สวัสดี

ยุทธศาสตร์ระบบการผลิตอาหารยั่งยืนของญี่ปุ่น

แชร์:
Favorite (38)

มิถุนายน 2564

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำเข้าอาหารสุทธิจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและอาหารจากนานาประเทศ ข้อมูลปี 2562 พบว่า Total food self-sufficiency ratio on calorie supply basis อยู่ที่เพียงร้อยละ 38 Total food self-sufficiency ratio on production value basis อยู่ที่ร้อยละ 66 ปริมาณผลผลิตวัตถุดิบเกษตรอาหารทุกชนิดภายในประเทศประมาณ 98.17 ล้านตัน ผลผลิตนำเข้า 103.74 ล้านตัน ส่งออก 2.16 ล้านตัน ค่าใช้จ่ายด้านค่าอาหารต่อครัวเรือนอยู่ที่ 965,536 เยนต่อปี คิดเป็นร้อยละ 27.426 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

  ในปี 2563 ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าอาหารมูลค่า 1,792.60 พันล้านบาท โดยแหล่งนำเข้า 3 อันดับแรก คือ สหรัฐอเมริกา (มีสัดส่วน 21.49%) จีน (12.56%) และไทย (6.87%) สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์แช่แข็ง ผลไม้สด เครื่องดื่ม ข้าวโพด เนื้อปลาแบบฟิลเลต เนื้อสัตว์แปรรูป กุ้งแช่แข็งและแปรรูป เป็นต้น จากข้อมูลของ Global Trade Atlas ปี 2564 เดือน ม.ค.-เม.ย. พบว่ามูลค่านำเข้าอยู่ที่ 584.13 พันล้านบาท โดยมูลค่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 4.34

  ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับที่ 2 ของไทย ในปี 2563 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12.72 มูลค่า 124.71 พันล้านบาท  ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ 6.58  ปี 2564 เดือน ม.ค.-เม.ย. ญี่ปุ่นมีการนำเข้าอาหารจากไทยมูลค่า 41.12 พันล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ 5.11 สินค้าที่นำเข้าจากไทยมูลค่าสูงสุดคือ เนื้อไก่แปรรูปและเนื้อไก่แช่แข็ง มีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 49.34 ของมูลค่านำเข้าอาหารทั้งหมดจากไทยในปีนี้  สินค้าอีกกลุ่มที่สำคัญคือ ปลาแปรรูป เช่น ทูน่ากระป๋อง แม็คเคอเรล แซลมอน ซาร์ดีนแปรรูป มีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 8.33 สินค้านำเข้าจากไทยที่สำคัญ อื่นๆ เช่น เด็กซ์ตรินและโมดิฟายด์สตาร์ช กุ้งแปรรูป ข้าว  เครื่องปรุงรส กุ้งแช่แข็ง เนื้อปลาแบบฟิลเลต และผลไม้แปรรูป

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101