ตุลาคม 2564
ประเมินมูลค่าตลาดเครื่องดื่มชาปี 2564 ประมาณ 14,794.3 ล้านบาท แยกเป็น เครื่องดื่มชาชงแบบร้อน 2,160.9 ล้านบาท (14.60%) %) คาดว่าจะมีอัตราเติบโตช่วงปี 2564-2568 ร้อยละ 2.2 เครื่องดื่มชาแบบพร้อมดื่ม(Ready to Drink) มูลค่า 12,633.4 ล้านบาท (85.40%) คาดว่าจะมีอัตราเติบโตช่วงปี 2564-2568 ร้อยละ -1.9
ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาลดลงทั้งในช่องทางบริการอาหารและร้านค้าปลีก เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 มาตรการล็อคดาวน์ จำกัดเวลาการให้บริการและรูปแบบการนั่งรับประทานที่ร้านเพื่อลดการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความต้องการชากลุ่มชงร้อนที่จำหน่ายผ่านร้านอาหาร แต่ก็ไม่กระทบมากนักกับช่องทางค้าปลีกที่ซื้อไปชงดื่มที่บ้าน ครัวเรือนไทยจำนวนมากต้องเผชิญกับการลดลงและการหยุดชะงักของรายได้ ทำให้การเดินทาง การท่องเที่ยวและการผลิตชะลอตัวลง ส่งผลให้การใช้จ่ายด้านชาลดลง ซึ่งเป็นสินค้าประเภทหนึ่งที่คนไทยไม่ให้ความสำคัญ การตื่นตัวดูแลสุขภาพเพื่อสร้างความสมดุลร่างกายเพื่อให้ต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ ทำให้ชาผลไม้ ชาสมุนไพรมีโอกาสทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ชาระมิงค์ได้ออกวัตกรรมชาสกัดเย็น (cold brew craft tea) ออกมา เพื่อความสะดวกของผู้บริโภค
download PDF ย้อนกลับ