6 กันยายน 2555
รายงานวิจัย เรื่อง แผนการตลาด (Marketing Plan) อุตสาหกรรมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกุ้ง
ประเภทธุรกิจ : อุตสาหกรรมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว
กรณีตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ : ข้าวเกรียบกุ้ง
รูปแบบการดาเนินธุรกิจ : จำหน่ายช่องทางการจำหน่ายในร้านค้าปลีกต่างจังหวัด
รูปแบบการพัฒนาธุรกิจ : เข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายในร้านค้าปลีกสมัยใหม่
เป้าหมายทางธุรกิจ : นำผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบกุ้ง ออกจำหน่ายเพื่อขยายตลาดให้มากขึ้น โดยเข้าสู่ช่องทางจัดจำหน่าย ในธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade)
2. สภาพอุตสาหกรรม
ภาวะการแข่งขันในธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้ามีความเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ร้านค้าปลีกสมัยใหม่มี
การขยายสาขาเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ขณะที่ผู้ผลิตก็พยายามควบคุมต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายสินค้า
โดยให้ผู้จัดจำหน่ายสินค้าเป็นผู้ดาเนินการกระจายสินค้าให้คู่แข่งในตลาด ได้แก่ บริษัท PM บริษัท ธีร์ โฮลดิ้ง (ผู้จัด
จำหน่ายปลาเส้นฟิชโช) บริษัท ฟริโต-เลย์ (ผู้ผลิตและจำหน่ายมั่นฝรั่งเลย์ ตะวัน และทวิสตี้) บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์
หรือ BJC (ผู้จัดจำหน่ายเทสโต ปาร์ตี้ แคมปัส และโดโซะ) และบริษัท สยามร่วมมิตร (ผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวเกรียบ
กุ้งฮานามิและสแน็คแจ๊ค)
มูลค่าตลาดรวมของขนมขบเคี้ยวอยู่ที่ประมาณ 14,250 ล้านบาทในปี 2550 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย
10% ในช่วงปี 2547-2550 และคาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 10% เป็น 15,582 ล้านบาทในปี 2551 ตลาดขนม
ขบเคี้ยวแบ่งออกเป็น ขนมขึ้นรูป มันฝรั่ง ปลาสวรรค์ ถั่ว ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวอบกรอบ ปลาหมึก และข้าวโพด โดยขนม
ขึ้นรูปและมั่นฝรั่งมีสัดส่วนมากที่สุดคือ 34% และ 33% ตามลำดับ ของมูลค่าตลาดรวมของขนมขบเคี้ยว ส่วนปลา
สวรรค์มีสัดส่วน 9% ตามด้วยถั่วและข้าวเกรียบกุ้ง มูลค่าตลาดของปลาสวรรค์มีการเติบโตอย่างโดดเด่นในช่วงหลายปี
ที่ผ่านมาจากกระแสด้านการรักษา สุขภาพและการทำกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง