อุตสาหกรรมปาลม์น้ำมัน อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทย
สิงหาคม 2557
การปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเริ่มปลูกประมาณ พันไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าเป็นครั้งแรก และต่อมาได้มีการขยายพื้นที่การเพาะปลูกทั้งจากภาครัฐและเอกชนเรื่อยมา จนถึงช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา เกษตรกรรายย่อยให้ความสําคัญกับการปลูกปาล์มอย่างจริงจัง และได้รับการพัฒนาเข้าสู่ระบบการค้าและอุตสาหกรรมมากขึ้น ปัจจุบันไทยเป็นประเทศหนึ่งในผู้ผลิตปาล์ม น้ำมันที่สามารถผลิตใช้อย่างเพียงพอภายในประเทศ และสามารถส่งออกได้บางส่วนเท่านั้น
download PDF
1. การผลิต
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชน้ำมันที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด และยังเป็นพืชที่มีต้นทุนการ ผลิตน้ำมันต่ำกว่าพืชชนิดอื่น น้ำมันปาล์มจึงเป็นน้ำมันพืชสําหรับการบริโภคที่มีราคาถูกที่สุด สามารถนําไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และนําไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้อย่างกว้างขวางทั้งในอุตสาหกรรม อาหารและไม่ใช่อาหาร รวมถึงการนําไปใช้ในการผลิตพลังงานทดแทน มูลค่าของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ในปัจจุบันสูงถึงประมาณ 60,000 ล้านบาท
ในปี 2556 ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้วประมาณ 4.09 ล้านไร่ หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.76 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนผลผลิตปาล์มน้ำมันมีประมาณ 12.42 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อย ละ 9.62 เมื่อเทียบกับปีก่อน (ตารางที่ 1) เนื่องจากปาล์มน้ำมันที่ปลูกในปี 2551-2553 เริ่มให้ผลผลิต โดย ร้อยละ 88 ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดอยู่ในภาคใต้ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ให้ผลผลิตมากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 25.37 รองลงมาคือ กระบี่ และชุมพร มีสัดส่วนร้อยละ 24.83 และ 19.40 ตามลําดับ นอกจากนี้ ยัง พบว่าพื้นที่การปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดอื่น ๆ มีแนวโน้มจะขยายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาค กลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน เช่น จังหวัดสระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง เชียงราย เลย อุดรธานี นครพนม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา สระแก้ว บุรีรัมย์ เป็นต้น
การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการดําเนินยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันในช่วงปี 2551-2555 เพื่อเร่งผลักดันให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ํามันปีละ 500,000 ไร่ รวม 2.5 ล้านไร่ เพิ่มผลผลิต และผลิตภาพการผลิตน้ำมันปาล์มดิบเพื่อรองรับกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงาน ทางเลือก 25% ใน 10 ปี (พ.ศ.2555-2564) ที่กําหนดให้มีการใช้พลังงานทดแทนจากน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้น จาก 626,380 ตันในปี 2555 เป็น 3,110,000 ตัน ในปี 2564 และเพื่อเป็นการทดแทนการนําเข้าพลังงาน จากต่างประเทศและมุ่งส่งเสริมการใช้น้ำมันไบโอดีเซล B3 B5 และพัฒนาถึง B10 และลดความเสี่ยงที่จะ เกิดขึ้นต่อความมั่นคงทางด้านอาหารของประเทศ ประกอบกับราคาผลปาล์มดิบในช่วงปี 2553-2555 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดิมที่มีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.68 บาทในปี 2552 ปรับขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 5.44 บาทในปี 2554 (รูปภาพที่ 2) จึงเป็นแรงจูงใจที่ทําให้เกษตรกรขยายพื้นที่การเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ประมาณการได้ว่าในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน จะขยายพื้นที่ปลูก 100,000 ไร่/ปี ส่วน