต่พบว่าฟาร์มดังกล่าวขาดความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity)

          รายงานของ OIE พบการระบาดของ H5N8  ที่โรงฆ่าไก่ในเมือง Kaohsiung และพบการระบาดของ H5N2 ในฟาร์มห่าน สองเหตุการณ์ในเทศมณฑล  Chiayi ระหว่างตรวจชันสูตรซากสัตว์ปีก 2 ตัวของโรงฆ่าดังกล่าวที่มีอาการน่าสงสัย ผลการตรวจพบ H5N8  ได้มีการทำลายซากสัตว์ปีกและสัตว์ปีกที่เหลือจำนวน  613 ตัว ฟาร์มดังกล่าวไม่มีสัตว์ปีกอื่นและได้มีการทำความสะอาดและทำลายเชื้อแล้ว

          ส่วน H5N2  ตรวจพบที่ฟาร์มเลี้ยงห่านเชิงพาณิชย์ 2 เหตุการณ์ อยู่ในมณฑล Chiayi โดยพบการตายอย่างผิดปกติเริ่มตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2559 และในวันที่ 9 เมษายน 2559 มีการตรวจพิสูจน์ ซึ่งทั้งสองแห่งทำให้สัตว์ปีกตายรวม 588  ตัวจาก 3,555 ตัว  ส่วนห่านที่เหลือถูกทำลายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

          การตรวจพบสัตว์ปีกติดเชื้อสายพันธุ์ H5 ในฟาร์มหลายแห่งในหลายประเทศของโลก คาดว่าจะช่วยเสริมโอกาสในการส่งออกสินค้าไก่ของไทยในปี 2560 ให้ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2559 โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่เป็นคู่ค้าสำคัญ และเกาหลีใต้ที่เพิ่งเปิดตลาดนำเข้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งให้ไทย โดยการกำจัดสัตว์ปีกจำนวนมากเพื่อ

ป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกจะหนุนให้มีการนำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคของคนในประเทศ

          ทั้งนี้คาดว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าไก่ของไทย (ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูป) ตลอดทั้งปี 2559 จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.5-4.8 จากแรงส่งของการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้าไก่ไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นที่ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์มาจากคุณภาพมาตรฐานสินค้าไก่ไทยที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับการเปิดตลาดนำเข้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทยของเกาหลีใต้ในช่วงปลายปี 2559 และในปี 2560 ภาพรวมการส่งออกสินค้าไก่ของไทยคาดว่าจะมีการเติบโตต่อเนื่องจากปี 2559 ที่ร้อยละ 4.0-5.0 แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของไข้หวัดนกในหลายประเทศของโลก ก็น่าจะทำให้ยอดการส่งออกสินค้าไก่ไทยโตได้ถึงร้อยละ 8.0-9.0

 

ความเห็น

จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกที่กำลังระบาดอย่างหนักทั่วโลกนั้น สำหรับประเทศไทยโดยกรมปศุสัตว์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์และข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด ในการควบคุมและตรวจสอบสัตว์ปีกและคน ตลอดจนพื้นที่จุดเสี่ยงในเชิงรุก ขณะเดียวกันยังเร่งแนะนำเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกในการบริหารจัดการภายในฟาร์ม ด้วยระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) และการป้องกันสัตว์พาหะนำโรค ด้วยระบบปิดฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สินค้าสัตว์ปีกจากประเทศไทยยังสามารถส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าได้อย่างไม่มีปัญหา แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกต้องยึดแนวปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเชื้อเข้าสู่ฟาร์มอย่างเคร่งครัดเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดขึ้นของโรคดังกล่าวและสร้างความเชื่อมั่นแก่สินค้าและผลิตภัณฑ์จาก สัตว์ปีกจากประเทศไทย

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101