เมษายน 2560
หากพูดถึงเทรนด์การบริโภคในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปมีความใส่ใจและดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจร้านค้าอาหารจากธรรมชาติและอาหารออร์แกนิก เช่น Whole Food Market ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากสามารถบ่งชี้ถึงศักยภาพการเติบโตของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพและกำลังซื้อของผู้บริโภคในกลุ่มดังกล่าว ประเภทอาหารในกลุ่มนี้รวมถึงอาหารออร์แกนิก ผลิตภัณฑ์อาหารปราศจากกลูเตนและแลคโตส รวมทั้งอาหารที่มีสัดส่วนของน้ำตาลและไขมันต่ำ
หากพูดถึงเทรนด์การบริโภคในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปมีความใส่ใจและดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจร้านค้าอาหารจากธรรมชาติและอาหารออร์แกนิก เช่น Whole Food Market ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากสามารถบ่งชี้ถึงศักยภาพการเติบโตของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพและกำลังซื้อของผู้บริโภคในกลุ่มดังกล่าว ประเภทอาหารในกลุ่มนี้รวมถึงอาหารออร์แกนิก ผลิตภัณฑ์อาหารปราศจากกลูเตนและแลคโตส รวมทั้งอาหารที่มีสัดส่วนของน้ำตาลและไขมันต่ำ ทั้งนี้ ในปี 2013 มูลค่าของตลาดสินค้าอาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิกทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอยู่ที่ราว 161,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2018 หรือคิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสม (CAGR) ที่ 15% ต่อปี โดยมีตลาดอเมริกาเหนือและยุโรปเป็นตลาดออร์แกนิกที่ใหญ่ที่สุดของโลก มูลค่าตลาดรวมกันสูงถึง 95% ของตลาดออร์แกนิกทั่วโลก สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารปราศจากกลูเตนพบว่า เป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศตะวันตก เนื่องจากในภูมิภาคดังกล่าวมีคนไข้โรคเซลีแอค (แพ้กลูเตน) ประเทศอื่นๆ และปัจจุบัน
พบว่าการบริโภคอาหารที่ปราศจากกลูเตนเป็นเพียงแนวทางเดียวในการรักษาโรคนี้ นอกจากนี้ แนวโน้มการบริโภคผลิตภัณฑ์ปราศจากกลูเตนยังเพิ่มขึ้นจากความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่ความเชื่อว่าอาหารประเภทดังกล่าวดีต่อสุขภาพมากกว่าอาหารที่มีกลูเตนอีกด้วย
จากการสำรวจของ Euromonitor พบว่า มูลค่าตลาดอาหารเพื่อสุขภาพทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และคาดการณ์ว่าภายในปี 2560 มูลค่าตลาดจะสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 15 ของมูลค่าอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมด ประเทศที่บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอันดับต้นๆ ของโลกส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส และจีน
ในประเทศไทยนั้น ตลาดอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพปี 2558 มีมูลค่ากว่า 1.7 แสนล้านบาท หากพิจารณาย้อนหลัง 5 ปีมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 9.1% นับว่าเป็นอัตราขยายตัวที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับตลาดอาหารโดยรวมของประเทศซึ่งเติบโตแค่ 3-5% ต่อปี ทั้งนี้ ประเภทอาหารที่นิยมเป็นแบบ “ฟังก์ชันนัล” ซึ่งเติมสารอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อสุขภาพ หรือช่วยลดความเสี่ยงจากโรคร้ายต่างๆ ได้ อย่างเช่นผลิตภัณฑ์บำรุงสมอง ผลิตภัณฑ์กลุ่มวิตามินต่างๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์กลุ่มบิวตี้ดริงก์ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ครองตลาดในสัดส่วน 62% ของยอดขายทั้งหมด ส่วนกลุ่มที่มียอดขายรองลงมา ได้แก่ กลุ่มอาหารสกัดจากธรรมชาติ (30%) และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ คาดว่าแนวโน้มของผลิตภัณฑ์สุขภาพในไทยยังคงเติบโตต่อไป โดยมีปัจจัยสนับสนุน อย่างเช่น เทรนด์ดูแลห่วงใยใส่ใจสุขภาพ ซึ่งเป็นพฤติกรรมเด่นชัดมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคทุกช่วงวัย หรือความสำคัญต่อการดูแลและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของตัวเองทั้งรูปร่างและหน้าตาให้ดูดีและเป็นที่ประทับใจแก่คนรอบข้าง รวมถึงทิศทางประชากรที่ค่อยๆ ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ คาดกันว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ยิ่งกระตุ้นให้ต้องดูแลสุขภาพมากขึ้นด้วย.
ความเห็น
จากการรวบรวมข้อมูลต่างๆจะพบได้ว่า ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน อันเป็นผลมาจากวิถีชีวิตที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นผู้ประกอบการควรเรียนรู้เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพให้เข้าใจและนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง โดยทำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆมาพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นมีความแตกต่างและเจาะกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างความได้เปรียบคู่แข่งจากประเทศอื่นและสร้างความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมอาหารต่อไป ขณะเดียวกัน กลุ่มประชากรรายได้ปานกลางในอาเซียนที่กำลังเติบโต ซึ่งคาดว่าจะมีถึง 400 ล้านคน หรือกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมดในปี 2563 (ประมาณ 6 เท่าของประชากรของไทย) ก็สะท้อนถึงโอกาสสำคัญในการเติบโตของอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพของไทยเช่นกัน
download PDF ย้อนกลับ