สวัสดี

Technology & Innovation

ฟิล์มถนอมอาหารจากเปลือกกุ้ง

กันยายน 2562

รายละเอียด :

ใน 1 ปี เราใช้บรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติกมากกว่า 160 ล้านตัน โดยพลาสติกเหล่านี้ทำจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และจะถูกรีไซเคิลเพียงส่วนน้อย ประกอบกับปัจจุบันอุตสาหกรรมการประมงในสกอตแลนด์

                                   

ผลิตภัณฑ์ :

Natural biopolymer Chitin

ผู้คิดค้นและพัฒนา :

CuanTec, สกอตแลนด์

แนวคิดของผลิตภัณฑ์ :

ใน 1 ปี เราใช้บรรจุภัณฑ์อาหารพลาสติกมากกว่า 160 ล้านตัน โดยพลาสติกเหล่านี้ทำจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และจะถูกรีไซเคิลเพียงส่วนน้อย ประกอบกับปัจจุบันอุตสาหกรรมการประมงในสกอตแลนด์สร้างขยะเปลือกกุ้งเปลือกหอยจำนวนมาก และแม้สารไคตินจะมีการนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรมแต่กระบวนการสกัดไคตินนั้น มีต้นทุนที่สูง ทำให้เปลือกหอยเปลือกกุ้งส่วนใหญ่ถูกโยนทิ้งลงถังขยะ พร้อมกับอุตสาหกรรมได้หันมาใช้ไคตินที่ได้จากกระบวนการผลิตจากสารเคมีแทน ทางบริษัทฯจึงมีแนวคิดที่จะนำเปลือกกุ้งที่เหลือจากกระบวนการผลิตอาหารทะเลมาพัฒนาเป็นฟิล์มถนอมอาหารจากสารไคตินขึ้นมา

ลักษณะของผลิตภัณฑ์ :

บรรจุภัณฑ์ต้านจุลชีพที่ย่อยสลายได้จะมีลักษณะและเนื้อสัมผัสเหมือนพลาสติกดั้งเดิม แต่ความแตกต่างคือบรรจุภัณฑ์นี้ใช้วัสดุที่ยั่งยืนจากธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย CuanTec เลือกใช้กระบวนการหมักที่คล้ายกับการต้มเบียร์ เพื่อแยกสารที่เรียกว่า ไคติน (chitin) จากเปลือกของกุ้งลังกู้สตีน (langoustine) ซึ่งเป็นกุ้งเปลือกแข็งสายพันธุ์กุ้งมังกรหรือล็อบสเตอร์ มาทำเป็นฟิล์มถนอมอาหารจากสารไคติน (Natural biopolymer Chitin)

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ :

เน้นคุณภาพด้วยการมุ่งแปลงไคตินธรรมชาติเป็นฟิล์มใสที่สามารถใช้ในบรรจุภัณฑ์ทุกประเภท แทนที่จะเป็นฟิล์มสีเหลืองที่ไม่ได้รับความสนใจจากท้องตลาด

ความเห็น :

ขยะจากบรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นขยะที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเพียงครั้งเดียวและทิ้งกลายเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยากและสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม การคิดออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติและย่อยสลายได้ง่าย เป็นแนวคิดที่ควรผลักดันและสนุนให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารต่าง ๆ

ที่มา : Positioning. เปลี่ยนโลกแพ็กเกจจิ้ง สตาร์ทอัปยุโรปใช้เปลือกกุ้งสร้าง ฟิล์มแรปอาหารไม่ง้อพลาสติก. https://positioningmag.com/.

                           สามารถติดตามข่าวสารกับ FIC ทางสังคมออนไลน์ ได้ที่ (http://www.facebook.com/NFI.FIC)

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527