1 กันยายน 2558
รายงานการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมอาหาร
โครงการ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน(Max-U)
เรื่องการพยากรณ์เพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์หลายรุ่นในอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม
กิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมอาหาร ปี 2557
การพยากรณ์เพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์หลายรุ่นในอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดเล็ก ลักษณะ
ปัญหาคือ ผลิตภัณฑ์หลายรุ่น ลูกค้าหลายราย ปริมาณการผลิตแต่ละรุ่นน้อย ทรัพยากรและกาลังการผลิตจากัด
และความขัดแย้งระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายการตลาด การพยากรณ์ปริมาณการผลิตช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้
ระดับหนึ่ง รายงานนี้มีขั้นตอนการพยากรณ์ ดังนี้
1. การเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อนามาศึกษาและพยากรณ์การผลิต อุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดเล็ก
มีหลายแห่งที่ผลิตตามลูกค้าสั่งซึ่งไม่รู้ปริมาณการผลิตล่วงหน้า ดังนั้นต้องมีการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม
เปลี่ยนเป็นการผลิตเพื่อสต็อกเพื่อที่จะพยากรณ์ปริมาณการผลิตล่วงหน้าจะได้สะดวกต่อการวางแผนการผลิต
การกาหนดรุ่นผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตเพื่อสต็อกและการกาหนดจานวนรุ่นสาหรับการผลิตแต่ละวัน
2. การรวบรวมข้อมูลยอดขายย้อนหลัง สถานประกอบการควรมีการเก็บข้อมูลยอดขายอย่างต่อเนื่องโดย
แยกแต่ละผลิตภัณฑ์และจัดเก็บทุกๆวัน
3. การวิเคราะห์รูปแบบของข้อมูล การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลยอดขายย้อนหลังเพื่อพิจารณารูปแบบหรือ
แนวโน้มของการตลาดและเป็นข้อมูลสาหรับการวางแผนการผลิต
4. การเลือกเทคนิคการพยากรณ์ วิธีการพยากรณ์ด้วยการคานวณตามสมการขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูลว่า
ข้อมูลเป็นแบบใดแล้วก็เลือกเทคนิคการพยากรณ์ให้เหมาะสมกับข้อมูล
5. การพยากรณ์ปริมาณการผลิต การหาปริมาณการผลิตในอนาคตเพื่อที่วางแผนการผลิตและจัดเตรียม
ทรัพยากรการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการ
6. วิเคราะห์ความแม่นยาการพยากรณ์ เมื่อการผลิตดาเนินการไปหลายช่วงเวลา เช่น 1 เดือน หรือ 6
เดือน ต้องพิจารณาว่าเทคนิคการพยากรณ์ที่ใช้อยู่ยังเหมาะสมหรือมีความผิดพลาดตามข้อกาหนด ถ้ามีข้อมูล
มากขึ้นการพยากรณ์มีค่าความแม่นยาต่าก็เปลี่ยนหรือปรับปรุงการพยากรณ์ เช่น ปรับเปลี่ยนค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
จาก 3เป็น 5 หรือ มากกว่า เพื่อให้การพยากรณ์ปริมาณการผลิตแม่นยาขึ้น