9 กันยายน 2555
สหภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นตลาดสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปที่สาคัญของไทย โดยสินค้า
เกษตรและอาหารของไทยที่ส่งออกมายัง EU ได้แก่ ไก่แปรรูป กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ปลาหมึกสดแช่เย็น
และแช่แข็ง และพืชผักผลไม้ อย่างไรก็ดี EU เป็นตลาดที่นาเข้าเฉพาะสินค้าคุณภาพ เท่านั้น เนื่องจากมีมาตรฐานด้าน
สินค้าเกษตรและความปลอดภัยของอาหารที่ค่อนข้างเข้มงวด
คณะกรรมาธิการยุโรป ในฐานะฝ่ายบริหารซึ่งมีหน้าที่ในการกาหนดนโยบายกลางเพื่อครอบคลุมเขตแดน
ประเทศสมาชิกทั้งหมด ได้กาหนดกฎระเบียบ มาตรการ และแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการนาเข้าและวาง
จาหน่ายสินค้าเกษตรและอาหารจากประเทศที่สามไว้มากมายหลายระดับ ขณะเดียวกัน หน่วยงานในระดับประเทศ
สมาชิก เช่น กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร สาธารณสุข ความปลอดภัยด้านอาหาร และคุ้มครองผู้บริโภค ด่าน
ตรวจสินค้าขาเข้าจากประเทศที่สาม (Border Inspection Post: BIP) ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ (Laboratory)
และสานักงานปศุสัตว์ ต่างก็มีกฎระเบียบที่ใช้บังคับภายในพื้นที่ความรับผิดชอบของตน ซึ่งควรทาความเข้าใจอย่าง
ถูกต้องและครบถ้วนเกี่ยวกับกฎระเบียบ มาตรการ และแนวทางต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ
สินค้าเกษตรและอาหารที่จะส่งออกไปยัง EU
ปัจจุบันประเทศสมาชิก EU มี 27 ประเทศ ที่ใช้กาหมายอาหารร่วมกัน ได้แก่
โครงสร้างการออกกฎหมายของสหภาพยุโรป
การดาเนินงานของ EU ในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับการออกกฎระเบียบของสหภาพยุโรปนั้น มีเพียง 3
สถาบันที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่สาคัญ คือ สภายุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรป สถาบันหลัก
ที่ทางการไทยต้องติดต่อเกี่ยวข้องอยู่เสมอ คือ คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเปรียบเหมือนฝ่ายบริหาร หรือรัฐบาลของ
EU มีประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายบริหารที่มาจากการคัดเลือกของที่ประชุมผู้นาสุดยอดแห่ง
ประเทศสมาชิก (EU Summit) และผ่านการเห็นชอบจากสภายุโรปแล้ว
กรรมาธิการยุโรปแต่ละท่านจะได้รับมอบหมายให้บริหารหน่วยงานที่เรียกว่า Directorate-General หรือ
เรียกย่อว่า DG (เทียบเท่าระดับกระทรวง) ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ประจาที่มาจากประเทศสมาชิกต่างๆ โดยมี Director-
General เป็นผู้บริหารสูงสุดในสายเจ้าหน้าที่ประจา (เทียบเท่าปลัดกระทรวง) DG ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของ