7 กันยายน 2555
การจัดการด้านการผลิตกับธุรกิจขนมขบเคี้ยวสำหรับสุนัข
การเลี้ยงสัตว์ไว้ภายในบ้านของไทยมีค่อนข้างแพร่หลาย สัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นที่นิยมของครัวเรือนไทย ได้แก่ สุนัข ซึ่งมีผู้
เลี้ยงเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของผู้เลี้ยงทั้งหมดในไทย รองลงมา คือ แมว ประมาณร้อยละ 10 และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ร้อย
ละ 20 ซึ่งปัจจุบันความนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงภายในบ้านมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเลี้ยงสุนัขขนาดเล็ก เพราะสาเหตุ
จากราคาสุนัขขนาดเล็กที่ลดลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะใน
กลุ่มที่มีรายได้สูง กำลังซื้อสูง ที่มองสุนัขเป็นเหมือนเพื่อนมากขึ้น จากอดีตที่เคยเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน มาเป็นการเลี้ยง
เพื่อเป็นงานอดิเรก และเพื่อความเพลิดเพลินมากขึ้น ผู้เลี้ยงสัตว์จึงมีแนวโน้มที่จะเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงของตนในด้าน
ต่างๆเพิ่มขึ้น ทั้งด้านอาหารและด้านสุขอนามัยของสัตว์ทำให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารที่ดีมีคุณภาพ
ให้กับสัตว์เลี้ยงของตน ส่งผลให้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทั้งนี้ทำให้เกิด
ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อใหม่ๆ สู่ท้องตลาดโดยชูความครบถ้วนทางสารอาหารเป็นจุดขาย สอดคล้องกับพฤติกรรมการให้อาหาร
ที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่นิยมคลุกข้าวหรือให้เศษอาหาร แต่เมื่อผู้เลี้ยงมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงมากขึ้นก็นิยมให้
อาหารสำเร็จรูปมากกว่า ซึ่งนอกจากมีสารอาหารครบถ้วนแล้วยังเพิ่มความสะดวกแก่ผู้เลี้ยงและเฉลี่ยค่าอาหารในแต่
ละมื้อถูกกว่าการให้อาหารสด จากค่านิยมดังกล่าวเกิดเป็นธุรกิจต่อเนื่องมาจนถึงเวลานี้ ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทาง
เศรษฐกิจมหาศาลโดยเฉพาะ ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ อาหารมาตรฐาน
(Standard Grade) และ อาหารคุณภาพ (Premium Grade)
มีตัวเลขที่บอกเกี่ยวกับตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงไว้ว่า เมื่อปี2535 มูลค่าการตลาดรวมอยู่ที่ 450 ล้านบาทเท่านั้น แต่เมื่อ
เวลาผ่านไป 20 ปีในปัจจุบัน มูลค่าการตลาดรวมสูงถึงกว่า 25,000 ล้านบาททีเดียว ในจำนวนนี้แบ่งเป็นตลาดอาหาร
สำหรับสุนัข 70% และตลาดอาหารสำหรับแมว 30% สำหรับตลาดอาหารสำหรับสุนัขในประเทศไทย ถือเป็นตลาดที่
มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจ นั่นเป็นเพราะกลุ่มผู้บริโภคยังคงจับจ่ายใช้
สอยเพื่อซื้อสินค้าส าหรับสัตว์เลี้ยง ทำให้ภาพรวมตลาดอาหารสุนัขทั้งปีเติบโตประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต