สวัสดี

ตลาดน้ำนมจากพืชในประเทศมาเลเซีย

แชร์:
Favorite (38)

มกราคม 2567

การบริโภคน้ำนมจากพืชโดยรวมในประเทศมาเลเซีย ได้รับอานิสงส์จากการเกิดขึ้นของร้านกาแฟ ที่ริเริ่มนำน้ำนมจากพืชเช่น ข้าว อัลมอนด์ และนมข้าวโอ๊ต ไปเป็นส่วนประกอบในเมนูกาแฟและชานม อาทิเช่น Starbucks, Zus Coffee และ The Coffee Bean & Tea Leaf และ Tealive (ร้านชานมไข่มุก) จึงทำให้น้ำนมจากพืชได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม น้ำนมถั่วเหลือง ยังคงเป็นผลิตภัณฑ์น้ำนมจากพืชหลักที่มียอดขายมากที่สุดในตลาด โดยมีอัตราการเติบโตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ การฟื้นตัวของธุรกิจบริการอาหารหลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านทุกช่องทาง ทำให้ผู้บริโภคใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น ซึ่งช่วยสนับสนุนภาพรวมการขยายตัวของตลาด นอกจากนี้ การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของมาเลเซีย จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่งผลกระทบเชิงบวกต่อตลาดอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากนักท่องเที่ยวขาเข้ามีส่วนสำคัญในการจำหน่ายน้ำนมจากพืชในประเทศมาเลเซีย โดยยอดขายน้ำนมจากพืชในประเทศมาเลเซียปี 2566 มีมูลค่า 379.90 ล้านริงกิต สูงกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ในประเทศมาเลเซียมีน้ำนมถั่วเหลืองเป็นกลุ่มน้ำนมจากพืชที่ใหญ่ที่สุด โดยมีผู้ผลิตน้ำนมจากพืชที่สำคัญมี 2 ราย ได้แก่ Fraser & Neave Holdings Bhd และ Ace Canning Corp Sdn Bhd เป็นผู้นำในด้านน้ำนมจากพืชในปี 2566 โดยในการทำตลาดน้ำนมจากพืชอื่น ๆ ทั้ง 2 บริษัทใหญ่มีแผนที่จะร่วมทุนกันผลิตผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดร่วมกันแทนการแข่งขันกันเอง

ในระหว่างปี 2566 มีผู้เล่นรายใหม่อย่าง เช่น เลิฟโอ๊ตจากประเทศไทย และกูลิโกะอัลมอนด์ โคกะ จากญี่ปุ่น นำเสนอผลิตภัณฑ์น้ำนมจากพืชอื่น ๆ เข้าสู่ตลาดน้ำนมจากพืชในมาเลเซีย ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้บริโภคยุคใหม่ และสามารถทำกำไรจากราคาขายต่อหน่วยได้มากกว่าน้ำนมถั่วเหลืองที่มีวางจำหน่ายอยู่ก่อนหน้า ทั้งนี้ การเติบโตของตลาดน้ำนมจากพืชอื่น ๆ ได้ส่งผลให้อัตราการเติบโตของตลาดน้ำนมถั่วเหลืองในมาเลเซียน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ หลังโควิด-19 ผู้บริโภคกลับมาให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้ความต้องการน้ำนมจากพืชอย่างน้ำนมถั่วเหลืองและน้ำนมจากพืชอื่น ๆ สูงขึ้นตามไปด้วย โดยผู้ผลิตมีแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำนมจากพืชให้มีความหลากหลายและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้มากขึ้น อาทิ โยเกิร์ตจากน้ำนมพืช และชีสจากน้ำนมพืช เป็นต้น

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101