สวัสดี

ตลาดไอศกรีมในประเทศไทย

แชร์:
Favorite (38)

มิถุนายน 2558

ตลาดไอศกรีมในประเทศไทยสภาพอากาศในเมืองไทยนับวันจะยิ่งทวีความร้อนและมีระยะเวลายาวนานขึ้น จนดูเหมือนว่าเมืองไทยจะมีอากาศร้อนตลอดทั้งปี ส่งผลให้ธุรกิจอาหารเพื่อคลายร้อนมีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย และหนึ่งในธุรกิจดังกล่าว คือ “ไอศกรีม” โดยมูลค่าตลาดไอศกรีมในประเทศไทย ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 8.1 ต่อปี จากมูลค่า 12,000 ล้านบาท เมื่อปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 16,500 ล้านบาท ในปี 2557 สำหรับปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของตลาด คือ คุณสมบัติของไอศกรีมเองที่มีความหวาน เย็น ให้ความอร่อยและสดชื่น เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย

 

อย่างไรก็ตาม อัตราการบริโภคไอศกรีมของคนไทยยังอยู่ในระดับต่ำเพียง 1.7 ลิตรต่อคนต่อปี เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีการบริโภคมากในอันดับต้นๆ ของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา ที่มีอัตราการบริโภค 26.0 ลิตรต่อคนต่อปี นิวซีแลนด์ 23.0 ลิตรต่อคนต่อปี หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ ที่มีอัตราบริโภคเฉลี่ย 2.4ลิตรต่อคนต่อปี สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสทางการตลาดที่สามารถเติบโตได้อีกมาก ตลาดไอศกรีมจึงดึงดูดความสนใจของนักลงทุนทั้งในและต่างชาติดังจะเห็นได้จาก การกลับเข้ามาทำตลาดในประเทศอีกครั้งของ “บาสกิ้น รอบบิ้นส์” เมื่อปี 2555 รวมถึงการเข้ามาของผู้ประกอบการไทยในรูปแบบไอศกรีมโฮมเมด (Home Made Ice cream) ที่เน้นการคัดสรรวัตถุดิบ มีสูตรและรสชาติเฉพาะแบรนด์รวมถึงไอศกรีมเจลาโต้ (Gelato Ice cream) ไอศกรีมอิตาเลี่ยนเนื้อเนียนแน่น ไขมันต่ำทำให้ตลาดไอศกรีมในประเทศไทยคึกคักและมีความหลากหลายมากขึ้น

ผลิตภัณฑ์

ตลาดผลิตภัณฑ์ไอศกรีมในประเทศอาจแบ่งได้ตามประเภทวัตถุดิบ ได้แก่
- ไอศกรีมนม หมายถึง ไอศกรีมที่ทำจากน้ำนมหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม (dairy product) และเพื่อเป็นการสร้างความหลากหลาย จึงมีการเติมน้ าผลไม้ ผลไม้ ถั่ว ช็อกโกแลต สารให้ความหวาน หรือวัตถุอื่นที่เป็นอาหาร เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย
- ไอศกรีมดัดแปลง หมายถึง ไอศกรีมที่ผลิตโดยใช้ไขมันชนิดอื่น เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าวหรือกะทิ แทนมันเนย (milk fat) บางส่วนหรือทั้งหมด และมีลักษณะคล้ายกับไอศกรีมนม คือ มักจะมีส่วนผสมของน้ำผลไม้ ผลไม้ หรือวัตถุอื่นๆที่เป็นอาหาร เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ผสมอยู่ด้วย
- ไอศกรีมหวานเย็น หมายถึง ไอศกรีมที่ไม่มีส่วนผสมของนม ภาษาอังกฤษเรียกว่า water ice ทำจาก น้ำ น้ำตาล น้ำผลไม้ ผลไม้ และอาจใส่วัตถุแต่งกลิ่น รส และสีด้วยก็ได้

ราคา
ไอศกรีมที่จำหน่ายในท้องตลาดนั้น มีระดับราคาแตกต่างกันมากตั้งแต่ไม่กี่บาทไปจนถึงร้อยกว่าบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ คุณภาพ และหากพิจารณาราคาเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ไอศกรีม พบว่า มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต ทั้งค่าวัตถุดิบ พลังงาน และค่าจ้างแรงงาน ประกอบกับแนวโน้มผู้ประกอบการที่หันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ premium ออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาขายปลีกสูงขึ้นตามไปด้วย

หากพิจารณาราคาขายปลีกตามผลิตภัณฑ์ สามารถแบ่งตลาดไอศกรีมออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- ตลาดไอศกรีมทั่วไป (Low to Medium / Standard) ผลิตภัณฑ์ไอศกรีมที่ราคาไม่แพง สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำ หรือรถขายไอศกรีม แต่เดิมตลาดนี้มีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อกลุ่มทุนข้ามชาติยักษ์ใหญ่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย และมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทำให้กลุ่มทุนรายย่อยในท้องถิ่นไม่สามารถแข่งขัน ได้จำเป็นต้องออกจากตลาดไปไม่น้อยปัจจุบันตลาดไอศกรีมทั่วไป มีมูลค่าประมาณ 9,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของมูลค่าตลาดรวม โดยกลุ่มผู้นำตลาดที่เป็นรายใหญ่มีเพียง 3 ราย ได้แก่ “วอลล์” ของ บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เน้นสินค้าที่ราคาไม่สูง มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และช่องทางจำหน่าย ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 60 “เนสท์เล่” ของ บริษัท เนสท์เล่ ประเทศไทย จำกัด ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15 และ “แมกโนเลีย” ของ บริษัท เอฟ แอนด์ เอ็น ยูไนเต็ด จำกัด ครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9
- ตลาด Premium เป็นตลาดไอศกรีมคุณภาพสูง การแข่งขันในตลาดนี้เป็นไปอย่างรุนแรง มีมูลค่าตลาดประมาณ 6,000 ล้านบาท และเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงสุด โดยในปี 2557 ที่ผ่านมาตลาดไอศกรีมพรีเมียมเติบโตร้อยละ 13 ขณะที่ตลาดรวมหดตัวร้อยละ 0.2 ผู้น าตลาด คือ “สเวนเซนส์” ครองส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 70 นอกจากนี้ยังมี “บาสกิ้น รอบบิ้นส์” และ “บัดส์” ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแบรนด์จากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีผู้เล่นที่เป็นผู้ประกอบการไทยที่วางต าแหน่งผลิตภัณฑ์ในตลาดนี้ได้แก่ “ไอเบอร์รี” “อืมมิลล์” และ “เจลาเต้” เป็นต้น
- ตลาด Super Premium เป็นไอศกรีมที่มีราคาสูงที่สุดในตลาด มีสัดส่วนร้อยละ 6 หรือมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท ผู้ประกอบการรายในตลาดเพียงไม่กี่ราย เช่น “ฮาเก้นดาส” “โคลสโตน” และ“ครีมแอนด์ฟัจด์”

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527