11 กันยายน 2555
1.1 ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ
ปัจจัยการผลิต หรือ ทรัพยากรในการผลิต หรือ ทรัพยากรทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง สิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่
นำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ ปัจจัยการผลิตมี ๔ ประเภท ดังนี้
1. ที่ดิน ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง พื้นดินและหมายรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ติดอยู่กับพื้นดินบริเวณ
นั้น เช่น ป่าไม้ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ
2. แรงงาน หมายถึง กำลังกายและกำลังความคิดสติปัญญาของคนที่นำมาใช้ในการผลิต
3. ทุน เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญประการหนึ่ง หมายถึง เงินทุนที่นำไปใช้ซื้อวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ
เครื่องจักรต่าง ๆ รวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เช่น โรงงาน โกดังเก็บสินค้า
4. การประกอบการ หมายถึง การบริหารจัดการเพื่อนาที่ดิน แรงงาน และทุน มาผ่านกระบวนการผลิต ทำ
ให้เกิดเปนสินค้าและบริการต่าง ๆ ขึ้นมา
[1]จากการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ภายใต้โครงการจัดทำตาราง
ปัจจัยการผลิตและผลผลิตของ SMEs (SME I/O Table) พบว่า โครงสร้างต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและเงินเดือน
ของ SMEs เฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 16.2 ของต้นทุนปัจจัยการผลิตทั้งหมด ดังนั้นหากค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพิ่มขึ้นร้อยละ
1 จะส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16 ซึ่งผลจากการปรับค่าจ้างแรงงานครั้งล่าสุดตามมติ
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา มีการปรับค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 6.4 ส่งผลให้ต้นทุน
ของกิจการในด้านค่าใช้จ่ายแรงงานเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.03 โดยเหตุผลในการปรับเพิ่มมี 2 ประการ คือ ช่วยให้
แรงงานรอดพ้นจากความยากจนที่รุนแรง และมีรายได้ใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายตามอัตภาพ และช่วยให้แรงงานมีคุณภาพ
ชีวิตที่ดีขึ้นภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่เติบโต