สวัสดี

ตลาดผักผลไม้แปรรูปในจีน

แชร์:
Favorite (38)

เมษายน 2560

จีนจัดเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่สินค้าแปรรูปจากผักผลไม้ของไทย และมีทิศทางแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบอาเซียน-จีน การขยายตัวของจำนวนประชากรชาวจีน และการเติบโตของระบบเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้ความชื่นชอบในรสชาติของผลไม้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตลาดผักผลไม้แปรรูปจีนเป็นตลาดที่ยังคงสร้างความน่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทย

สถานการณ์ตลาดผักผลไม้แปรรูปในจีน

แม้ว่าจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากผักผลไม้สด แต่ตลาดผักผลไม้แปรรูปในจีนยังคงมีการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจาก Euromonitor International ชี้ให้เห็นว่า การจำหน่ายสินค้าผักผลไม้บรรจุกระป๋องและอบแห้ง มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ต่อปี เชิงปริมาณ และร้อยละ 8.6 ต่อปี เชิงมูลค่า (ปี 2555-2559) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการบริโภคของชาวจีนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศที่มีชีวิตยุ่งวุ่นวาย   อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคชาวจีนบางรายยังมองว่าสินค้าผักผลไม้แปรรูปบรรจุกระป๋องเป็นสินค้าอาหารที่ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ เนื่องจากมีส่วนผสมของสารกันเสีย ส่งผลให้บรรดาผู้ผลิตต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการตลาดและภาพลักษณ์ของตน โดยเน้นการพัฒนาสินค้าที่ปราศจากสารกันเสีย และสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้บริโภคถึงการพัฒนาสินค้าใหม่ดังกล่าว รวมถึงการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีคุณภาพและความพรีเมี่ยมมากขึ้น เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้บริโภคชาวจีนจำนวนมากค่อย ๆ เปลี่ยนมุมมองไปในทางที่ดีเพิ่มขึ้นต่อสินค้าผักผลไม้แปรรูปบรรจุกระป๋อง

ในปี 2559 จีนนำเข้าสินค้าผักผลไม้แปรรูปจากไทยคิดเป็นมูลค่า 345.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ตลอดช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2555-2559)  โดยสินค้าผักผลไม้แปรรูปที่จีนนำเข้าจากไทยส่วนใหญ่จะเป็นประเภทอบแห้ง ได้แก่ ฝรั่ง มะม่วง และมังคุด ทั้งสดและอบแห้ง มีมูลค่าการนำเข้า 129.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.5 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าผักผลไม้แปรรูปทั้งหมดจากไทย

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ติดต่อสอบถามข้อมูล ต่อ 3122 ติดต่อสมาชิกสถาบันอาหาร ต่อ 8101