สวัสดี

รายงานวิจัย เรื่อง กฎหมายและระเบียบการอนุญาตผลิตอาหารของไทย

แชร์:
Favorite (38)

8 กันยายน 2555

การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร
ผู้ประกอบการผลิตอาหารที่เริ่มต้นธุรกิจใหม่ มักขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ
และขั้นตอนการขออนุญาตผลิตอาหาร ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการขออนุญาตสถานที่และผลิตภัณฑ์ผลิต
อาหาร รวมถึงการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้เพื่อการควบคุมอาหารของไทย ได้
กาหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจาหน่าย เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต (เลขาธิการ
สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการสานักงานคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย) โดยการ
ขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหารนั้น จาเป็นต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กาหนดในกฎกระทรวง
สาธารณสุขฉบับที่ 1 ว่าด้วยเรื่อง การขอรับใบอนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหารเพื่อจาหน่าย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. กรณีเข้าข่ายโรงงาน
ผู้ประกอบการซึ่งมีสถานที่ผลิตอาหารเข้าข่ายเป็นโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่ตั้งขึ้นเพื่อผลิตอาหาร
จะต้องยื่นขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร ซึ่งสถานที่ผลิตที่เข้าข่ายโรงงานนั้น หมายถึง โรงงานตามพระราชบัญญัติ
โรงงาน พ.ศ. 2535 ที่มีการใช้เครื่องจักรมีกาลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือ กาลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้
คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม (คำนวณแรงม้ำดูภำคผนวก)
อาหารทุกประเภทที่มีสถานที่ผลิตเข้าข่ายในลักษณะดังกล่าว จะต้องยื่นขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารให้ถูกต้อง
ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ด้วย และ เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจึงจะดาเนินการผลิตได้ สาหรับผู้ผลิต
อาหารในกลุ่ม 54 ประเภท (รำยละเอียดดูภำคผนวก) จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต หรือ GMP
สุขลักษณะทั่วไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 และน้าบริโภค จะต้องปฏิบัติตาม
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 220) พ.ศ. 2544 ด้วย
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการซึ่งผลิตอาหารในกลุ่มอาหารทั่วไปเช่น แปูง ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น เมื่อได้รับใบอนุญาต
สถานที่ผลิตอาหารแล้วสามารถผลิตอาหารเพื่อจาหน่ายได้ทันที แต่หากอาหารที่ผลิตเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ เช่น
เครื่องดื่มในภาชนะ บรรจุที่ ปิดสนิท ฯลฯ ต้องขอขึ้นทะเบียนตารับอาหารก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะผลิตเพื่อ
จาหน่ายได้ หากเป็นอาหารที่กาหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน เช่น ชา กาแฟ ฯลฯ ต้องขอจดทะเบียนอาหารก่อน
(ยกเว้นรอยัลเยลลีและผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี ต้องยื่นคาขอใช้ฉลากอาหารก่อน) และหากเป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก เช่น
ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ฯลฯ ต้องแจ้งรายละเอียดอาหารก่อน (ยกเว้นอาหารมีวัตถุประสงค์พิเศษและผลิตภัณฑ์กระเทียม
ต้องยื่นคาขอใช้ฉลากอาหารก่อน) เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะผลิตเพื่อจาหน่ายได้

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3122
โทรสาร : 02-4228527