อุตสาหกรรมน้ำผลไม้ สถานการณ์ผลิตและตลาดน้ําผลไม้ไทย
มิถุนายน 2557
ข้อมูลพื้นฐานอุตสาหกรรม
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผลไม้มากมายหลากหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูกาลแล้วจะ มีปริมาณมากจนผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ํามาก เกิดความสูญเปล่าจากการเน่าเสีย ดังนั้นการนําผลไม้ สดมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้จะทําให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลไม้สูงขึ้นและลดความสูญหายที่เกิดจาก ข้อจํากัดของอายุการเก็บรักษาลง
download PDF
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมน้ำผลไม้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สําคัญของประเทศ สามารถสร้างรายได้จากการส่งออกปีละหลายพันล้านบาท ขณะที่ตลาดน้ำผลไม้ในประเทศมีมูลค่าประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยที่หัน มาดูแลเอาใจใส่สุขภาพมากยิ่งขึ้น จึงมีความพิถีพิถันในการเลือกบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม โดยมุ่งเน้น ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย และน้ำผลไม้เป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ซึ่ง ผู้บริโภคเลือกดื่มแทนเครื่องดื่มดับกระหายชนิดอื่นที่ให้ความรู้สึกสดชื่นเพียงอย่างเดียว ประกอบกับ ผู้ประกอบการได้มีการนํานวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สนองความต้องการของผู้บริโภค ควบคู่กับการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด นอกจากนี้อัตราการบริโภคน้ำผลไม้ของผู้บริโภคชาวไทยอยู่ในระดับต่ำ ประมาณ 4 ลิตรต่อคนต่อปีเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับชาวเยอรมันที่บริโภคน้ำผลไม้สูงถึง 34 ลิตรต่อคน ต่อปี จึงอาจกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ไทยมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
1. ภาวะอุตสาหกรรม
1.1 การผลิต
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมน้ำผลไม้จํานวน 158 ราย (ข้อมูลจากกรมโรงงาน อุตสาหกรรม ณ พฤษภาคม 2557) ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก มีการใช้เทคโนโลยีการ ผลิตง่ายๆ ใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงเมืองใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ ของ ประเทศ โดยประเภทของน้ำผลไม้สามารถแบ่งออกได้ตามกรรมวิธีการผลิตและความนิยมของตลาดได้ ดังนี้
1) น้ำผลไม้เข้มข้น (Concentrated Fruit Juice) ผลิตจากการนําผลไม้จากธรรมชาติไป ระเหยน้ำบางส่วนออกเพื่อเพิ่มความเข้มข้น โดยก่อนบริโภคต้องนําน้ำผลไม้เข้มข้นมาผสมน้ําเพื่อเจือจาง ก่อน ส่วนใหญ่จะถูกนําไปใช้เป็นวัตถุดิบสําหรับประกอบอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ น้ำผลไม้ประเภทนี้นิยม ผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก เนื่องจากสะดวกต่อการนําไปใช้และประหยัดค่าขนส่ง
2) น้ำผลไม้พร้อมดื่มเป็นชนิดที่สามารถดื่มได้ทันทีซึ่งมีส่วนผสมของน้ำผลไม้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้ที่นํามาเป็นวัตถุดิบและวิธีการผลิตของโรงงาน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ประเภทย่อย คือ
• น้ำผลไม้ 100% (Single Strength Juice) เช่น น้ำส้ม และน้ําสับปะรด เป็นต้น
• น้ำผลไม้ 25-50% เช่น น้ำฝรั่ง และน้ำมะม่วง ซึ่งไม่สามารถผลิตเป็นน้ำผลไม้พร้อม ดื่ม 100% ได้ จึงต้องนํามาเจือจางและปรุงแต่งรสชาติก่อน
• น้ำผลไม้ต่ํากว่า 25% ตัวอย่างเช่น มินิเมท และ ทวิสเตอร์ เป็นต้น